เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ
หลอดอาหารและกระเพาะเกิดอาการระคายเคืองจากกรด อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบและมีแผลหรือไม่เกิดแผลก็ได้
กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง มีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ทำให้มีการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่าย
กรดไหลย้อนสามารถลุกลามไปที่คอหอย กล่องเสียงได้ ทำให้อาจมีอาการร่วมเช่น ไอ สำลัก เสียงแหบ เสียงปนเสมหะ เป็นต้น
สาเหตุมักเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป รสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานแล้วนอนทันที มีปัญหาที่โครงสร้างหูรูดหลอดอาหาร เป็นต้นการวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการ1. กลุ่มอาการอาหารตกค้าง(????)
อาการ : เรอเปรี้ยวแสบกลางอก ร่วมกับอาการท้องอืดแน่นหลังรับประทานอาหาร ท้องผูกหรืออุจจาระมีกลิ่นเหม็นอาหาร เป็นต้น
ลิ้นและชีพจร : ลิ้นแดงฝ้าขาวเหนียว ชีพจรลื่น(?)
การรักษา : ดึงชี่กระเพาะลง ช่วยย่อยอาหาร ระบายชี่ติดขัด2. กลุ่มอาการตับและกระเพาะอาหารไม่ประสานกัน(?????)
อาการ : เรอเปรี้ยวแสบกลางอก ร่วมกับอาการคลื่นไส้ ขมคอ เสียดสีข้างชายโครง แน่นหน้าอก อาการมักเกิดขึ้นพร้อมกับความเครียดหรือหงุดหงิด เป็นต้น
ลิ้นและชีพจร : ขอบลิ้นแดง ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรตึง(?)
การรักษา : ระบายตับ ปรับการไหลเวียนของชี่ ปรับสมดุลกระเพราะอาหารและดึงชี่ลง3. กลุ่มอาการความเย็นกระทบกระเพาะ(?????)อาการ : เรอเปรี้ยวแสบกลางอก ร่วมกับอาการกลัวหนาว มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน จุกเสียดแน่นท้อง เป็นต้นลิ้นและชีพจร : ลิ้นฝ้าขาวบาง ชีพจรลอย(?)
การรักษา : ดึงชี่กระเพาะลง กระจายความเย็น4. กลุ่มอาการเสมหะและน้ำคั่งค้างกระเพาะ(????)
อาการ : เรอเปรี้ยวแสบกลางอก ร่วมกับคอแห้งแต่ไม่กระหายน้ำ ดื่มน้ำแล้วคลื่นไส้อาเจียน พบเสียงท้องร้องโครกคราก ท้องอืดแน่น เป็นต้นลิ้นและชีพจร : ลิ้นฝ้าขาวเหนียว ชีพจรตึงลื่น(??)
การรักษา : สลายเสมหะและน้ำคั่ง ปรับสมดุลกระเพราะอาหารและดึงชี่ลง5. กลุ่มอาการม้ามและกระเพาะเย็นจากพร่อง(????)
อาการ : หลังจากอาการเรอเปรี้ยวหรือคลื่นไส้มักมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กลัวหนาว ชอบประคบท้องด้วยความอุ่น ใบหน้าซีดเซียว เป็นต้น
ลิ้นและชีพจร : ลิ้นซีดฝ้าขาวบาง ชีพจรไม่มีแรง(?)
การรักษา : อุ่นกระเพาะม้าม ปรับสมดุลกระเพราะอาหารและดึงชี่ลง6. กลุ่มอาการอินกระเพาะอาหารพร่อง(????)
อาการ : เรอเปรี้ยวแสบกลางอก ร่วมกับคอแห้ง คลื่นไส้ อาเจียนพบเมือกเหนียวแต่น้อย หิวแต่ไม่อยากอาหาร อุจจาระแข็ง เป็นต้น
ลิ้นและชีพจร : ลิ้นแดง ฝ้าน้อย ชีพจรเล็กเร็ว(??)
การรักษา : เสริมอินเพิ่มความชุ่มชื้น ปรับสมดุลกระเพราะอาหารและดึงชี่ลงตัวอย่างกรณีศึกษา ข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วยอาการสำคัญ : จุกเสียดกลางอกร่วมกับอาการแสบร้อน 1 ปี ประวัติการเจ็บป่วย : ช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีอาการจุกเสียดกลางอกร่วมกับแสบร้อน ลักษณะเป็น ๆหาย ๆ ขณะที่เป็นจะรู้สึกจุกแน่นด้านหลังร่วม ได้ทำการตรวจกระเพาะลำไส้ด้วยการทำ CT และส่องกล้องกระเพาะลำไส้ผลตรวจยังคงปกติ พบเพียงการอักเสบเล็กน้อยของกระเพาะและหลอดอาหาร ช่วง 6 เดือนที่แล้วเคยเข้า Admit ด้วยอาการดังกล่าวอาการร่วม : คลื่นไส้ จุกแน่นหลังรับประทานอาหาร ขับถ่ายไม่สุด บางครั้งท้องผูก ถ่ายลำบาก เป็นแผลร้อนในง่าย เหงื่อออกเยอะ ร้อนง่าย มือชา แสบร้อนที่โพรงจมูกประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : ไขมันพอกตับการตรวจร่างกาย : ลิ้นแดงฝ้าขาวบาง ชีพจรลื่นและเล็ก (??) เสียงปนเสมหะขณะพูดวินิจฉัยตามหลักแพทย์จีน :??ภาวะเรอเปรี้ยววินิจฉัยตามหลักแพทย์ปัจจุบัน :กรดไหลย้อน (GERD)กลุ่มอาการ : กระเพาะม้ามอ่อนแอร่วมกับเสมหะอุดกั้นวิธีการรักษาโดยแพทย์จีนเลือกใช้ยาสมุนไพรจีนที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระเพาะม้าม ขจัดเสมหะที่อุดกั้น โดยเลือกใช้ตำหรับ เซียงซาลิ่วจวินจื่อทัง (??????) โดยปรับเพิ่มยากลุ่มสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการบีบตัวและลดการหลั่งกรดของทางเดินอาหารร่วมด้วยในการรักษา โดยให้รับประทานยาจีนเช้า-เย็น หลังอาหาร 30 นาทีวิเคราะห์ผลการรักษาผู้ป่วยมีอาการเริ่มต้นคืออาการจุกเสียดกลางอกร่วมกับแสบร้อน ลักษณะเป็น ๆหาย ๆ ขณะที่เป็นจะรู้สึกจุกแน่นด้านหลังร่วม คลื่นไส้ จุกแน่นหลังรับประทานอาหาร ขับถ่ายไม่สุด บางครั้งท้องผูก ถ่ายลำบาก เป็นแผลร้อนในง่าย เหงื่อออกเยอะ ร้อนง่าย มือชา แสบร้อนที่โพรงจมูก ลิ้นแดงฝ้าขาวบาง ชีพจรลื่นและเล็ก เสียงปนเสมหะขณะพูดซึ่งในศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้นมองว่าผู้ป่วยมีอาการลักษณะเป็น ๆหาย ๆ บ่งบอกถึงชี่ในกระเพาะม้ามอ่อนแอลง ไม่สามารถจัดการอาหารที่รับประทานได้ รวมถึงกล้ามเนื้อที่ใช้ในการย่อยไม่แข็งแรง ส่งผลไปถึงหูรูดที่อ่อนแอลงและเกิดภาวะกรดไหลย้อนขึ้นจนมีอาการดังกล่าวหลังจากใช้ยาสมุนไพรจีนในกลุ่มเสริมความแข็งแรงให้กระเพาะและม้าม ร่วมกับขจัดเสมหะ รวมถึงกลุ่มยาบางชนิดที่ใช้ตามอาการที่ผู้ป่วยมีในแต่ละอาทิตย์นั้น พบว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะใช้เวลาในการรักษาร่วม 2 เดือนกว่า แต่ยังคงสามารถทำให้พื้นฐานการย่อยและการขับถ่ายของผู้ป่วยดีขึ้น และยังคงต้องติดตามดูอาการในระยะยาว ให้ความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลอาหาร การออกกำลังกาย และดูแลสภาพจิตใจในภาพรวม เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาเป็นซ้ำหรือเป็นหนักขึ้นในภายภาคหน้าสอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.LINE OA: @huachiewtcmFacebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM ClinicWebsite: www.huachiewtcm.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit