หูเป็นอวัยวะสำคัญที่เอาไว้ฟังเสียงต่าง ๆ เมื่อมีเสียงรบกวนในหูหลายคนมักชะล่าใจและคิดว่าหายได้เอง จึงปล่อยไว้จนรำคาญ
- มีเสียงในหูกับหูดับต่างกันอย่างไร ?
- อาการหูมีเสียง คือ การที่ผู้ป่วยได้ยินเสียงรบกวนอาจจะได้ยินเสียงสูง หรือ เสียงลม โดยเสียงที่ได้ยินไม่ใช่เสียงที่มาจากภายนอก โดยส่วนมากผู้ป่วยมักจะได้ยินเสียงเพียงผู้เดียวและมักเกิดขึ้นเพียงด้านเดียว อาจมีการได้ยินลดลงร่วมด้วย
- อาการหูดับ คือ การที่การได้ยินลดลงหรือไม่ได้ยินเลย อาการหูดับสามารถแบ่งได้เป็น แบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง โดยแบบเฉียบพลันสามารถเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส โรคความดันสูง พักผ่อนน้อยเกินไป หรือ โรคน้ำในหูไม่เท่ากันขั้นรุนแรง ซึ่งมักจะมีอาการเวียนหัวร่วมด้วย ส่วนการได้ยินลดลงแบบเรื้อรังมักเกิดในผู้สูงอายุซึ่งพบได้บ่อยจากการที่ประสาทหูเสื่อมตามอายุ
- ต้องทำอย่างไรเมื่อมีอาการเหล่านี้ ?
ควรสังเกตตนเองก่อนในบางรายหากอาการไม่หนักสามารถหายไปเองได้ภายในไม่กี่นาที แต่หากไม่หายไปเองหรือมีอาการหนักขึ้น ควรเริ่มจากการตรวจการได้ยินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแยกแยะโรคว่าต้นเหตุของโรคเกิดจากอะไร
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้คืออะไร ?
- มีประวัติได้รับบาดเจ็บบริเวณหู ได้รับการกระทบกระเทือน หูได้ยินเสียงดังมาก ๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- มีประวัติการใช้ยาบางกลุ่มที่สามารถทำลายระบบการได้ยิน ประสาทหูเสื่อม เป็นต้น
- การใช้หูฟังมากเกินไป
- ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ บกพร่อง
- ผลกระทบจากภายนอก เช่น ความร้อนความชื้นมารบกวนการเดินของสารจิงและจินได้ เช่น ภาวะลมร้อน ความชื้น เป็นต้น
- อายุเป็นอีกปัจจัยนึงที่ทำให้เกิดอาการนี้เช่นกัน
- ในทางแพทย์แผนจีนสามารถแบ่งกลุ่มอาการของโรคหูมีเสียงได้อย่างไรบ้าง ? สามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ ดังนี้
- อาการแกร่ง ได้แก่ กลุ่มอาการลมร้อนจากภายนอกเข้ากระทำ (?????) กลุ่มอาการไฟตับขึ้นรบกวนเข้ารุกราน (?????) และ เสมหะและไฟสะสม (?????)
- กลุ่มอาการพร่อง ได้แก่ กลุ่มอาการม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง (?????) และ กลุ่มอาการสารจำเป็นของไตพร่อง (?????)
- อาการเหล่านี้ศาสตร์การแพทย์แผนจีนสามารถรักษาได้อย่างไร ?
เมื่อตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจน สามารถใช้ศาสตร์การแพทย์แผนจีนรักษาควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบันได้ โดยแพทย์จีนจะใช้ "ยาสมุนไพร" เพื่อปรับสมดุลร่างกาย และใช้ "การฝังเข็ม" เพื่อกระตุ้นเส้นลมปราณที่หล่อเลี้ยงหูให้คนไข้
- วิธีป้องกันตัวเองจากอาการเหล่านี้
- ไม่อยู่ในที่ที่เสียงดังเกินไป หรือ ใช้หูฟังเป็นเวลานาน
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่ตรากตรำทำงานหนักเกินไป
- ควรทำอารมณ์ให้ปลอดโปร่ง แจ่มใส ไม่วิตกกังวลหงุดหงิดโมโหมากเกินไป
- สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111
- เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
- LINE OA: @huachiewtcm
- Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic