จัดการระบบคูลลิ่งในดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยระบบมอนิเตอร์ไอที โดย เฟลิกซ์ เบิร์นดท์ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Paessler

11 Sep 2023

ในโลกที่มีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้หรือการสร้างข้อมูล การใช้ข้อมูล ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถูกเร่งด้วยการใช้เทคโนโลยี เช่น 5G, AI และIoT และไลฟ์สไตล์ดิจิทัลที่เกิดจาก การทำงานแบบไฮบริด การทำงานระยะไกล การช็อปปิ้งออนไลน์ และดิจิทัลคอนเท้นท์ ทำให้ข้อมูลดิจิทัล เติบโตอย่างรวดเร็วใน ดาต้าเซ็นเตอร์

จัดการระบบคูลลิ่งในดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยระบบมอนิเตอร์ไอที โดย เฟลิกซ์ เบิร์นดท์ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Paessler

ผลการสำรวจของ Paessler AG ระบุว่า 53% ของธุรกิจในไทยจัดลำดับการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันมีความ สำคัญสูงสุดในปี 2566 ดาต้าเซ็นเตอร์กำลังกลายเป็นภารกิจที่สำคัญของการจัดการไอที และเกี่ยวโยงกับ ความสำเร็จในการจัดการไอทีของทุกองค์กร Statista บริษัทวิจัยชั้นนำของยุโรปให้ข้อมูลว่า การจัดเก็บข้อมูล ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การสร้าง การคัดลอก การบันทึก และการบริโภคข้อมูลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 59 เซ็ตตาไบต์ (ZB) ในปี 2563 เป็นประมาณ 149 ZB ในปี 2567

การเติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาคอาเซียน ส่งผลให้การลงทุนและการแข่งขันในธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น กูเกิล, เฟซบุ๊ก, อเมซอน และไมโครซอฟท์ ที่ขยายธุรกิจ ดาต้าเซ็นเตอร์สู่ภูมิภาคนี้อย่างรวดเร็ว ทำให้อาเซียนกลายเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์เติบโต เร็วมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

มาตรวัดด้านความยั่งยืน

จากการวิจัยของเราพบว่า 48% ของธุรกิจ ในไทยคือ มีกลยุทธ์ไอทีในด้านความยั่งยืน และปัจจุบันกำลังดำเนิน การด้านนี้อยู่ โดยดาต้าเซ็นเตอร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ดังกล่าว ขณะที่การประ มวลผลการจัดเก็บ และการจัดการข้อมูลเป็นงานที่ใช้พลังงานสูงมาก และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของดาต้าเซ็นเตอร์กลายเป็น ความท้าทายของธุรกิจในการบริหารจัดการพลังงานและความยั่งยืน

แต่ดาต้าเซ็นเตอร์ และผู้ให้บริการโคโลเคชั่น มีกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจควบคู่ไปกับการบริหารจัดการ พลังงาน และความยั่งยืนหรือไม่? สามารถวัดผลได้จริงไหม? มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการ ทำงานหรือเปล่า? ในการดำเนินงานนั้น มีมาตรการด้านความยั่งยืนไหม? เหล่านี้เป็นคำถามสำคัญ ที่ต้องนำมาพิจารณา

จัดการกับการระบายพลังงาน

หนึ่งในสองปัจจัยหลักที่ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีการใช้พลังงานมาก คือ อุปกรณ์ไอทีภายในดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งใน ดาต้าเซ็นเตอร์แต่ละแห่งมีอุปกรณ์ไอทีจำนวนมาก และกินไฟสูง ไม่ว่าจะเป็น เซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บ ข้อมูล ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เพาเวอร์ซัพพลาย ระบบสำรองไฟ ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ถูกจัดวางในพื้นที่จำกัด และต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมงตลอด 7 วันเพื่อประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำให้ เกิดความร้อนสูงมาก และเพื่อป้องกันความร้อนสูงที่เกินไปจนก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ต่างๆ ดาต้าเซ็นเตอร์จึงจำเป็น ต้องมีระบบทำความเย็น เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา

ทั้งสองประการข้างต้นทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์เป็นธุรกิจที่ใช้พลังงานสูงมาก ปัจจุบันจึงมีกลยุทธ์เพื่อควบคุมการใช้ พลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมลดการพึ่งพาระบบทำความเย็น ซึ่งจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า 82% ของดาต้าเซ็นเตอร์ในอาเซียน มีการกำหนดกลยุทธ์ด้านไอทีเพื่อความยั่งยืน

หนึ่งในผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์กำหนดกลยุทธ์โดยการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์บนภูเขาสูงเพื่อใช้ประโยชน์จากอุณหภูมิที่เย็น หรือตัวอย่างของไมโครซอฟท์ ที่กำลังทดลองติดตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ใต้น้ำนอกชายฝั่งหมู่เกาะ ออร์กนีย์ของสกอตแลนด์ ในโพรเจกต์ 'Natick' อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ในอาเซียนเป็นเขตร้อน จึงต้อง อาศัยระบบทำความเย็น การใช้น้ำเข้ามาช่วยในระบบเพื่อลดอุณหภูมิ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลด อุณหภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การติดตามตรวจสอบเพื่อลดการใช้พลังงาน

บริษัทส่วนใหญ่มากกว่า 90% ของธุรกิจ ในอาเซียนเห็นประโยชน์ของการมอนิเตอร์โครงสร้างพื้นฐานไอที แบบเรียลไทม์ ขณะที่ 95% ของธุรกิจ ในไทยเห็นว่าการมอนิเตอร์ระบบไอที มีประโยชน์ต่อใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพสุงสุด การประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ อยู่ที่ความสามารถ ในการวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพื่อให้สามารถติดตามข้อมูลพื้นฐาน ความคืบหน้าและระบุถึงโอกาส ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานได้

หนึ่งในวิธีตรวจจับการใช้พลังงานคือ การวัดการใช้พลังงานที่หน่วยจ่ายไฟฟ้า (PDU : Power Distribution Unit) ที่ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟไปยังอุปกรณ์ในดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่ง PDU ขั้นสูงจะมีฟังก์ชัน การตรวจสอบระยะไกล เพื่อให้สามารถติดตาม บันทึก และตรวจสอบข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ เช่น การใช้ พลังงาน การจ่ายไฟ ค่าความผันผวน เวลาทำงาน โหลดของอุปกรณ์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับโซลูชันการ ตรวจสอบที่วัดค่าได้ จะช่วยให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีภาพรวมการใช้พลังงานทั้งหมดแบบเรียลไทม์ และยังสามารถตรวจสอบ องค์ประกอบทั้งหมดของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างครอบคลุม รวมถึงระบบระบายความร้อนและพลังงานตาม ส่วนต่างๆ

โดยรวมแล้วการรวมประสิทธิภาพของ PDU เข้ากับโซลูชันการตรวจสอบแบบองค์รวม ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์ สามารถตรวจสอบและประเมินผลการใช้พลังงาน ระบุความผิดปกติ แนวโน้ม ที่ช่วยให้สามารถปรับปรุง วางแผนการใช้พลังงานได้อย่างชาญฉลาด เพื่อจัดการการใช้พลังงานโดยรวม และช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน ให้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

การจัดการการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนคือ อนาคตของอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ แต่ยังมีความท้าทายอีกหลาย ประการที่มีความสำคัญ เช่น การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ความสมดุลของต้นทุนและประสิทธิภาพ ของไอที การจัดการกำลังการผลิต การบริหารต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น และความกังวลด้าน ความปลอดภัย รวมถึงการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นและความยั่งยืน ที่มีการทำงานแบบไซโล ในสถานการณ์เช่นนี้ การทำธุรกิจด้านดาต้าเซ็นเตอร์ ถูกคาดหวังมากขึ้นให้ดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม คณะบุคคล รัฐบาล บริษัท หรืออุตสาหกรรมไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องอาศัยการบูรณาการแบบ องค์รวม และความร่วมมือจากทุกฝ่าย