เมื่อไม่นานมานี้ ในพิธีมอบรางวัลเอเนอร์จี โกลบ อวอร์ด (Energy Globe Award) ซึ่งจัดขึ้นที่นครเซินเจิ้น เครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Intelligent Campus) ในมณฑลเจียงซู ประเทศจีน ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างหัวเว่ย (Huawei) กับการไฟฟ้าแห่งประเทศจีน (State Grid) เป็นโครงการเดียวในจีนที่คว้ารางวัลนี้ไปครองได้ โดยรางวัลดังกล่าวเชิดชูคุณูปการอันโดดเด่นของเหยียนเฉิง พาวเวอร์ ซัพพลาย คอมปะนี (Yancheng Power Supply Company) ในเครือสเตต กริด เจียงซู (State Grid Jiangsu) ร่วมกับหน่วยธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังไฟฟ้าของหัวเว่ย (Huawei Electric Power Digitalization BU) ในด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน คุณบิร์กิต มูร์ (Birgit Murr) กงสุลพาณิชย์และรักษาการหัวหน้าสถานกงสุลใหญ่ออสเตรียประจำกวางโจว และผู้มอบรางวัล กล่าวว่า "เครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในมณฑลเจียงซู ได้รับการยกย่องในระดับสากลว่าเป็นต้นแบบความเป็นกลางทางคาร์บอนระดับโลกและการพัฒนาอย่างยั่งยืน"
รางวัลนี้จัดขึ้นโดยมีองค์กรอิสระจากออสเตรียอย่างมูลนิธิพลังงานโลก (Global Energy Foundation) เป็นเจ้าภาพ และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระดับสากลต่าง ๆ อาทิ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UN Industrial Development Organization) หรือยูนิโด (UNIDO) และกระทรวงการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศแห่งสหพันธรัฐออสเตรีย โดยมอบให้กับโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับคัดเลือกเพียงไม่กี่โครงการจากกว่า 1,000 โครงการ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานระดับโลกได้คัดเลือกหลายรอบเพื่อเฟ้นหาผู้สมัครที่ยอดเยี่ยมที่สุด
โครงการที่คว้ารางวัลนี้นำโดยคุณแอนโทนี หู (Anthony Hu) จากหัวเว่ย ด้วยโมเดลการเปลี่ยนแปลงแบบ T3 ที่เขาเสนอ ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน การเปลี่ยนแปลงทางคาร์บอนเป็นศูนย์ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล โครงการดังกล่าวได้สร้างสรรค์การใช้งานใน 3 สถานการณ์ที่มุ่งเน้นไปที่การจัดการพลังงานอัจฉริยะ คาร์บอนเป็นศูนย์อัจฉริยะ และเครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะ
โครงการดังกล่าวกินพื้นที่ 25.7 เอเคอร์ ครอบคลุมการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขนาด 134,000 ตารางเมตรที่มุ่งเน้นไปที่หลักการต่าง ๆ เช่น การออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ความชาญฉลาด การแบ่งปัน และการทำหน้าที่เป็นโครงการสาธิต ซึ่งโอบรับค่านิยมหลัก 5 ด้าน ได้แก่ การจัดหาพลังงานคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การประสานพลังงานที่หลากหลาย ประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม การเพิ่มขีดความสามารถทางดิจิทัล และนวัตกรรมข้ามพรมแดน ซึ่งโครงการนี้ได้บูรณาการพลังงานหมุนเวียน ระบบพลังงานแบบรวมศูนย์และกระจายศูนย์ พลังงานไฮโดรเจน และการกักเก็บพลังงานเอาไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้ โครงการและโซลูชันดังกล่าวยังได้รับรางวัลชนะเลิศ (Champion Prize) ที่การประชุมสุดยอดว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society หรือ WSIS) ประจำปี 2565 ในเดือนมิถุนายน 2565 และได้รับเลือกให้เป็น 1 ในโครงการระดับโลก 10 อันดับแรกของรางวัลพอลสัน ไพรซ์ ด้านความยั่งยืน (Paulson Prize for Sustainability) ประจำปี 2565 ด้วย นอกจากนี้ ทฤษฎี สถาปัตยกรรม และโมเดลหลักต่าง ๆ ของโครงการนี้ยังคว้ามาได้อีก 2 รางวัล ทั้งวิจัยยอดเยี่ยม (Best Paper) และรายงานยอดเยี่ยม (Best Report) ที่การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (IEEE International Conference) ว่าด้วยการบูรณาการการเชื่อมโยงพลังงานและระบบพลังงาน และฟอรัมการพัฒนากำลังไฟฟ้าและพลังงานระดับนานาชาติ (International Power and Energy Development Forum) ประจำปี 2566
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัลเอเนอร์จี โกลบ อวอร์ด ได้ที่
https://www.energyglobe.info/
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัลต่าง ๆ ได้ทาง
Yancheng Low-Carbon and Smart-Energy Innovation Park: From Low Carbon to Zero Carbon
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันและแนวปฏิบัติของหัวเว่ยในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าได้ทางเว็บไซต์หัวเว่ย อิเล็กทริก พาวเวอร์ (Huawei Electric Power)
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2281269/Birgit_Murr_presents_Energy_Globe_Award.jpg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit