เซนต์เมด (SMD) รุกหนักขยายธุรกิจเครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง ด้านเวลเนสในรูปแบบ Revenue Sharing สร้างรายได้ประจำที่สม่ำเสมอ เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน

11 Oct 2023

เซนต์เมด (SMD) รุกหนักขยายธุรกิจเครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง ด้านเวลเนส (Wellness) ในรูปแบบ Revenue Sharing สร้างรายได้ประจำที่สม่ำเสมอ (Recurring Income) เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน

เซนต์เมด (SMD) รุกหนักขยายธุรกิจเครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง ด้านเวลเนสในรูปแบบ Revenue Sharing สร้างรายได้ประจำที่สม่ำเสมอ เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน

บมจ เซนต์เมด(SMD) โดย "ดร วิโรจน์ วสุศทธิกลุกานต์ " ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ลงนามในสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เครื่องออกซิเจนความดันสูงไม่เกิน 1.5 ATA ในรูปแบบนอนรับบริการ กับ MEDIconet ผลิตภัณฑ์จากประเทศเกาหลีใต้ ระยะเวลาการเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย 5 ปี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา โดย Business Model คือ แบ่งรายได้กับทางโรงพยาบาล คลินิก เวลเนส ทั่วประเทศ ในเงื่อนไขที่ทุกฝ่ายรวมทั้งผู้รับบริการเข้าถึงได้ง่าย จะทำให้บริษัทฯ สามารถสร้างรายได้ประจำที่สม่ำเสมอ (Recurring Income) เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ทีได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในประเทศเกาหลีใต้ อีกทั้งมีติดตั้งใช้งานอยู่ในโรงพยาบาล คลินิก และเวลเนส ที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก ทำให้เซนต์เมด (SMD) ขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องออกซิเจนความดันสูง (mHBOT - Mild Hyperbaric Oxygen Chamber) ในประเทศไทยได้โดยทันที เนื่องจากบริษัทฯ มีเครื่องออกซิเจนความดันสูงไม่เกิน 1.39 ATA ในรูปแบบนั่งรับบริการ ติดตั้งให้บริการในประเทศไทยอยู่บางส่วนแล้ว และบริษัทฯ คาดว่าจะติดตั้งเครื่องออกซิเจนความดันสูงไม่เกิน 1.39 ATA ในรูปแบบนั่งรับบริการ (mHBO - Mild Hyperbaric Oxygen Chamber) ตามสถานพยาบาลและคลีนิคต่างๆ ได้อีกประมาณ 10 เครื่องภายในสิ้นปีนี้

อย่างไรก็ตามเครื่องออกซิเจนความดันสูงไม่เกิน 1.5 ATA ในรูปแบบนอนรับบริการ มีต้นทุนราคาที่ต่ำและติดตั้งได้ง่ายกว่า เครื่องออกซิเจนความดันสูงไม่เกิน 1.39 ATA ในรูปแบบนั่งรับบริการ (mHBO - Mild Hyperbaric Oxygen Chamber) ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ขยายธุรกิจนี้ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เริ่มมีการปรับโหมดธุรกิจครั้งใหญ่ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา หรือทรานฟอร์เมชั่น จากธุรกิจ เทรดดิ้งคัมพานี กระจายไปสู่การมีรายได้ประจำสม่ำเสมอรายเดือน หรือ Recurring Income ทั้งในรูปแบบ Revenue Sharing และในรูปแบบ เช่าใช้ หรือ เช่าซื้อ เครื่องมือแพทย์ต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อขยายฐานลูกค้าเพิ่ม

ดร.วิโรจน์ กล่าวต่อว่า แม้ว่ายอดขายในส่วนของธุรกิจเทรดดิ้ง ยังมีสัดส่วนมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากมองไปในระยะ 1-2 ปี ข้างหน้า ธุรกิจในรูปแบบ Revenue Sharingและในรูปแบบ เช่าใช้ หรือ เช่าซื้อ เครื่องมือแพทย์ต่างๆ ของบริษัทฯจะสร้างผลตอบแทนที่มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ ในบริษัทฯ มีสินค้าเครื่องมือแพทย์จำนวนมากที่ปรับโหมดธุรกิจจากซื้อมาจำหน่ายไป เปลี่ยนรูปแบบเป็นรูปแบบ Revenue Sharing และในรูปแบบ เช่าใช้ หรือ เช่าซื้อ อาทิเช่น ระบบ AI ตรวจจับมะเร็งปอด (Lung CA) จากภาพ CT ทุกยี่ห้อ กับ V5med ผลิตภัณฑ์จากประเทศใต้หวัน ระยะเวลาการเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย 5 ปี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดย Business Model คือ การให้โรงพยาบาลทั่วประเทศเช่าใช้รายเดือน ในเงื่อนไขและราคาที่โรงพยาบาลสามารถเข้าถึงได้ง่าย เครื่องออกซิเจนความดันสูง 2 ATA สำหรับรักษาผู้ป่วยเบาหวาน (Hyperbaric Oxygen Chamber Therapy - HBOT) ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการติดตั้งใช้งานตามโรงพยาบาลต่างๆ ไม่มาก เครื่องตรวจความผิดปกติการนอนหลับ เครื่องกรองอนุภาคทางการแพทย์ประสิทธิภาพสูง เครื่องมือแพทย์ด้านเวชบำบัดวิกฤต ที่ใช้ในห้อง ICU และห้องฉุกเฉิน เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทฯ ยังสนใจต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องรวมถึงการเจรจา ดีล M&A ต่างๆ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ

ดร.วิโรจน์ วสุศุทธิกุลกานต์ ยังกล่าวต่ออีกว่า บริษัทฯ ได้แจ้ง ตลท.ว่า คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีการประชุม เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา และมีมติอนุมัติ โครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อการบริหารทางการเงินด้วยวงเงินที่ใช้ไม่เกิน 120 ลบ. จำนวน หุ้นไม่เกิน 22 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 9.79% ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค.66-30 มี.ค.67 โดยได้ดำเนินการเริ่มซื้อหุ้นคืนครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 จนถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา รวมหุ้นที่ซื้อคืนทั้ง 2 วัน เป็นจำนวน 600,000 หุ้น รวมเป็นเงิน 2,844,652 บาท

ทั้งนี้ บริษัทมีกำไรสะสมเท่ากับ 466.21 ลบ. มีหนี้สินถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่เริ่มซื้อหุ้นคืนเท่ากับ 51.8 ลบ. นอกจากนี้ยังมีกระแสเงินสด 357.21 ลบ.และมีอัตราส่วนสินทรัพย์หมุนเวียน 12.29 เท่า จึงมีสภาพคล่องส่วนเกินเพียงพอต่อการซื้อหุ้นคืน

ส่วนเหตุผลของการซื้อหุ้นคืน เพื่อเป็นการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท ในศักยภาพการสร้างรายได้และกำไรในอนาคตของบริษัท รวมถึงฐานะการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท