ไต้หวันไม่ได้มีชื่อเสียงแค่ในด้านความสะดวกสบายและทิวทัศน์ที่สวยงามน่าทึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นทางเลือกที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้เชี่ยวชาญสาขาดิจิทัลที่กำลังมองหาโอกาสเติบโตในสายอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ยอดเยี่ยม โดยข้อมูลจากการสำรวจประจำปีโดยเว็บไซต์ "อินเตอร์เนชันส์" (InterNations) ระบุว่า ไต้หวันติดโผจุดหมายปลายทางอันดับต้น ๆ สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการอาศัยในต่างแดน
ไต้หวัน: อ้าแขนรับผู้เชี่ยวชาญสาขาดิจิทัลจากทั่วโลก
คุณเบตตี หู (Betty Hu) รองอธิบดีกรมการบริหารอุตสาหกรรมดิจิทัล สังกัดกระทรวงดิจิทัลไต้หวัน (MODA) ระบุว่า "ไต้หวันพร้อมช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติให้ได้รับบัตรทองไต้หวัน (Taiwan Gold Card) เพื่อให้สามารถทำงานหรือเริ่มต้นธุรกิจในดินแดนแห่งนี้ ไต้หวันเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาดิจิทัลได้เพลิดเพลินไปกับการทำงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อการเติบโตอย่างรวดเร็วในสายงานของตนเอง อีกทั้งยังมีส่วนช่วยกระตุ้นการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยีและชุมชนในท้องถิ่น พร้อมส่งเสริมให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์กับผู้เชี่ยวชาญในระดับโลกอย่างต่อเนื่อง"
เมื่อปี 2565 ไต้หวันได้จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลขึ้นมา และได้เชิญคุณออเดรย์ ถัง (Audrey Tang) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงระดับโลกมานั่งเก้าอี้รัฐมนตรี เพื่อให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับรัฐบาลโดยตรง นอกจากนี้ เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถสาขาดิจิทัลจากนานาชาติ ตลอดจนเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลทั้งในระดับประเทศ อุตสาหกรรม และสังคม ทางกระทรวงดิจิทัลจึงพัฒนาและประกาศใช้บัตรทองสาขาดิจิทัล (Gold Card in Digital field) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566
บัตรทองการจ้างงานไต้หวัน: ใบเบิกทางสำหรับผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก
บัตรทองไต้หวันได้บูรณาการ 4 บริการสำคัญเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ ใบอนุญาตทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น วีซ่าพำนักที่มีอายุสูงสุด 3 ปี สิทธิ์ในการใช้ประกันสุขภาพระดับชาติ และการลดหย่อนภาษีเงินได้ นอกจากนี้ ผู้ถือบัตรทองการจ้างงานไต้หวันสามารถเข้าและออกจากไต้หวันได้ตามต้องการ และสามารถทำงานระยะไกลจากที่ใดก็ได้ทั่วโลก ซึ่งมอบความยืดหยุ่นกว่าเดิมมาก
บัตรทองสาขาดิจิทัลมีชุดเกณฑ์การประเมินที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จและคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญในสาขาดิจิทัลแต่ละคน อาทิ ผลงานด้านวิชาการ โครงการ การรับรอง หรือสิทธิบัตร ซึ่งเปิดทางให้การประเมินมีความครอบคลุมมากขึ้น และช่วยให้ผู้สมัครได้รับความยืดหยุ่นมากขึ้นด้วย ทำให้สามารถทำงานเป็นพนักงานบริษัทหรือเริ่มธุรกิจของตนเองในไต้หวันก็ได้
ไต้หวัน: จุดหมายปลายทางในอุดมคติสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล
"ไต้หวันเป็นหนึ่งในดินแดนที่ดีที่สุดสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในการแสดงความสามารถของตนเองออกมาอย่างเต็มที่" คุณเบตตี หู กล่าว "การเปิดกว้างและระบอบประชาธิปไตยของไต้หวันช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรอย่างยิ่งสำหรับผู้เชี่ยวชาญสาขาดิจิทัล"
"นอกเหนือจากความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และบล็อกเชนแล้ว ไต้หวันยังต้องการบุคลากรในสายการรักษาความปลอดภัยแบบ FIDO การขับขี่อัตโนมัติ และการประมวลผลควอนตัมอีกด้วย" คุณเบตตี หู กล่าว โดยที่ผ่านมา องค์กรใหญ่ เช่น กูเกิล (Google) ไมโครซอฟท์ (Microsoft) เอดับเบิลยูเอส (AWS) ไอบีเอ็ม (IBM) และเมตา (Meta) รวมถึงสตาร์ตอัป เช่น เอพพิเออร์ (Appier) และ โกโกลุก (Gogolook) ต่างก็ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในไต้หวันมาแล้ว
สมดุลระหว่างงานและการใช้ชีวิต: ชีวิตที่ลงตัวในไต้หวัน
นอกเหนือจากสังคมที่เป็นมิตรแล้ว ไต้หวันยังติดอันดับเขตเศรษฐกิจชั้นนำระดับโลกที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิต การเข้าถึงการรักษาพยาบาล เสรีภาพในการพูด สมรสเท่าเทียม และประสิทธิภาพของรัฐบาล
องค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้เป็นเหตุผลที่ดึงดูดชุมชนโอเพนซอร์สและผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกมากมายให้เข้ามาถือบัตรทองการจ้างงานไต้หวัน อาทิ สตีฟ เฉิน (Steve Chen) ผู้ร่วมก่อตั้งยูทูบ (YouTube) และ วิตาลิก บูเตริน (Vitalik Buterin) ผู้ก่อตั้งอีเธอเรียม (Ethereum) เป็นต้น
สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ:
อนิตา เฉิน (Anita Chen)
อีเมล: [email protected]
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2294096/Ministry_Digital_Affairs.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2294097/Image_Credits_Ministry_Digital_Affairs.jpg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit