เคยสงสัยมั้ย..ทำไมเป็นหวัดบ่อย ๆ ไม่สบายง่าย ปวดหัว มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะมากเป็น ๆ หาย ๆ รบกวนการใช้ชีวิต การทำงานในทุกวัน เป็นอาการที่พบได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการทำงานที่หักโหม สภาพจิตใจที่ย่ำแย่ การใช้ชีวิตอย่างสุดโต่ง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของสาเหตุการเป็นหวัดทั้งสิ้น
ในทางการแพทย์แผนจีนนั้น เป็นหวัด หรือ ก่านเม่า (??) เกิดจาก "ไว่เสีย (??) ปัจจัยก่อโรคจากภายนอก 6 อย่าง" ได้แก่ ลม ความเย็น ความร้อน ความชื้น ความแห้ง และไฟ เข้ากระทบแทรกสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายส่วนของอิ๋นเว้ย (??) เสียสมดุล แต่การที่ไว่เสียเข้าสู่ร่างกายได้นั้น ร่างกายก็มีระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันตัวเอง ซึ่งทางการแพทย์แผนจีนเรียกว่า เว้ยชี่ (??) ชี่ทำหน้าที่เป็นเกาะคุ้มกัน และเจิ้งชี่ (??) ชี่ภูมิคุ้มกันภายใน คอยเป็นกำแพงป้องกันปัจจัยก่อโรคอยู่ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกัน "เว้ยชี่ และ เจิ้งชี่" นี้ทำงานได้ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายพื้นฐานของแต่ละคน (??) สภาพของแต่ละฤดูกาล (??) หรือความรุนแรงของสภาพอากาศ (??) เป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงาน
เป็นหวัดง่าย ติดหวัดบ่อย จึงสามารถเป็นตัวชี้วัดสภาพการทำงานของเว้ยชี่ และเจิ้งชี่ ในการคุ้มกันร่างกาย ถ้าร่างกายซวีเหลา (??) หักโหมจนอ่อนเพลีย หรือใช้งานร่างกายหนักเกินไป (??) ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของชี่และเลือด เมื่อชี่และเลือดไม่เพียงพอ สารตั้งต้นสำคัญ (จิงชี่) น้อยลง การสร้างระบบภูมิคุ้มกันเว้ยชี่ เจิ้งชี่ จึงไม่สมบูรณ์ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ดั่งคัมภีร์ซู่เวิ่น บทชื่อฝ่าลุ่น?????-???? บันทึกไว้ว่า "เจิ้งชี่อยู่ในร่างกาย เสียชี่ (ปัจจัยก่อโรค) ไม่สามารถก่อโรคได้ เมื่อใดเสียชี่ก่อโรคเริ่มปรากฏตัว เมื่อนั้นชี่จึงพร่อง"
ทำอย่างไรให้แข็งแรงไม่เป็นหวัดง่าย ๆ ในทางการแพทย์แผนจีนนั้นมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัส ไว่เสีย หรือปัจจัยก่อโรคจากภายนอก : การหลีกเลี่ยงการสัมผัส ไว่เสีย หรือปัจจัยก่อโรคจากภายนอกเข้ากระทบแทรกสู่ร่างกายนั้น ทำได้ง่าย ๆ โดยการหลีกเลี่ยง
2. ปรับสมดุลการรับประทานอาหาร : อาหารเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้อย่างชัดเจน การแพทย์แผนจีนกล่าวว่า เราควรรับประทานอาหารต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพอินหยางของร่างกาย กล่าวคือ
การที่ชี่และเลือดเพียงพอก็ส่งผลให้ร่างกายไม่เป็นหวัดง่าย ชี่และเลือดที่เพียงพอถูกสร้างขึ้นจากระบบการย่อยที่แข็งแรง อาหารเมื่อเข้าสู่ร่างกายมีม้ามเป็นศูนย์กลางของระบบการย่อย ม้ามมีหน้าที่ควบคุมการย่อยอาหาร การส่งกระจายลำเลียง การเปลี่ยนสารอาหารไปเป็นชี่และเลือด ถ้าอาหารที่เรารับประทานมากหรือน้อยหรือไม่มีประโยชน์จะส่งผลให้ระบบการย่อยถูกทำให้เสียความสมดุล เช่น อาหารเผ็ดร้อนทำให้ระบบทางเดินอาหารร้อนเกินไปสะสมจนทำให้สารน้ำเหือดแห้ง เกิดการถ่ายอุจจาระลำบาก เนื่องจากลำไส้ใหญ่กับปอดมีความสัมพันธ์กันแบบภายในภายนอก (เปี่ยวหลี่-???) เมื่อลำไส้ใหญ่ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ปอดทำงานผิดปกติ ทำให้ถูกไว่เสียเข้ารุกรานจนเป็นหวัด อาหารที่เย็นทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานลดลง เกิดการติดขัดขึ้น ชี่และเลือดไหลเวียนไม่ได้ เว้ยชี่เจิ้งชี่สร้างขึ้นไม่พอเพียงหรือประสิทธิภาพลดลง ทำให้เป็นหวัดได้ง่าย ระบบการย่อยจึงมีความสำคัญต่อชี่และเลือดรวมไปจนถึงระบบภูมิคุ้มกันเว้ยชี่เจิ้งชี่ ถ้าระบบการย่อยเกิดปัญหา ร่างกายจะอ่อนแอเป็นหวัดง่ายแน่นอน และมีอาการระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น เป็นหวัดร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด ปวดท้อง ถ่ายเหลว ท้องเสีย เป็นต้น
3. ปรับสมดุลสภาพจิตใจและอารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอ : อารมณ์และสภาพจิตใจเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของชี่ได้อย่างชัดเจน การแพทย์แผนจีนกล่าวว่า อารมณ์และสภาพจิตใจที่แปรปวนเป็นตัวการทำให้การเคลื่อนที่ไหลเวียนของชี่ผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย คัมภีร์ซู่เวิ่น บทจวี่ท่งลุ่น???-???? บันทึกไว้ว่า "โรคมากมายเกิดจากชี่เคลื่อนที่ผิดปกติ การโมโหทำให้ชี่เคลื่อนพุ่งขึ้น ดีใจทำให้ชี่เคลื่อนที่ช้า เศร้าทำให้ชี่สลาย กลัวทำให้ชี่ตกลง ตกใจทำให้ชี่แปรปรวน เครียดทำให้ชี่ติดขัด" และคัมภีร์ซู่เวิ่น บทอินหยางอิ้งเซี่ยงต้าลุ่น???-???????บันทึกไว้ว่า "โมโหทำลายตับ ดีใจทำลายหัวใจ เครียดทำลายม้าม กังวลทำลายปอด กลัวทำลายไต" จึงเป็นข้ออ้างอิงให้เห็นว่าอารมณ์ผิดปกติส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอลงได้ เมื่อร่างกายอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันเว้ยชี่ ก็สูญเสียการทำงาน จึงทำให้เป็นหวัดได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ดังนั้น หมั่นรักษาความสมดุลของอารมณ์และสภาพจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการโมโหทะเลาะวิวาท เครียดกลุ้มใจ กลัววิตกกังวลไปจนสุดโต่ง และควรหากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายมีความสุขดีต่อสมดุลของอารมณ์และสภาพจิตใจทำอย่างสม่ำเสมอ อาทิ การฟังเพลงสบาย ๆ การอ่านหนังสือ การวาดภาพ การฝึกไทเก็ก เป็นต้น
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างพอดี : การออกกำลังกายเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงอีกวิธีหนึ่ง การออกกำลังกายสามารถกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด ปรับสมดุลของอินหยาง เสริมสมรรถภาพของเจิ้งชี่ การออกกำลังกายต้องให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรมากเกินหรือน้อยกินไป คัมภีร์ซู่เวิ่น บทแชวนหมิงอู่ชี่???-?????และคัมภีร์หลิงซู บทจิ่วเจินลุ่น???-????บันทึกไว้ว่า "การมองนานทำลายเลือด การนั่งนานทำลายชี่ การยืนนานกระดูก การเดินนานทำลายเส้นเอ็น" ซึ่งการอยู่ในอริยาบทเหล่านี้เป็นเวลานานหรือมากเกินไปจะส่งผลต่อองค์รวมของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง เช่น หัวใจกำกับเลือด ตับเก็บกักเลือด ปอดกำกับชี่ ม้ามสร้างชี่ ม้ามกำกับกล้ามเนื้อ ไตกำกับกระดูก และตับกำกับเส้นเอ็น เมื่อเราออกกำลังกายอย่างพอดี (เลือด ชี่ กล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น) มีการขยับตัวเคลื่อนไหว อวัยวะภายในที่เป็นตัวควบคุมก็จะมีการเคลื่อนไหวตามด้วย แต่ถ้าเมื่อไรที่การเคลื่อนไหวนั้นนานเกินไป รุนแรงเกินไป ก็จะเกิดผลย้อนกลับเป็นการทำลายตัวเอง เมื่อร่างกายถูกทำร้าย อวัยวะภายในอ่อนแอ ชี่เลือดไม่เพียงพอ ระบบภูมิคุ้มกันเว้ยชี่เจิ้งชี่อ่อนกำลังลง ร่างกายขาดระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ก็จะทำให้เราเป็นหวัดง่ายเกิดขึ้นตามมา โดยทั่วไปการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ ทุกวัน ๆ ละ 30 นาที ประเภทของการออกกำลังกายสามารถเลือกได้ตามความชอบ อาจจะเป็นการเดินเร็ว การวิ่งช้า ๆ การปั่นจักรยาน หรือการว่ายน้ำก็ได้ (แต่การว่ายน้ำต้องระวังปัจจัยสภาพร่างกายและสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบด้วย)
5. มีการใช้ชีวิตอย่างสมดุล : รูปแบบการใช้ชีวิตสามารถส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างชัดเจน การแพทย์แผนจีนสอนให้ใช้ชีวิตให้สมดุลกับธรรมชาติ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแต่ละฤดูกาล คือ
เป็นหวัดง่าย เป็นหวัดบ่อย คือ อาการสำคัญที่บอกถึงสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง อาจเกิดจากชี่พร่องหรือชี่ติดขัด ระบบภูมิคุ้มกันเว้ยชี่เจิ้งชี่อ่อนแอ หรือเลือดน้อยเกินไปหรือไหลเวียนติดขัด หรืออวัยวะภายในเสียสมดุล สาเหตุที่เกิดขึ้นจะใช้การตรวจ 4 ขั้นตอน คือ การสังเกตุ การฟังและดมกลิ่น การซักประวัติและการจับชีพจร (???? ????) ผนวกกับการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศโดยรอบร่างกาย ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน การใช้ชีวิต (????) เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแยกแยะกลุ่มอาการและการรักษาอย่างตรงจุด (????)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit