นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้มีแดดแรง ลมแรง อากาศแห้ง เหมาะต่อการแพร่ระบาดของเพลี้ยไฟ ประกอบกับระยะนี้เป็นช่วงที่ทุเรียนกำลังออกดอกติดผลในพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร จึงแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหมั่นสำรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถสังเกตการทำลายของเพลี้ยไฟทุเรียนได้จากอาการดอกแห้ง ดอกและก้านดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แคระแกร็น และร่วง หากเริ่มเข้าสู่ช่วงติดผลอ่อน จะเกิดอาการชะงักการเจริญเติบโต ปลายหนามแห้ง ผลไม่สมบูรณ์และแคระแกร็น ให้เกษตรกรสำรวจหาไข่ ตัวอ่อน หรือตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟ เพื่อนำไปทำลาย โดยตัวเต็มวัยมีสีเหลืองหรือสีน้าตาลอ่อน เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวแคบยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ขอบปีกมีเส้นขนเป็นแผง มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไข่มีขนาดเล็กลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วสีขาว ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อพืชบริเวณใกล้เส้นกลางใบ หากพบให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายไปกำจัดนอกแปลงปลูกทันที
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟทุเรียนหรือเพลี้ยไฟพริกนั้น หากพบร่องรอยการเข้าทำลายเล็กน้อย นอกจากจะตัดส่วนที่ถูกทำลายไปกำจัดนอกแปลงปลูกแล้ว ควรอนุรักษ์และใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมงมุมชนิดต่าง ๆ ตัวอ่อนแมลงช้าง และเพลี้ยไฟตัวห้ำ เพื่อเป็นตัวช่วยทางธรรมชาติในการกำจัดเพลี้ยไฟดังกล่าว แต่หากในกรณีที่พบการระบาดรุนแรง ควรดำเนินการกำจัดอย่างเร่งด่วน เพื่อควบคุมการแพร่กระจายไม่ให้เพลี้ยไฟลุกลามไปในพื้นที่สวนอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องใช้สารกำจัดแมลง ได้แก่ อิมิดาโคลพริด10% SLอัตรา 10 มิลลิลิตร หรือฟิโพรนิล 5% SCอัตรา 10 มิลลิลิตร โดยเลือกสารชนิดใดชนิดหนึ่งผสมน้า 20 ลิตรและไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานได้ ทั้งนี้ หากเกษตรกรต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสานักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit