ฟูจิตสึ ประกาศแผนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ครั้งแรกในโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุดของหน่วยประมวลผลกลาง (CPUs) และหน่วยประมวลผลภาพกราฟิก (GPUs) ด้วยการจัดสรรแบ่งส่วนทรัพยากรแบบเรียลไทม์ จัดลำดับความสำคัญการประมวลผลให้มีประสิทธิภาพสูงแม้ขณะกำลังประมวลผลภาพกราฟิกอยู่ ฟูจิตสึ ออกแบบเทคโนโลยีนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลน GPU ทั่วโลก ด้วยการปรับเพิ่มประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของทรัพยากรคอมพิวเตอร์เดิมที่มีอยู่ในระบบ จากความต้องการใช้งาน Generative AI, Deep Learning และแอปพลิเคชันอื่นๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ฟูจิตสึ มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ด้วยการประมวลผลแบบ Parallel processing สามารถสลับการประมวลผลของหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกันได้ ด้วยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายตัวเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องรอให้โปรแกรมที่กำลังทำงานในระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง HPC เสร็จสิ้น เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้สามารถทำการประมวลผลแอปพลิเคชัน ที่ต้องใช้ทั้งทรัพยากรการคำนวณขนาดใหญ่ และได้ประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ได้ เช่นเดียวกับโปรแกรม Digital Twin และ Generative AI
การส่งมอบเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ของฟูจิตสึนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นตัวกลาง สามารถช่วยจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในอนาคต หรือ Future computer workload broker ซึ่งปัจจุบันยังเป็นซอฟต์แวร์ใหม่ที่ ฟูจิตสึ กำลังพัฒนา เพื่อให้ AI สามารถคำนวณ และเลือกทรัพยากรที่เหมาะสมที่สุดได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยแก้ปัญหา ตอบรับความต้องการของลูกค้า อาทิ การคำนวณเวลา ความแม่นยำในการคำนวณ และต้นทุน รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของเทคโนโลยีดังกล่าวร่วมกับลูกค้า ไปสู่แพลตฟอร์มที่สามารถแก้ไขปัญหาสังคม และสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนได้ ทั้งนี้ ฟูจิตสึ ได้สาธิตเทคโนโลยีดังกล่าวในงาน SC23 ที่ได้จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมในเดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา โดยมีเทคโนโลยี HPC เป็นหัวข้อไฮไลท์
ฟีเจอร์ของเทคโนโลยีใหม่
แผนในอนาคต
ในอนาคต ฟูจิตสึมีแผนที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีประมวลผล CPU/GPU ให้ได้สูงสุด เพื่อการประมวลผลที่ต้องใช้ GPU สำหรับแพลตฟอร์ม AI ของฟูจิตสึ ที่ใช้ชื่อรหัสว่า "โคซูจิ" ให้ผู้ใช้งานได้ทดสอบเทคโนโลยี AI ขั้นสูงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ฟูจิตสึ มีแผนที่จะนำเทคโนโลยี HPC ที่เหมาะสมที่สุด ไปปรับใช้ในการจำลองการประมวลผลแห่งอนาคต หรือ ควอนตัม คอมพิวติ้งของฟูจิตสึ ในระดับ 40 คิวบิต เพื่อร่วมประมวลผลคอมพิวติ้งกับโหนดจำนวนมากขึ้น
นอกจากนั้น ฟูจิตสึ ยังจะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับบริการ Fujitsu Computing as a Service HPC ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาและประมวลผลแอปพลิเคชันในการจำลองการใช้งาน (Simulation) เพื่อเทคโนโลยี AI และเพื่อ Combinatorial optimization problem ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับการหา Object ที่ดีที่สุด จากชุดของ Object จำนวนจำกัด รวมไปถึงสถาปัตยกรรม Composable Disaggregated Infrastructure (CDI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถเปลี่ยนการกำหนดค่าฮาร์ดแวร์ระหว่างเซิร์ฟเวอร์ได้ นับเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสร้างสังคมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และราคาที่เหมาะสมได้อย่างง่ายดาย
"จากความต้องการใช้ AI โดยเฉพาะเทคโนโลยีเกิดใหม่อย่าง Generative AI ที่มาแรง ไทยเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาค ASEAN ที่ทางฟูจิตสึ ได้รวมเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ในโรดแมปของภูมิภาค เพื่อช่วยลูกค้าปรับเปลี่ยนธุรกิจได้อย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีของฟูจิตสึ เทคโนโลยีที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPUs) และหน่วยประมวลผลภาพกราฟิก (GPUs) โดยสามารถจัดสรรแบ่งส่วนทรัพยากรแบบเรียลไทม์นี้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาในแล็บวิจัยของฟูจิตสึ" นางสาวกนกกมล เลาหบูรณะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit