ในขณะที่ธุรกิจต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป ความคาดหวังของพนักงานก็เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ในโลกหลังวิกฤตโควิด-19 ที่แต่ละองค์กรได้รับผลกระทบจากการลาออกครั้งใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยไม่เพียงแต่ปรับตัว แต่ยังได้เปลี่ยนแปลงวิธีการดูแลพนักงาน เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมธนาคารอีกด้วย
ตั้งแต่ปี 2564 อุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตการลาออกครั้งใหญ่หรือที่เรียกว่า Big Quit ที่เกิดจากพนักงานพร้อมใจกันตบเท้ากันลาออกจากงานโดยสมัครใจในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้การแข่งขันในการเฟ้นหาผู้ที่มีความสามารถในโลกของการทำงานกลายเป็นเรื่องดุเดือดในช่วงหลังการแพร่ระบาด หลายองค์กรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้านบุคลากร เนื่องจากพนักงานต่างคาดหวังที่จะได้รับประสบการณ์การทำงานที่ตรงกับความต้องการในแต่ละช่วงชีวิตของตน
นางสาวศศิวิมล อารยวัฒนาพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรัพยากรบุคคล ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า "ที่ธนาคาร ยูโอบี พนักงานของเราคือส่วนสำคัญของความสำเร็จของธนาคาร เราให้ความสำคัญเรื่องการสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพ และยังมุ่งมั่นที่จะเติมเต็มประสบการณ์การทำงานที่ดีให้กับพนักงาน เป้าหมายของเราคือการตั้งบรรทัดฐานใหม่สำหรับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน สนับสนุนการเติบโตให้หน้าที่การงาน และสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว"
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้นำข้อมูลจากการศึกษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอาเซียน (ACSS) ประจำปี 2566 ของธนาคาร ยูโอบี มาใช้ในการคิดค้นกลยุทธ์ด้านบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นองค์กรในใจพนักงาน ผลการศึกษาตอกย้ำว่าร้อยละ 52 ของผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยคิดว่าชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นเป็นสิ่งที่พวกเขาคาดหวังจากองค์กรมากที่สุด ธนาคารยูโอบีให้ความสำคัญกับความคาดหวังนี้ ผ่านปรัชญาในการดูแลพนักงานของธนาคาร และนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่น สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้น และแนวทางด้านความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
โดยมีเป้าหมายในการปรับให้เข้ากับความต้องการที่หลากหลายของพนักงานของเรา และรองรับความต้องการในอนาคต นอกจากนี้ พนักงานของธนาคารยังได้รับโอกาสมากมายในการฝึกฝนและพัฒนาทักษะเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะพร้อมรับมือกับความท้าทายในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและอนาคต ทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
การที่ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยให้ความสำคัญกับบุคลากรสะท้อนอยู่ในหลากหลายสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงาน อาทิ
นอกจากนโยบายการทำงานแบบไฮบริดนี้ ธนาคารยูโอบีให้ความยืดหยุ่นและอิสระแก่พนักงาน ด้วยแผนทางเลือก Flexi-2 ซึ่งอนุญาตให้พนักงานทุกคนสามารถลางานได้ 2 ชั่วโมงต่อเดือน ระหว่างวันทำงานเพื่อไปจัดการกับเรื่องส่วนตัวได้ นอกจากนี้ พนักงานยังสามารถเลือกเวลาเริ่มทำงาน เพื่อให้อิสระในการจัดการตารางการทำงานของตนเอง และการใช้ชีวิตได้ลงตัวด้วย
นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพจิตที่ดี ธนาคารยูโอบีมีบริการ 'ให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา' ที่ให้พนักงานสามารถติดต่อและปรึกษากับนักจิตวิทยามืออาชีพ เพื่อปรึกษาปัญหาต่างๆ เช่น ความเครียด การบริหารเวลา และการนอนหลับ ได้มากถึง 12 ครั้งต่อปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เราได้ขยายบริการเหล่านี้ให้กับสมาชิกในครอบครัวของพนักงาน พร้อมส่วนลดพิเศษให้กับครอบครัว
ฟูมฟักความเป็นผู้นำและฝึกฝนทักษะสำหรับอนาคต
สร้างความไว้วางใจผ่านการปลุกพลังและการชื่นชม
ด้วยการดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นศูนย์กลาง จึงทำให้คะแนนการมีส่วนร่วมของพนักงานของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสามปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 88 ในปี 2566 ซึ่งนอกจากจะมากกว่าคู่แข่งในระดับภูมิภาคแล้ว ยังมากกว่าคะแนนความผูกพันโดยเฉลี่ยขององค์กรทั่วโลกอีกด้วย ในอุตสาหกรรมธนาคารที่มีอัตราการลาออกอยู่ที่ร้อยละ 20 อัตราการลาออกจากงานของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย อยู่ที่ร้อยละ 13 ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จของแนวคิดที่เน้นพนักงานเป็นศูนย์กลาง
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit