สำนักงานสารสนเทศประจำอำเภอกวน
งานวันเห็ดสากล ประจำปี 2567 ได้เปิดฉากขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งได้ให้การยกย่อง "เห็ดหลินจืออำเภอกวน" จากอำเภอกวน เป็นผลิตภัณฑ์บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการคุ้มครองระดับชาติ ขึ้นแท่นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความเป็นเลิศในระดับประเทศ และเป็นหนึ่งใน "สามสมบัติใหม่" ของเมืองเหลียวเฉิง และได้เผยโฉมเป็นครั้งแรกในงานนี้ สะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมเห็ดหลินจือในอำเภอกวน
งานวันเห็ดสากล ประจำปี 2567 ทำหน้าที่เป็นเวทีจัดแสดงแบบครบจบในที่เดียวสำหรับทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมเห็ด โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 700 ราย ไม่ว่าจะเป็นผู้นำรัฐบาลจาก 18 ภูมิภาค ผู้นำบริษัทผลิตเห็ดชั้นนำ 271 แห่ง ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรม ผู้ซื้อจากธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตและอุตสาหกรรมอาหารจัดเลี้ยง และตัวแทนจากทั่วทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมเห็ด และมีองค์กรเข้าร่วมงานนี้รวมกัน 271 แห่ง
ภายในงานวันเห็ดสากล ประจำปี 2567 นั้น โซนจัดแสดงเห็ดหลินจืออำเภอกวนดึงดูดผู้เข้าชมได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่างให้ความสนใจผงสปอร์เห็ดหลินจืออำเภอกวน ไวน์เห็ดหลินจืออำเภอกวน และบอนไซเห็ดหลินจืออำเภอกวน
ผลการจัดอันดับมูลค่าแบรนด์เห็ดจีนระดับภูมิภาค ประจำปี 2566 ได้รับการเปิดเผยในระหว่างงานนี้ ซึ่งเห็ดหลินจืออำเภอกวนรั้งอันดับสองในหมวดเห็ดหลินจือของจีน โดยมีมูลค่าแบรนด์ 2.602 พันล้านหยวน ขยับขึ้นมาหนึ่งอันดับจากปีที่แล้ว นอกจากนี้ งานวันเห็ดสากล ประจำปี 2567 ยังได้จัดงานเลี้ยงรับรองแขกและกิจกรรมส่งเสริมการขายเห็ดหลินจือในอำเภอกวนด้วย ซึ่งคุณจาง ชิงฮุย (Zhang Qinghui) รองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคประจำอำเภอกวน ได้นำเสนอเห็ดหลินจือจากอำเภอกวนภายในงาน ขณะที่ทางการอำเภอกวนยังได้ลงนามข้อตกลงเชิงกลยุทธ์กับฝ่ายดูแลธุรกิจเห็ดประจำหอการค้าจีนเพื่อนำเข้าและส่งออกอาหารด้วย
คุณจาง ชิงฮุย กล่าวว่า "จนถึงขณะนี้ มีโรงเรือนเห็ดหลินจือมากกว่า 10,000 หลัง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 เอเคอร์ในอำเภอนี้ โดยมีพนักงานมากกว่า 50,000 คน ให้ผลผลิตเป็นดอกเห็ดและผงสปอร์ปีละ 13,000 ตัน และบอนไซกว่า 800,000 ต้น ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางการเพาะปลูกและค้าขายเห็ดหลินจือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ด้วยมูลค่าผลผลิตปีละ 3.05 พันล้านหยวน" และได้เพิ่มเติมว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อำเภอกวนได้ให้ความสำคัญในหลาย ๆ ส่วนสำคัญ ส่วนแรกคือการขยายขนาด โดยเข้ามาดูแลฐานการเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ส่วนที่สองคือการเจาะลึกกระบวนการแปรรูปเชิงลึก ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาคลัสเตอร์ ส่วนที่สามคือการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนาแบบบูรณาการและผลักดันศูนย์กลางการค้า ส่วนที่สี่เป็นเรื่องของการรวบรวมข้อมูลและวางแผนพัฒนาโดยมีการประสานงานผ่านศูนย์ดิจิทัล ซึ่งมุ่งสร้างโมเดลการพัฒนาคุณภาพสูงทั่วทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรม
ที่มา: สำนักงานสารสนเทศประจำอำเภอกวน
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit