พันธวณิช ประกาศแผนธุรกิจ 3 ปี ปักธงผู้นำธุรกิจอีโพรเคียวเมนท์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดบริการ Supplier Due Diligence

30 Apr 2024

พันธวณิช ประกาศแผนธุรกิจ 3 ปี ปักธงผู้นำธุรกิจอีโพรเคียวเมนท์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดบริการ Supplier Due Diligence สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้ธุรกิจยั่งยืน ลดความเสี่ยงพร้อมยกมาตรฐานธุรกิจให้ทัดเทียมสากล

พันธวณิช ประกาศแผนธุรกิจ 3 ปี ปักธงผู้นำธุรกิจอีโพรเคียวเมนท์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดบริการ Supplier Due Diligence

พันธวณิช ประกาศแผนธุรกิจ 3 ปี ปักธงผู้นำธุรกิจอีโพรเคียวเมนท์ เป็นบริษัทฯไทยรายเดียวที่พร้อมแข่งขันในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการขยายตลาดพร้อมตั้งสำนักงานสาขา ทุ่มงบ100 ล้าน วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีจับตลาดทุกเซ็กเม้นท์พร้อมเจาะตลาดลูกค้าขนาดกลางด้วยบริการครบวงจร เตรียมเปิดตัวบริการใหม่ "Supplier 360" ด้วยการทำ Supplier Due Diligence คัดเลือก กลั่นกรองซัพพลายเออร์คุณภาพเข้าระบบพร้อมรับมือกฎระเบียบใหม่สากลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสันติภาพ การก่อการร้าย สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม มั่นใจสร้างการเติบโตลูกค้าใหม่ 20% และผลักดันรายได้ปี 2567 เติบโต 30%

นายวิชิต ศรีกรีพุทธนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พันธวณิช จำกัด ผู้นำการให้บริการระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ eProcurement Platform และ B2B Marketplace ชั้นนำในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงานในปี 2567 ว่า บริษัทฯ มีความพร้อมในการรุกธุรกิจด้วยการให้บริการแบบ 360? เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลที่ความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคมีความหลากหลายซับซ้อน ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่รวดเร็ว โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนที่การทำงานแบบเดิม

ทั้งนี้ พันธวณิช มีเป้าหมายในการส่งมอบคุณค่าและสร้างมูลค่าใน 3 ด้าน คือ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะด้านการปรับปรุงกระบวนการให้เป็น automated process ให้ผู้ซื้อกับผู้ขาย มีการทำงานร่วมกัน ที่เป็นอัตโนมัติผ่านระบบมากขึ้น 2. การลดต้นทุน และสร้างส่วนประหยัดแบบครบวงจร หรือการทำ cost saving ทั้งในทางตรงและทางอ้อมที่เพิ่มผลกำไรให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และ 3. การสร้าง Data Visibility ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงข้อมูลซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านระบบเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลที่มีการทำงานร่วมกับ AI อย่างชาญฉลาด รวดเร็ว เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลการจัดซื้อ โดยตลอดการให้บริการระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ eProcurement Platform

นายวิชิต กล่าวต่อไปว่า "ประเทศไทยมีมูลค่าการซื้อขายผ่าน อีโพรเคียวเมนท์ราว 5 แสนล้านบาทต่อปี เราจึงต้องมีระบบการทำงานที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ซื้อและผู้ขาย โดยปัจจุบันมีมูลค่าการซื้อขายผ่านระบบพันธวณิชกว่า 2 แสนล้านบาท ด้วยจำนวนใบ PO กว่า 3 ล้านใบต่อปีที่เกิดจากบริษัทชั้นนำฝั่งผู้ซื้อกว่า 300 ราย แพลตฟอร์มของเรายังครอบคลุมตลาดซื้อขายออนไลน์แบบ B2B ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ช่วยให้องค์กรชั้นนำทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจากกว่า 12 ประเทศได้เจอกัน โดยผู้ซื้อสามารถสรรหาสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วจากผู้ขายกว่า 30,000 ราย ครอบคลุมสินค้าและบริการกว่า 31 หมวดหมู่ ด้วยฟังก์ชั่นต่าง ๆ ตั้งแต่กระบวนการขอซื้อ สรรหาผู้ขาย จนถึงการจ่ายเงิน และการขอสนับสนุนทางการเงิน

เรายังมีบริการที่ปรึกษาการใช้ข้อมูลทางดิจิทัล เพื่อการลดต้นทุนโดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ที่ส่วนกลาง รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ง่าย ทำให้การสั่งซื้อครั้งต่อไปสะดวกมากยิ่งขึ้น และยังมีระบบการประมูลออนไลน์ ที่ช่วยให้องค์กรเปิดการแข่งขันประมูลได้อย่างรวดเร็วช่วยประหยัดต้นทุนได้ถึง 45% ซึ่งบริการทั้งหมดสามารถการันตีคุณภาพด้วยรางวัล Best eProcurement Solutions Provider - Thailand 2023 และ Most Innovative Cost-Saving Strategy Development Product - Thailand 2023 ที่มอบให้โดย The Global Economics สื่อธุรกิจชั้นนำจากประเทศอังกฤษ

นายวิชิต กล่าวถึงกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในอีก 3 ปีข้างหน้าว่า พันธวณิชมีแผนขยายตลาดอีโพรเคียวเมนท์สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยโมเดลธุรกิจที่จะเข้าไปตั้งสำนักงานและให้บริการแก่บริษัทในแต่ละประเทศ โดยปีนี้มีแผนลงทุนวิจัยและพัฒนาด้วยงบประมาณเกือบ 100 ล้านบาท สำหรับซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และยังคงมุ่งเจาะฐานกลุ่มลูกค้าเดิมจากกลุ่มโทรคมนาคม ค้าปลีก การเงินการธนาคาร กว่า 200 ราย พร้อมขยายไปสู่กลุ่มใหม่ๆ อย่างธุรกิจประกันภัย อุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจขนาดกลางที่มีพนักงานประมาณ 100-200 คน ที่ต้นทุนมีผลต่อการทำกำไร รวมทั้งรายที่ต้องการขยายสาขาไปต่างประเทศ

"ตลอด 22 ปีของการให้บริการระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ eProcurement Platform ของพันธวณิชพบว่า การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เต็มรูปแบบสามารถลดต้นทุนและเวลาการทำงาน โดยปีแรกสามารถลดต้นทุนทั้งค่าแรง และกระดาษได้ 10-15% ลดเวลาการทำงานเกิน 50% ช่วยสร้างมาตรฐานใหม่การจัดซื้อ และเมื่อถึงปีที่ 2 จะลดต้นทุนได้ไม่น้อยกว่า 20% อีกทั้งสามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้ไปต่อยอดโดยการผสานเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า" นายวิชิตกล่าว พร้อมเพิ่มเติมว่า

ในเดือนนี้ พันธวณิชยังเปิดตัวธุรกิจใหม่ คือการทำ Supplier Due Diligence หรือ บริการ "Supplier 360" ซึ่งเป็นบริการตรวจสอบสถานะของซัพพลายเออร์ เพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้ภาคธุรกิจในการก้าวสู่ความยั่งยืน และให้แน่ใจว่ามีการดำเนินธุรกิจตรงตามมาตรฐานที่กำหนดทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ความน่าเชื่อถือ และหลักจริยธรรม เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถลดความเสี่ยงและปรับตัวสู่ระดับสากลจากกฎระเบียบใหม่ทั่วโลกที่มีผลบังคับใช้ ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้ภาคเอกชนต้องตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของตนเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในด้านการละเมิดสันติภาพ การก่อการร้าย รวมทั้งสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งการดำเนินงานของตนเอง บริษัทย่อย รวมทั้งพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งมีการกำหนดบทลงโทษด้านต่างๆ โดยเฉพาะการลงโทษทางการเงินที่เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นทั้งจากบริษัทและบริษัทย่อย คู่ค้าทางธุรกิจโดยตรงหรือโดยอ้อม ก็จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน

"บริการ Supplier 360 จะช่วยการลดความเสี่ยงด้านต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหากมีการตรวจสอบย้อนหลังและมีความผิดพลาดอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงของผู้ซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงด้านการเงินของซัพพลายเออร์ รวมทั้งด้านการดำเนินงาน และชื่อเสียง โดยมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าซัพพลายเออร์แต่ละรายปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อบังคับเพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาทางกฎหมายและบทลงโทษ การตรวจสอบด้านการประกันคุณภาพ การรักษาความสม่ำเสมอคุณภาพสินค้า/บริการโดยการเป็นพันธมิตรกับซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้และมีความสามารถ รวมทั้ง การสนับสนุนด้านจริยธรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทตั้งเป้าลูกค้าฝั่งซัพพลายเออร์สำหรับธุรกิจ Supplier Due Diligence ในปีแรกจำนวนประมาณ 20,000 บริษัท และคาดว่า จะมีการเติบโตของรายได้รวมไม่น้อยกว่า 30% มีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 20%ในปีนี้" นายวิชิตกล่าวในที่สุด

HTML::image(
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit