ม.ศรีปทุม จัดเวทีแข่งขัน " SPU AI Prompt Mini Hackathon 2024" ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ครั้งแรกในประเทศไทย มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างทักษะ AI Engineer อาชีพมาแรงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานทั่วโลกในยุคดิจิทัล มีนักเรียนโรงเรียนดังๆสนเข้าร่วมการแข่งขันคับคั่งว่า 300 คน จาก 28 ร.ร.ทั่วประเทศ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการแข่งขัน ณ ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม ชั้น 5 อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กทม.(บางเขน) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 โดย ทีม Query Crafters มาวิน คว้ารางวัลชนะเลิศ เผยทักษะการใช้ AI จะเป็นหนึ่งสกิลสำคัญที่ต้องมี ค่าตัวสูง ชี้ AI Engineer เนื้อหอม ผลตอบแทนสูง ธุรกิจทุกอุตสาหกรรม มุ่งลงทุน AI ยกระดับศักยภาพธุรกิจ พร้อมเปิด 3 อาชีพดาวรุ่งยุคค่าตัวสูงยุค AI 1. Prompt Engineer 2. AI and Machine Learning Engineer และ 3. Data Engineer
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปราลี มณีรัตน์ รักษาการคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก โดยได้เข้ามามีบทบาทแทรกซึมอยู่ชีวิตมนุษย์อย่างรวดเร็ว และได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม หันมาให้ความสนใจและเริ่มลงทุนเพื่อสร้างแต้มต่อทางธุรกิจให้สามารถแข่งขันและเติบโตต่อไปได้ และยังเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาประเทศ มหาวิทยาลัยมองเห็นเทรนด์ดังกล่าวจึงได้เตรียมความพร้อมพัฒนาคน เข้าไปตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อทันต่อการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี AI ในภาคเศรษฐกิจและสังคม ในมิติของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษามีสกิลการใช้ AI ชีวิตประจำวัน การปรับหลักสูตรคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างบุคลากรด้าน AI Engineer ป้อนให้ทันความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อบ่มเพาะเยาวชน ให้มีความพร้อมศึกษาต่อในสายอาชีพ AI Engineer
ทั้งนี้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ( NECTEC) สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AiAT) และ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี ไซเบอร์ จัดเวทีแข่งขัน "SPU AI Prompt Mini Hackathon 2024" ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ครั้งแรกของประเทศไทย โดยทีมชนะเลิศได้แก่ทีม Query Crafters รับเงินรางวัล 10,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับเงินรางวัล 8,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่โรงเรียนราชบพิธ รับเงินรางวัล 5,000 บาท ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนชั้นนำทั่วประเทศ อาทิ เตรียมอุดมศึกษา มหิดลวิทยานุสรณ์ จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย โยธินบูรณะ สามเสนวิทยาลัย ฯลฯ ที่สนใจเข้าร่วมกว่า 300 คน
" การจัดการแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อกระจายความรู้ บ่มเพาะ การสร้าง Prompt Engineer เพื่อให้มีความเข้าใจและใช้คำสั่งพัฒนา AI ให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ นับเป็นจุดประกายแนวทางให้เยาวชน โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี AI ต้องการกระจายองค์ความรู้เทคโนโลยี Al เพื่อบ่มเพาะทักษะ AI Engineer ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่สนใจเข้าสู่สายอาชีพ AI Engineer "
นายกนธี บุญมีประกอบ Super AI Engineer Machine Learning Scientist บริษัท ฟินีม่า จำกัด เปิดเผยว่า อาชีพ AI Engineer คือ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ หน้าที่หลัก ๆ คือการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ พัฒนา และสามารถตัดสินใจในเรื่องที่ซับซ้อนได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นผู้นำข้อมูลใหม่ๆมาพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบัน กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในยุคปัจจุบันและอนาคตและเป็นอาชีพที่มีผลตอบแทนสูงมีโอกาสเติบโตในสายงานอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมในประเทศกำลังมุ่งนำเอา AI เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ประกอบกับ ในอนาคตอันใกล้ AI จะเข้าไปมีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ และการทักษะพื้นฐานเช่นเดียวกับการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์พื้นฐาน Word, Excel ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ทำให้เกิดความต้องการอาชีพ AI Engineer มาพัฒนา AI Prompt ที่ง่ายและสะดวก สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
ทั้งนี้ อาชีพดาวรุ่ง AI Engineer ที่มาแรงและเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน ได้แก่ 1. Prompt Engineer อาชีพใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานปัญญาประดิษฐ์และ Natural Language Processing ต้องการมีทักษะความเข้าใจและการสร้างข้อความที่มีความหมายจากข้อมูลธรรมชาติ 2. AI and Machine Learning Engineerอาชีพนี้เปรียบเสมือนผู้สร้างหัวใจหลักของ AI ช่วยศึกษา ออกแบบ และพัฒนา Algorithm ให้ระบบ AI สามารถทำงานและเรียนรู้ได้ด้วยตัวระบบเอง และประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การแพทย์, การผลิต, การขนส่ง, การสื่อสาร, การเงิน 3. Data Engineer วิศวกรข้อมูล ทำให้ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ให้องค์กรสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เป็น insight เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ
นายธนพัฒน์ แช่มเทศ ตัวแทนจากทีม Query Crafters ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่ง SPU AI Prompt Mini Hackathon 2024 เปิดเผยว่า ทีมเกิดจากการรวมตัวกันจากเด็กต่างโรงเรียนคือโรงเรียนศรียภัยชุมพร และโรงเรียนนานาชาตินิวตัน ที่พบกันในงานประกวด Hackathon ครั้งก่อนได้ชักชวนกันมาเข้าร่วมแข่งขัน การเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการสร้าง Prompt Engineer แบบจับมือทำและนำมาประยุกต์ใช้ได้ทัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการคว้าชนะครั้งนี้ และยังเป็นแรงบันดาลใจให้มุ่งมั่นเข้าเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ AI เพราะมองว่าเป็นเทคโนโลยีที่มี ความสำคัญกับมนุษย์ ภาคธุรกิจ มากขึ้นเรื่อย ๆ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit