เต็ดตรา แพ้ค ประกาศแนวทางการลงมือปฎิบัติที่ครอบคลุมในการขับเคลื่อนการปฎิรูประบบอาหารที่มีความปลอดภัย ยั่งยืน และยืดหยุ่นมากขึ้น[1] ผ่านบทบาทผู้นำในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและบรรจุภัณฑ์เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นับเป็นการต่อยอดการเป็นผู้นำของบริษัทในคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมระดับโลก (Global Dairy Processing Task Force) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มด้านสภาพภูมิอากาศ 'Pathways to Dairy Net Zero' โดยมุ่งเป้าในการสำรวจระบบและเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม
ชาร์ลส์ แบรนด์ รองประธานบริหารฝ่ายโซลูชันและเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ของเต็ดตรา แพ้ค ให้ความเห็นว่า "การปฎิรูประบบอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างอนาคตที่มีศักยภาพ ทุกวันนี้ ระบบดังกล่าวนับว่ายังขาดประสิทธิภาพและไม่มีความยั่งยืน ทั้งยังมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสาม (34%) ทั่วโลก[2] และในขณะเดียวกัน หนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตออกมายังคงสูญเปล่าหรือเหลือทิ้ง[3] นอกจากนี้ ระบบอาหารยังไม่ครอบคลุมความต้องการของผู้คน โดย 9% ของประชากรทั่วโลกต้องเผชิญกับความหิวโหย[4] และ 30% กำลังประสบกับการขาดแคลนอาหาร[5] ยิ่งไปกว่านั้น ห่วงโซ่คุณค่าทางอาหารยังเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการทำลายป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีการประเมินว่าอุตสาหกรรมนี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เป็นอันดับสองรองจากเรื่องพลังงาน ปัญหาเรื่องอาหารไม่ใช่สิ่งที่เราจะสามารถมองข้ามไปได้ เราจึงต้องปรับเปลี่ยนระบบเหล่านี้เพื่อรับรองถึงความปลอดภัย ความยืดหยุ่น และความยั่งยืนที่มากขึ้น"
เต็ดตรา แพ้ค ได้กำหนดแนวทางสำคัญ 4 ประการ ในการเร่งการปฎิรูประบบอาหาร และบริษัทยังได้จัดทำแผนงานและเป้าหมายที่วัดผลได้ในแต่ละแนวทางของการลงมือปฎิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับการปฎิรูปด้านอาหารที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ที่ดินที่ Food and Land Use Coalition ได้เสนอไว้[6] ดังนี้
การประกาศแนวทางนี้มีขึ้นควบคู่ไปกับการเผยแพร่เอกสารนำเสนอข้อมูล (White Paper) ของเต็ดตรา แพ้ค ที่จัดทำร่วมกับ EY Parthenon ซึ่งศึกษาลงลึกถึงข้อกำหนดหลักของระบบอาหาร มุ่งผลักดันความยั่งยืนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของทั้งผู้คนและโลกใบนี้ภายในปี 2583
ชาลส์ ให้ข้อสรุปว่า "สำหรับเต็ดตรา แพ้ค แล้ว เราไม่ได้แค่ให้คำมั่นสัญญาไว้เท่านั้น เรากำลังผลักดันให้เกิดวาระการเปลี่ยนแปลงโดยยึดถือหลักฐานประกอบที่ชัดเจน เราตอบรับเข้าร่วมกับภาคเอกชนด้วยการแสดงให้เห็นถึงทั้งความมุ่งมั่นและแผนงานเชิงกลยุทธ์ในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ไม่ว่าจะในที่ประชุม COP28 หรือที่ใด เราภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ลูกค้า และผู้นำทางความคิดรายสำคัญ เพื่อช่วยปฎิรูประบบอาหารและขับเคลื่อนไปสู่แนวทางที่ก้าวหน้าต่อไป"
[1] คำจำกัดความ: ระบบอาหารคือ ระบบที่ครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมด (สิ่งแวดล้อม ผู้คน ปัจจัยการผลิต กระบวนการ โครงสร้างพื้นฐาน สถาบัน ตลาด และการค้า) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การแปรรูป การจำหน่ายและการตลาด การจัดเตรียมและการบริโภคอาหาร และผลผลิตจากกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึงผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มา: คณะทำงานระดับสูงด้านความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการโลก (HLTF) (un.org)
[2] อาหารธรรมชาติ (vol 2, no- 198-209). คริปปา และคณะ. (2564): "ระบบอาหารคิดเป็นหนึ่งในสามของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกระทำของมนุษย์". https://www.nature.com/articles/s43016-021-00225-9
[3] https://www.wfp.org/stories/5-facts-about-food-waste-and-hunger#:~:text=One%2Dthird%20of%20food%20produced,worth%20approximately%20US%241%20trillion
[4] องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ. สถานะความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในโลก. https://www.fao.org/3/cc3017en/cc3017en.pdf (2566).
[5] องค์การอนามัยโลก. ภาวะทุพโภชนาการ. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/malnutrition
[6] Food and Land Use Coalition | World Resources Institute (wri.org)
[7] คำจำกัดความ: ผลิตภัณฑ์นมที่มีความยั่งยืนหมายถึง อุตสาหกรรมนมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงผ่านการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้ในการผลิตและการแปรรูป เพื่อปกป้องความมั่นคงทางโภชนาการและเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนนับพันล้านทั่วโลกไปพร้อมกับสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับเราทุกคน https://globaldairyplatform.com/sustainability
[8]การผสมผสานระหว่างการแปรรูปแบบปลอดเชื้อกับกล่องบรรจุเครื่องดื่มช่วยเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่ายได้นานถึง 12 เดือน โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูดหรือจัดเก็บไว้ในตู้เย็นที่ใช้พลังงานสูง
[9] คำจำกัดความ: ข้อมูลโภชนาการของอาหารสำเร็จรูปที่ได้รับการประเมินตามระบบ Health Star Rating, Health Star Rating
[10] บรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนหมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านการใช้งานอันมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ ซึ่งทำจากวัสดุรีไซเคิลหรือทรัพยากรทดแทนได้ที่จัดหามาอย่างมีความรับผิดชอบ สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำในระหว่างการผลิต การแปรรูป การขนส่ง และการรีไซเคิล
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit