ล้ำแบบเทคฯ ออฟเดอะทาวน์ เออาร์วีพาเจาะเหตุผลทำไม "ฮอรัส-โลจิสติกส์โดรน" เป็นโดรนที่ได้รับความไว้ใจสูงในตลาด

04 Dec 2023

ล้ำแบบเทคฯ ออฟเดอะทาวน์ เออาร์วีพาเจาะเหตุผลทำไม "ฮอรัส-โลจิสติกส์โดรน" เป็นโดรนที่ได้รับความไว้ใจสูงในตลาด ร่วมมือกับความอัจฉริยะของ 5G ปลดล็อกอะไรบ้างในอากาศยานไร้คนขับ

ล้ำแบบเทคฯ ออฟเดอะทาวน์ เออาร์วีพาเจาะเหตุผลทำไม "ฮอรัส-โลจิสติกส์โดรน" เป็นโดรนที่ได้รับความไว้ใจสูงในตลาด

ผ่านพ้นไปไม่นานกับปรากฏการณ์เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนประเทศไทยครั้งใหญ่ที่ได้รวบรวมผู้บริหารระดับแถวหน้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจาก 3 บิ๊กอุตสาหกรรมเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต (Smart Manufacturing) กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีก (Smart Property & Retails) และกลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ (Smart Transportation & Logistics) ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดัน GDP เศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้เติบโต ตบเท้ามาร่วม Cross Industry Collaboration เปิดวิสัยทัศน์และถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานสุดเอ็กซ์คลูซีฟ พร้อมโชว์โซลูชันและนวัตกรรมเทคโนโลยีสุดล้ำ ในงาน "AIS Business Digital Future 2024 - DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION"

โดยหนึ่งใน (Tech) Talk of The Town ดาวรุ่งสำคัญของงานครั้งนี้อย่าง เออาร์วี (ARV) หรือ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ผู้นำด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของไทย นำโดย คุณปฏิญญา อมรรัตนานนท์ หัวหน้ากลุ่มงานเทคโนโลยี ก็ไม่พลาด มาร่วมพูดคุยแชร์ประสบการณ์การร่วมมือกับ AIS 5G ในการส่งอากาศยานไร้คนขับสุดเท่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ ช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง รวมถึงการบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้หัวข้อพิเศษ "Leveraging Cross-Industry Collaboration and Ecosystem Partners to Drive Business Growth and Sustainability" มีประเด็นไฮไลต์น่าสนใจอะไรบ้าง สรุป 5 ข้อ ครบจบที่นี่แล้ว..!

  1. สุดยอดฝีมือคนไทย ปลดล็อกโดรนฮอรัส (HORRUS) บินกว้าง บินไกลข้ามข้อจำกัด ด้วยเครือข่ายสัญญาณ 5G
    • ARV - AIS ผนึก 2 พลังความร่วมมือแบบ Cross Industry Collaboration ก้าวข้ามทุกขีดจำกัดเพื่อการพัฒนาแบบไม่มีที่สิ้นสุด โดยการผสมผสานความเชี่ยวชาญของ ARV ผู้นำด้านเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์กับ AIS เครือข่ายมือถืออันดับ 1 ที่มีสัญญาณ 5G เร็วที่สุดในไทย เพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยผลงานที่โดดเด่นที่ทีม ARV ได้วิจัยและพัฒนาขึ้นมาคือ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ หรือโดรนที่ชื่อว่า "ฮอรัส" (HORRUS) ซึ่งปกติจะทำงานอยู่บนคลื่นความถี่ 2.4GHz ที่เป็นคลื่นวิทยุ และสามารถปฏิบัติการบินในระยะพิสัยได้แค่ 6 กิโลเมตร แต่เมื่อได้ทำการทดสอบร่วมกับเครือข่าย AIS 5G ปรากฏว่าฮอรัส สามารถปลดล็อกข้อจำกัดบินไปได้ไกลกว่า 6 กิโลเมตร และด้วยเครือข่ายสัญญาณ 5G ทำให้โดรนฮอรัสเคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆ ได้กว้างมากขึ้น ไปได้ทุกที่ที่สัญญาณ 5G เข้าถึง
  2. การปลดล็อกข้อจำกัด โดรน "ฮอรัส" ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยกรมทางหลวงวิเคราะห์ข้อมูลสภาพจราจร แจ้งอุบัติเหตุได้แบบเรียลไทม์
    • รู้ไหมว่า? การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้การทำงานข้ามสายอุตสาหกรรมแข็งแกร่งขึ้นได้ เพราะจากการปลดล็อกข้อปฏิบัติการบินด้วยเครือข่ายสัญญาณ 5G ของ "ฮอรัส" (HORRUS) ซึ่งเป็นผลงานโดรนไร้คนขับอัตโนมัติครั้งแรกของเมืองไทย (Thailand 1st Fully Autonomated Drone Solution) และพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยี AI นั้น ทีม ARV ยังได้นำโดรนฮอรัสไปทำงานร่วมกับ 'กรมทางหลวง' เพื่อบินสำรวจสภาพจราจรที่หนาแน่นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา โดย ฮอรัส ทำหน้าที่ช่วยวิเคราะห์สภาพจราจรที่มีจุดแน่นหนา ถ่ายทอดสดวิดีโอสภาพการจราจรและหางแถวของรถ และหากจุดใดมีอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้น ระบบจะทำการแจ้งเจ้าหน้าที่แบบเรียลไทม์ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถเดินทางไปยังจุดนั้นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
  3. การต่อยอดโซลูชันโดรนไร้คนขับสู่ "LOGISTICS DRONE" สามารถขนส่งทางไกล และแบกรับพัสดุที่มีน้ำหนักสูงถึง 10 กก.
    • นอกจากโดรนฮอรัสที่โดดเด่นด้านการบินสำรวจแล้ว ทีม ARV ยังได้วิจัยและพัฒนา "โลจิสติกส์โดรน" (Logistics Drone) เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้งานในการขนส่งทางไกลโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถบรรทุกน้ำหนักสูงถึง 10 กิโลกรัม พร้อมทั้งบินขึ้น-ลง ในแนวดิ่งและทำความเร็วได้อย่างดี ในปีที่ผ่านมาโลจิสติกส์โดรนนี้ ได้รับการทำทดสอบในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ศูนย์ทดสอบนวัตกรรมของ ปตท.สผ. ผ่านการจำลองสถานการณ์การบินขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางการแพทย์ พร้อมความมุ่งหวังว่า โลจิสติกส์โดรนนี้จะสามารถเพิ่มการบินในระยะวิสัยได้ไกลขึ้น และแบกรับน้ำหนักของพัสดุได้มากขึ้น
    • ทั้งนี้ มี 3 เทคโนโลยีหลักที่มาช่วยทำให้สำเร็จคือ 1. เครือสัญญาณ 5G จาก AIS ที่สามารถทำให้โดรนเคลื่อนที่ไปไหนก็ได้ ไปได้ในจุดที่เครือข่ายเข้าถึง 2. ระบบการจัดการจราจรระบบอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aircraft System Traffic Management: UTM) รองรับกรณีการใช้งานโลจิสติกส์โดรนหรือโดรนต่างๆ ในเชิงพาณิชย์ที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งสิ่งสำคัญที่เลี่ยงไม่ได้คือ การควบคุมการจราจรของอากาศยานไร้คนขับโดยปัจจุบัน ARV ได้เตรียมพร้อมในการทำแพลตฟอร์มขึ้นมารองรับนโยบายและการกำกับดูแลในการสร้างระบบนิเวศทางอากาศที่ปลอดภัยนี้แล้ว และ 3. เทคโนโลยี Edge Computing ที่เมื่อโดรนไร้คนขับอัตโนมัติทำงานแล้ว จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเองได้ หรือแม้กระทั่งในมุมออฟไลน์ หากเกิดสถานการณ์คับขัน โดรนก็สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจเองได้
  4. การใช้จุดแข็งของ ARV ขยายขีดความสามารถเทคโนโลยี ทำงานลดความเสี่ยงให้มนุษย์
    • แม้ ARV จะเติบโตในธุรกิจปิโตรเลียม แต่ตั้งใจพัฒนาเทคโนโลยีไปใช้แก้ปัญหาให้ได้ทุกอุตสาหกรรม ในมุมต่างๆ เช่นกัน ซึ่ง ARV ยังได้พัฒนาหุ่นยนต์และโซลูชันต่างๆ เพื่อใช้ในเรื่อง PTTEP Offshore Operation Digitalization การปรับรูปแบบการทำงานของธุรกิจแม่อย่าง ปตท.สผ. โดย ARV ทำหุ่นยนต์เข้าไปช่วยลดความเสี่ยงในการใช้คนทำงานในพื้นที่นอกชายฝั่งที่มีความอันตราย และค่าใช้จ่ายสูง ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ Wellhead ทำหน้าที่สำรวจบนแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ โดรนฮอรัสและโลจิสติกส์โดรน หุ่นยนต์สี่ขา Laika ทำหน้าที่บนแท่นปฏิบัติการนอกชายฝั่ง แพลตฟอร์ม ARV พัฒนาเพื่อเชื่อมต่อหุ่นยนต์และการทำงานของคนและหุ่นยนต์ใต้ทะเล เช่น Xplorer (เอ็กซ์พลอเรอร์) หุ่นยนต์สำรวจท่อส่งปิโตรเลียมใต้ท้องทะเลลึก Nautilus (นอติลุส) หุ่นยนต์ซ่อมท่อใต้ทะเลตัวแรกของโลก เป็นต้น
  5. เป้าหมายใหญ่ การเป็น Ventures Builder สร้างสตาร์ตอัปที่พัฒนา AI และหุ่นยนต์ ภายใต้ ARV
    • ในช่วงเวลา 5 ปี หลังก่อตั้ง ARV ซึ่งเป็นบริษัทลูกภายใต้กลุ่ม ปตท.สผ. ที่ริเริ่มมาจากกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AI และหุ่นยนต์ สิ่งที่ ARV ตั้งใจพัฒนาต่อจากนี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น คือ การเป็น Ventures Builder ที่สร้างสตาร์ตอัปที่พัฒนาเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์ ภายใต้ ARV ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมดสตาร์ตอัป พร้อมทั้งมีพนักงานราวๆ 400 คนแล้ว ได้แก่ 1. ROVULA (โรวูล่า) พัฒนาหุ่นยนต์ใต้ทะเล เพื่อใช้ในเรื่องการสำรวจและการซ่อมบำรุงท่อใต้น้ำ 2. SKYLLER (สไกเลอร์) พัฒนาเทคโนโลยีโดรนหรือหุ่นยนต์เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ และนำ AI มาวิเคราะห์ ในมุมของ Assistant maintenance 3. VARUNA (วรุณา) พัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร (Agriculture Tech) และเทคโนโลยีที่ควบคุมหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Climate Technology) ผ่านการใช้ข้อมูลดาวเทียมมาวิเคราะห์เพื่อหาคาร์บอนที่กักเก็บอยู่ในป่าและเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิต 4. CARIVA (แคริว่า) พัฒนา Health Digital Solution ร่วมกับเทคโนโลยีด้าน AI เพื่อยกระดับการทำงานทางการแพทย์ในมุมของการวินิจฉัยและวิเคราะห์โรค 5. BIND (ไบนด์) พัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตน และทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ และ 6. BEDROCK (เบดร็อค) พัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยี ด้านโลเคชัน โดยใช้ข้อมูลในเชิงด้านภูมิศาสตร์สารสนเทศ เข้ามาวิเคราะห์ให้บริการในอุตสาหกรรม เช่น ปัจจุบันมีการให้บริการแพลตฟอร์มเรื่อง Smart City กับเทศบาลในประเทศไทย

"ในการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นจริงได้ ต้องอาศัย "คน" ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลบุคลากรให้ทำงานอย่างมีความสุข สร้าง Innovative Environment ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคนสายพันธุ์เทคที่มีความพร้อมทั้ง EQ และ IQ อาทิ ออฟฟิศเวิร์กช็อป พื้นที่ทดสอบนวัตกรรมต่างๆ ศูนย์เทคโนโลยี รวมถึงสถาบันวิจัย สถาบันศึกษา ห้องแล็บ ร่วมกับพาร์ตเนอร์ชั้นนำทางธุรกิจต่างๆ ARV เชื่อว่าถ้าเรามี Cross Industry Collaboration ที่ต่างเข้าใจปัญหาของผู้บริโภคและความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะสามารถก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำไปสู่การใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้จริงๆ" คุณปฏิญญา กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดหรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://arv.co.th/ เพจเฟซบุ๊ก AI and Robotics Ventures (https://www.facebook.com/arv.th) หรือโทร. 02 078 4000

HTML::image(
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit