ชุมชนห้วยยาง ต.ดงเมืองแอม และ ชุมชนนางิ้วนาโพธิ์ ต.นางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ต้อนรับ ผู้แทนจาก กฟผ. เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ

05 Jul 2023

ชุมชนห้วยยาง ต.ดงเมืองแอม และ ชุมชนนางิ้วนาโพธิ์ ต.นางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ต้อนรับ ผู้แทนจาก กฟผ. เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ ที่ แปลงผักปลอดภัย ชุมชนห้วยยาง และป่าชุมชนนางิ้ว-นาโพธิ์ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการพัฒนาองค์ความรู้ และขยายผลด้านความมั่นคงทางอาหารต่อไป

ชุมชนห้วยยาง ต.ดงเมืองแอม และ ชุมชนนางิ้วนาโพธิ์ ต.นางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ต้อนรับ ผู้แทนจาก กฟผ. เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 ชุมชนห้วยยาง ต.ดงเมืองแอม และ ชุมชนนางิ้วนาโพธิ์ ต.นางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ได้มีโอกาสต้อนรับ คุณนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน (อกย.) นายวิษณุ วัฒนเวชรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - 2 (ช.อปอ-2.) ฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อปอ.) พร้อมคณะ ผู้แทน กฟผ. เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ แปลงผักปลอดภัย ของชุมชนห้วยยาง พร้อมกันนี้ยังได้ศึกษาดูงานการบริหารจัดการป่าชุมชนนางิ้ว-นาโพธิ์

แปลงผักปลอดภัย ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุมชนห้วยยาง มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร "เพียงพอ ปลอดภัย มีคุณค่า มีสุขภาพ" ซึ่งในปี 2557 ชุมชนได้ร่วมกับโครงการพลังชุมชนฯ ดำเนินการผันน้ำเข้าสู่หนองแสงสำเร็จ ทำให้มีปริมาณเพียงพอในการอุปโภค จากนั้นในปี 2558 ชุมชนได้เริ่มต่อยอดกิจกรรม โดยการสร้างความมั่นคงทางอาหาร จัดตั้งกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ อบรมจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ เริ่มทำแปลงผักรอบหนองแสง ในปี 2559 มีการขยายแปลงปลูกผัก มีการทำระบบการปั่นจักรยานสูบน้ำ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพผลิตผักอินทรีย์ได้อย่างพออยู่พอกิน ส่วนที่เหลือ

แบ่งปันทำบุญ จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปี 2564 จึงยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืน มีการพัฒนาฐานความรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร

และมีการขยายผลโดยการผลักดันความมั่นคงอาหาร เป็นนโยบายระดับตำบล

การจัดการป่าของบ้านนางิ้วนาโพธิ์ ที่ชุมชนร่วมกันปลูกและดูแลป่าชุมชนจนเกิดเป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อประโยชน์ต่อคนในชุมชนในหลายแง่ทาง ตระหนักถึงปัญหาไฟป่าเช่นกัน ทั้งนี้พื้นที่ จ.ขอนแก่นเองก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติประกาศให้เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า โดยเฉพาะไฟผิวดิน (Surface Fire) ที่เกิดขึ้นได้ง่าย และหากไม่สามารถควบคุมได้ก็จะขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว ดังนั้นคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านนางิ้วนาโพธิ์ได้ขับเคลื่อนแนวทางการป้องกันไฟป่า โดยกำหนดกติกาป่าชุมชนนางิ้วนาโพธิ์ขึ้น แล้วทำหนังสือถึงผู้ใหญ่บ้านในชุมชนใกล้เคียงเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับรู้ และตระหนักถึงปัญหาไฟป่า แนวทางการปฏิบัติ และกติกาของป่าชุมชน ซึ่งมีรายละเอียดครอบคลุมถึงการปลูกป่าหรือต้นไม้ยืนต้นเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวเป็นปอดของโลกและแหล่งอาหารชุมชน การห้ามเผาป่าชุมชนเพื่อล่าสัตว์หรือของป่า ไปจนถึงการห้ามจุดไฟเผาวัชพืช, ตอซัง, ไร่อ้อย หรือขยะในพื้นที่ใกล้ชุมชน หรือป่าชุมชน หรือป่าสาธารณะ หรือแม้แต่ถนนสาธารณะ ที่อาจรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อบุคคล, ทรัพย์สินและป่าชุมชน ชุมชนจะดำเนินการจัดทำป้ายรณรงค์ และป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญ ร่วมกันป้องกัน และสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดไฟป่าขึ้น ทั้งนี้ ยังมีแนวคิดในการปรับปรุงพื้นที่ป่าชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ ดูแล และอนุรักษ์ป่าชุมชน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของชุมชนที่ให้ความรู้จากการดำเนินงานจริงของชุมชน ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ให้ผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ได้รับประโยชน์กลับไปสูงสุดอีกด้วย

โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ CEIS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ (สพศอ.) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

ให้ความสำคัญในการสร้าง และส่งเสริมให้ชุมชนภายใต้โครงการฯ เกิดความยั่งยืน โดยใช้พลังชุมชนและนวัตกรรม รวมถึงการหนุนเสริมจากภาคีต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น มาบูรณาการ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการวิจัยและพัฒนา และนำมาปรับใช้กับภูมิปัญญาดั้งเดิม ให้เหมาะสมในในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนแก่ชุมชนต่อไป

ติดตามข้อมูลข่าวสาร D community ได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/GoodforCommunity

You tube : https://www.youtube.com/@dcommunity2023

HTML::image(