ปวดหลังแบบไหน?... เสี่ยง "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท"

13 May 2024

ปวดหลังแบบไหน?... เสี่ยง "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท"

ปวดหลังแบบไหน?... เสี่ยง "หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท"

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ต้นคอไปจนถึงหลังส่วนล่าง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังนี้

  • ปวดหลัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังบริเวณกลางหลังหรือเอวล่าง อาการจะชัดเจนขึ้นเมื่อไอ จาม หรือนั่งงอตัว
  • ปวดร้าวลงขา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวลงขาตั้งแต่บริเวณเอว ขา ลงไปถึงปลายเท้า อาการจะปวดมากขึ้นเมื่อเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายในบางท่า นอกจากนี้อาจมีอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท กรณีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด กายภาพบำบัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ในกรณีมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นภายใน 4-6 สัปดาห์ แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด ปัจจุบันมีเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope ข้อดีคือ

  • แผลผ่าตัดเล็ก
  • อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย
  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ
  • ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด
  • ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic Spine Surgery) คลิกอ่านข้อมูล >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2282

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลรามคำแหง >> https://bit.ly/4bEFVIDโทร.1512 ต่อ 1160, 1168,1169Line Official : https://lin.ee/dED0pj2

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit