KTAM มองตราสารหนี้มีความน่าสนใจจากระดับดอกเบี้ย (Running Yield) ที่เพิ่มสูงขึ้นมากในรอบหลายปี และมีโอกาสจะทำกำไรจากส่วนต่างราคาหากดอกเบี้ยเข้าสู่วงจรขาลงอย่างแท้จริง จึงได้แนะนำลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้นพลัส (KTSTPLUS) และกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ พลัส (KTFIXPLUS) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโอกาสสร้างผลตอบแทนจากตราสารหนี้ระยะสั้นจากทั้งในและต่างประเทศ
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทิศทางดอกเบี้ยโลกและไทยเข้าสู่ระดับสูงสุดแล้วในปี 2023 ที่ผ่านมา โดยแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยจะยังฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าในปี 2024 วงจรดอกเบี้ยจะเริ่มเข้าสู่ขาลง นำโดยประเทศเศรษฐกิจสำคัญเช่น สหรัฐฯ และกลุ่มประชาคมยุโรป ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจต้องทบทวนนโยบายดอกเบี้ยในทิศทางที่ผ่อนคลายมากขึ้น หลังจากเงินเฟ้อชะลอตัวลงมากและแรงกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลง โดยปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้กลับมามีความน่าสนใจจากระดับดอกเบี้ย (Running Yield) ที่เพิ่มสูงขึ้นมากในรอบหลายปี และมีโอกาสจะทำกำไรจากส่วนต่างราคาหากดอกเบี้ยเข้าสู่วงจรขาลงอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าตลาดอาจจะเผชิญกับความผันผวนเป็นช่วงๆ จากปัจจัยต่างๆ อาทิ สภาพคล่องของระบบการเงินโลกยังอยู่ในแนวโน้มลดลงจากมาตรการลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening) และความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงและต้นทุนการเงินสูงเป็นเวลานาน รวมถึง Event Risk ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความขัดแย้งระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากการเลือกตั้งในหลายประเทศ เป็นต้น
สำหรับกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้นพลัส (KTSTPLUS) (ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4) มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก และ/หรือตราสารทางการเงินซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถลงทุนได้ โดยเฉลี่ยอายุตราสารไม่เกิน 1 ปี โดยในเดือนมกราคม 2567 กองทุนมี duration port อยู่ที่ 0.50 - 0.70 ปี กระจายลงทุนในพันธบัตรภาครัฐไทยและเงินฝากในประเทศอยู่ที่ประมาณ 35-45%, เงินฝากและตราสารต่างประเทศประมาณ 5-10% และตราสารเอกชนในประเทศอยู่ที่ประมาณ 50-60% โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเฉลี่ยอยู่ที่ A ทั้งนี้ กองทุนมุ่งเน้นลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่มากกว่าเงินฝาก เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากกว่าในระยะ 3 เดือน - 1 ปี ดังนั้นกองทุนนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
ส่วน กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ พลัส (KTFIXPLUS) (ความเสี่ยงกองทุนระดับ 4) มีนโยบายเน้นในตราสารหนี้ทั้งใน และต่างประเทศ โดยกองทุนอาจพิจารณานำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน โดยในเดือนมกราคม 2567 กองทุนมี duration port อยู่ที่ 2 - 3 ปี กระจายลงทุนในพันธบัตรภาครัฐไทยและเงินฝากในประเทศ ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเฉลี่ยอยู่ที่ A ทั้งนี้ กองทุนมุ่งเน้นลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอจากตลาดตราสารหนี้ในระยะปานกลางถึงระยะยาว จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 กองทุน อาจมีความผันผวนของ NAV ที่มากกว่าในระยะสั้น
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn
ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาตราสาร ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงในเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน และความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ
คำเตือน กองทุน KTSTPLUS มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับงินคืนต่ำกว่างินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า งื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit