ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์ (Flower of Life) คืองานศิลป์แบบอินเทอร์แอคทีฟจากศิลปินชาวเวียดนามอย่างเตีย-ตุย เหงียน (Tia-Thuy Nguyen) ซึ่งหวังที่จะสะท้อนให้เห็นความสนใจที่มีต่อกฏการอนุรักษ์พลังงาน จึงได้พัฒนาผลงาน "ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์" ขึ้นมา เพื่อบอกเล่าเรื่องราวในการ 'นำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่' (นี่คือต้นไม้ที่ตายแล้ว) เพื่อมอบความสามารถและชีวิตใหม่ ด้วยการสร้างวัตถุนั้นขึ้นมาใหม่ ในสายตาของศิลปินอย่างเตีย-ตุย เหงียนนั้น ต้นไม้ที่ตายแล้วต้นนี้คือจุดเริ่มต้นของบทใหม่ พลังงานในนั้นยังไม่สูญสิ้น และ 'ชีวิต' ของมันยังไม่ดับไป
ศิลปินผู้นี้ได้สร้างสรรค์งานศิลปะตามโครงสร้างเดิมของต้นโอ๊กสูง 18 เมตรที่ตายแล้ว ประดับด้วยใบไม้หลายใบที่เชื่อมด้วยมือและทำจากสแตนเลสสตีล ชั้นโลหะนี้ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างเท่านั้น แต่ยังเป็น 'เครื่องประดับ' อันแวววาวอีกด้วย โดยมีใบไม้สแตนเลสสตีลหลายพันใบห้อยอยู่ ทั้งยังมี "ดอกไม้" ที่ทำจากหินควอตซ์สีสันสดใสสะท้อนแสงบนกิ่งก้านของต้นไม้ ทำให้เกิดประกายแวววาวราวกับเล่นกับแสงแดด
ชีวิตและพลังของ "ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์" ไม่เพียงแต่อยู่ในตัวมันเองเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับโลกรอบตัวด้วย เปรียบได้เหมือนกับว่าแสง 'ติดกับ' อยู่ในเกมของเตีย-ตุย เหงียน โดยไม่ได้ตั้งใจ เกมนี้ดูเหมือนจะวนซ้ำแล้วซ้ำเล่า วันแล้ววันเล่า แต่ผู้ชมจะไม่มีวันเห็นสองฉากที่เหมือนกันเป๊ะได้เลย ด้วยความซุกซนและความคิดสร้างสรรค์อันชาญฉลาด เตีย-ตุย เหงียน คือความเชื่อมโยงระหว่างแสงธรรมชาติ งานศิลปะ และผู้ชม เธอได้รังสรรค์การแสดงของธรรมชาติ เหมือน 'เครื่องยนต์' ที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง เพราะมีพลังงานหมุนเวียนของจักรวาลขับเคลื่อนอยู่
เตีย-ตุย เหงียน เกิดและโตในกรุงฮานอย โดยสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์เวียดนาม (พ.ศ. 2549) จากนั้นก็เรียนต่อและสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิจิตรศิลป์ ที่สถาบันวิจิตรศิลป์และสถาปนิกแห่งชาติ (National Academy of Fine Art and Architect) ที่กรุงเคียฟ ประเทศยูเครน (พ.ศ. 2557) เตีย-ตุย เหงียน ฝึกวาดภาพมาตั้งแต่ปี 2542 งานศิลปะของเธอมักจะเน้นไปที่การสังเกตสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบ และสีสันต่าง ๆ งานศิลปะของเธอได้รับการจัดแสดง ประมูล และมีผู้นำไปสะสมอย่างกว้างขวางในเวียดนามและยุโรป และในปี 2562 นั้น เธอติดอันดับ '50 ผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในเวียดนามประจำปี 2562' โดยฟอร์บส์ เวียดนาม (Forbes Vietnam) "ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์" เป็นตัวอย่างที่สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของเธอได้อย่างชัดเจน ผสมผสานรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์เข้ากับความหมายอันลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิตและการฟื้นฟูภายในการดำรงอยู่ทางวัตถุ
เตีย-ตุย เหงียน จัดแสดงผลงานศิลปะของเธอที่ชาโตว์ ลา คอสต์ (Chateau La Coste) เป็นครั้งที่สามแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลงานและอิทธิพลของเธอเป็นที่ยอมรับและชื่นชม ชาโตว์ ลา คอสต์ เป็นสวนศิลปะที่ตั้งอยู่ในเมืองแอ็กซ็องพรอว็องส์ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส มีชื่อเสียงจากการผสมผสานศิลปะร่วมสมัย สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมไวน์อย่างมีเอกลักษณ์ สถานที่แห่งนี้มีประติมากรรมและสถาปัตยกรรมโดยศิลปินและสถาปนิกชั้นนำของโลกตั้งอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส-อเมริกันอย่างหลุยส์ บูชัวร์ (Louise Bourgeois) ซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากผลงานประติมากรรมและการจัดวางแมงมุมมามอง (Maman) ไปจนถึงเดเมียน เฮิร์สต์ (Damien Hirst), อเล็กซานเดอร์ คาร์เดอร์ (Alexander Carder), อ้าย เว่ย เว่ย (Ai Wei Wei), เทรซี เอมิน (Tracy Emin) และผลงานสถาปัตยกรรมโดยทาดาโอะ อันโดะ (Tadao Ando), เรนโซ เปียโน (Renzo Piano), ริชาร์ด โรเจอร์ส (Richard Rogers) สถานที่แห่งนี้ผสมผสานศิลปะร่วมสมัย สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมไวน์ได้อย่างมีเอกลักษณ์ ตั้งอยู่ในเมืองแอ็กซ็องพรอว็องส์ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้สำรวจและโต้ตอบกับผลงานของศิลปินในสภาพแวดล้อมทางศิลปะที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์
นิทรรศการ "ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์" โดยเตีย-ตุย เหงียน เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 มกราคม 2567 ที่ชาโตว์ ลา คอสต์ ที่ตั้ง: 2750 Route De La Cride, 13610 Le Puy-Sainte-Reparade ประเทศฝรั่งเศส
ฟลาวเวอร์ ออฟ ไลฟ์
2566
ต้นโอ๊กตาย สแตนเลสสตีล
สูง 1800 ซม. x เส้นผ่านศูนย์กลาง 900 ซม.
งานศิลป์แบบอินเทอร์แอคทีฟ โดยเตีย-ตุย เหงียน
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2281098/Photo_01.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2281099/Photo02.jpg
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit