การฟื้นฟูร่างกายในผู้ป่วยมะเร็งด้วยโภชนบำบัดด้วยการแพทย์แผนจีน (เย่าซ่าน-??)
โภชนบำบัดแบบแพทย์แผนจีน เป็นการนำสรรพคุณอาหารและการส่งผลของอาหารนั้นเข้าสู่เส้นลมปราณมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยมะเร็ง โภชนบำบัดนั้นยังสามารถช่วยบำบัดโรคหรือฟื้นฟูในแต่ละช่วงที่การดำเนินของโรคไม่เหมือนกันได้ เช่น ช่วงหลังผ่าตัด ช่วงให้เคมีบำบัด ช่วงฉายแสง ช่วงพักฟื้น เป็นต้น
1. อาหารในผู้ป่วยมะเร็งที่พบบ่อย ผู้ป่วยมะเร็งสามารถเลือกทานอาหารให้เข้ากับโรคได้ เช่น
2. อาหารที่ควรห้ามในผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งในช่วงพักฟื้นนั้นไม่ควรรับประทานอาหารหมักดองและปิ้งย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ทำการย่างจนมีรอยไหม้ ไม่ทานอาหารขึ้นราหรืออาหารที่ใส่สารกันบูดต่าง ๆ อาทิ อาหารกระป๋อง ไส้กรอก ควรเลิกบุหรี่ และสุราทุกชนิด ไม่ทานอาหารอิ่มจัดเกินไป ไม่ปรุงแต่งรสชาติอาหารมากจนเกินไป เพราะพฤติกรรมเหล่านี้อาจไปเร่งให้ DNA ในเซลล์ร่างกายเราเกิดการกลายพันธุ์ได้ อาหารที่มีสรรพคุณต้านมะเร็งต่าง ๆ ก็ไม่ควรที่จะรับประทานจนเกินพอดี อาทิ ลูกเดือย ถึงแม้ว่าจะสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ยับยั้งการกลายพันธุ์ของเซลล์อันเกิดจาก Aflatoxin B1ได้ แต่การรับประทานมากเกินไปก็จะทำให้อุจจาระแข็ง ปากแห้ง ลิ้นแห้ง ควรทานร่วมกับอาหารที่มีสรรพคุณเสริมสารน้ำ ช่วยให้ลำไส้ชุ่มชื้น ขับร้อน และเสริมสารอิน
การหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ในโรคมะเร็ง อาทิ เนื้อแกะ เนื้อแพะ กุ้ง ปู หอย บุหรี่ สุรา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นั้นมักจะก่อให้เกิดลมและไฟภายใน เกิดเสมหะขึ้นได้ อาหารเหล่านี้ก่อให้เกิดอาการแพ้ขึ้น หากทานอาหารแล้วเกิดอาการแพ้ขึ้นจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลงมากขึ้นไปอีก เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่สัมพันธ์ทั่วทั้งร่างกาย ผู้ป่วยมักจะมีความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องลง รวมไปถึงต่อมที่ผลิตน้ำย่อยต่าง ๆ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้การย่อยอาหารผิดปกติตามไปด้วย ถ้าหากทานอาหารอิ่มจนเกินไป ทานปูและกุ้งมากเกินไป เป็นต้น จะง่ายต่อการกระตุ้นให้เกิดการแพ้อาหารหรือแพ้โปรตีนในอาหารขึ้นได้ จะทำให้มีอาการไข้ขึ้น ปวดท้อง ความอยากอาหารลดลง ซึ่งจะส่งผลให้พลังของเจิ้งชี่ในร่างกายถดถอยลง ภูมิคุ้มกันก็จะทำงานแย่ลง ทำให้เสี่ยงต่อการที่มะเร็งจะรุนแรงขึ้นหรือเกิดซ้ำได้ ในความเป็นจริงแล้วในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยใด ๆ ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้กับการเกิดซ้ำหรือกระจายของมะเร็ง ในทางวิทยาศาสตร์อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงนั้นจะอิงตามประวัติการแพ้ยาและอาหาร แต่หากมองในมุมมองของแพทย์แผนจีนแล้วหากการแพ้นั้น ๆ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลงไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ก็ย่อมส่งผลให้เจิ้งชี่ในร่างกายถูกทำลาย ภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอลง มะเร็งก็จะควบคุมได้ยากขึ้นตามไปด้วย
ในแต่ละช่วงของการรักษาจะมีการปรับอาหารที่ไม่เหมือนกัน
2.1) ช่วงผ่าตัด ช่วงก่อนผ่าตัดนั้นอาหารจะเน้นเพื่อสนับสนุนให้การผ่าตัดดำเนินไปได้อย่างราบรื่นที่สุด สรรพคุณจึงมักเน้นบำรุงพลังชี่และเลือดเป็นหลัก ตัวอย่างอาหาร อาทิ พุทราจีน เม็ดบัว เป็นต้น ในช่วงหลังการผ่าตัดพักฟื้นอาหารจะมีการเพิ่มชนิดที่มีสรรพคุณเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารอาทิ เช่น ซานจา เป็นต้น
2.2) ช่วงเคมีบำบัด ช่วงที่ให้เคมีบำบัดผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุด คือ ภาวะไขกระดูกถูกกดการทำงานและระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ โดยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ซีด เลือดออกง่าย ติดเชื้อง่าย เป็นต้น โภชนาการเพื่อการลดผลกระทบจากภาวะไขกระดูกถูกกดการทำงาน เน้นการบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร บำรุงเลือด บำรุงตับ และไต แนะนำให้เน้นทานอาหาร อาทิ ห่วยซัว ลำไยแห้ง พุทราจีน ถั่วลิสง เห็ดหูหนูดำ ตับหมู ข้าวเหนียว กระดูกหมู/วัว เป็นต้น หากมีอาการเบื่ออาหารร่วมกับมีฝ้าบนลิ้นหนา จะเน้นปรับสมดุลการไหลเวียนชี่ของกระเพาะอาหาร สลายความชื้น และระงับอาการคลื่นไส้อาเจียน แนะนำให้ทานอาหาร อาทิ ขิงสด เปลือกส้ม ซานจา ลูกเดือย ฮวยซัว พุทราจีน นมวัว น้ำผึ้ง เป็นต้น หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ให้นำขิงแก่มาฝานบาง ๆ และเคี้ยวในปากเป็นประจำจะช่วยลดอาการได้ดี
หากค่าตับผิดปกติจากยาเคมีบำบัด ต้องการบำรุงดูแลตับ แนะนำให้ทานอาหารที่บำรุงอินของตับ ขับความร้อนชื้นและกระจายชี่ตับ เช่น เปลือกแตงโม เก๋ากี้ ดอกเก็กฮวย แห้ว ซานจา ตะพาบน้ำ มะระ ฟัก บวบ มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย เป็นต้น
หากค่าไตผิดปกติจากยาเคมีบำบัด ต้องการบำรุงดูแลไต แนะนำให้ทานอาหารที่บำรุงไต ขับปัสสาวะ เช่น ถั่วเขียว เปลือกฟัก เปลือกแตงโม หนวดข้าวโพด ตะพาบ
หากต้องการลดพิษต่อหัวใจจากยาเคมีบำบัด แนะนำให้ทานอาหารที่บำรุงชี่ เสริมอิน ปรับการไหลเวียนของชี่ ปรับการไหลเวียนเลือด สลายเลือดคั่ง เช่น พุทราจีน เหง้าต้นลิลลี่(??) เก๋ากี้ ซานจา เป็นต้น
หากมีแผลในปากแนะนำให้ทานอาหารที่เสริมอิน ขับพิษร้อน อาทิ แตงโม มะระ รากบัว น้ำผึ้ง ถั่วเขียว สาลี่ มะเขือเทศ รังนก กล้วย เป็นต้น
2.3) ฉายรังสี (ฉายแสง) ช่วงฉายแสง อาหารจำเป็นต้องเน้นกระตุ้นความอยากอาหาร แต่ต้องมีรสชาติอ่อน ๆ สารอาหารครบถ้วน หลังจากการฉายแสงแล้วมักจะมีภาวะขาดสารน้ำ อาหารต้องมีสรรพคุณเสริมอินและสารน้ำ อาทิ น้ำสาลี่ น้ำแห้ว รังนก เนื้อเป็ด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อน รสจัด สุรา บุหรี่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ ของทอด ของมัน ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน พริกต่าง ๆ เป็นต้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit