การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 31 ของสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก (FISU) กำลังดำเนินอยู่อย่างดุเดือดท่ามกลางฤดูร้อน โดยคณะกรรมการบริหารการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 31 ของสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก เปิดเผยว่า การแข่งขันนี้มีนักกีฬาเยาวชน 6,500 คนจาก 113 ประเทศและภูมิภาครวมตัวกันที่เมืองเฉิงตู เพื่อประชันความสามารถและความสง่างามของนักศึกษายุคใหม่ให้ชาวโลกได้เห็นกัน
ตลาดวัฒนธรรมในหมู่บ้านมหาวิทยาลัยเฉิงตูเติมเต็มสีสันยามค่ำคืนด้วยเกมปาเป้าลงกระบอก (Pitch Pot) กีฬาจีนโบราณอย่างชวี่จวี (Cuju) และผ้าทอ เปิดโอกาสให้นักกีฬามหาวิทยาลัยจากทั่วโลกได้โต้ตอบกันด้วยความสนใจ พร้อมแลกเปลี่ยน และแบ่งปันความสุข
อิซา (Isa) นักกีฬาวัย 25 ปี จากลิเบีย กล่าวว่า "ลูกบอลเบามาก เล่นสนุกมาก" ทั้งยังได้สัมผัสกับกีฬาชวี่จวีและเรียนรู้วิธีการเล่นได้อย่างรวดเร็ว โดยนักยูโดรุ่นน้ำหนัก 60 กก. รายนี้ ยิงลูกไม้ไผ่เข้าช่องตาข่ายได้อย่างแล่นฉิว พร้อมทักทายนักกีฬาอิตาลีและจีนที่ผ่านไปมาอย่างอบอุ่น และชวนเล่นชวี่จวีด้วยกัน ด้านคนหนุ่มสาวจากต่างประเทศที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อนก็ได้รวมตัวกันและสนุกสนานไปด้วยกัน
นับตั้งแต่เปิดฉากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่เฉิงตู หมู่บ้านแห่งนี้ก็เต็มไปด้วยนักกีฬามหาวิทยาลัยที่มีสีผิว สัญชาติ และภาษาต่างกัน โดยในระหว่างการแข่งขันครั้งนี้ พวกเขาได้พบและรู้จักกัน เฉิงตูได้ทำให้ฝันเป็นจริง และพร้อมเป็นแหล่งรวมตัวของเยาวชนทั่วโลกที่มุ่งคว้าความเป็นเลิศในแวดวงกีฬาและทำตามความฝัน
ลีออนซ์ อีเดอร์ (Leonz Eder) รักษาการประธานสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก ได้กล่าวขอบคุณจีนที่รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันได้อย่างเรียบง่าย ปลอดภัย และยอดเยี่ยม ตามคำมั่นสัญญาในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกในเฉิงตูอย่างราบรื่น โดยกล่าวว่า "หลังจากเผชิญกับโรคระบาดมายาวนานซึ่งทำให้เราพบกันได้แค่ทางออนไลน์เท่านั้น บัดนี้เราก็ได้มาอยู่ที่หมู่บ้านนักกีฬามหาวิทยาลัยโลกอีกครั้งเป็นเวลา 10 ถึง 12 วัน เรามีความยินดีที่มีผู้แทนจาก 113 ประเทศและดินแดนมารวมตัวกันอีกครั้ง และใช้โอกาสหลังจบเกมเพื่อสร้างเครือข่ายซึ่งกันและกัน" ซึ่งในสายตาของคุณอีเดอร์ นี่คือเสน่ห์ของการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก
การผนึกกำลังระหว่างจีน สหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก และคณะผู้แทนจากประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่เฉิงตูกลายเป็นงานกีฬาระดับนานาชาติที่มีลักษณะเฉพาะของจีน แฝงไปด้วยจิตวิญญาณของยุคสมัย และสไตล์ของเยาวชน โดยในการแข่งขันนี้ สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน เช่น นกกินปลีและแพนด้าดึงดูดนักกีฬาเยาวชนจากทั่วทุกมุมโลกได้อย่างมาก
ซู หยุนเจ๋อ (Su Yunzhe) ผู้ถือคบเพลิงจากอิตาลี ได้จุดคบเพลิงนกกินปลีในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก เขากล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า นกกินปลีเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นจิตวิญญาณของชาวจีนในเรื่องความสามัคคี ความอดทน และการแสวงหาแสงสว่างตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ความหวัง และความโชคดี "ผมเชื่อว่าความหมายของการเป็นผู้ถือคบเพลิงไม่ได้เป็นเพียงการส่งต่อคบเพลิงเท่านั้น แต่เป็นการถ่ายทอดทางจิตวิญญาณมากกว่า ทั้งยังเป็นการถ่ายทอดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มิตรภาพ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมด้วย"
การแข่งขันนี้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนอกสนามเกิดขึ้นทุกวัน โดยมีการจัด "นิทรรศการเฉิงตู ไบเอนเนียล 2023" (2023 Chengdu Biennial Exhibition) ขึ้นที่สวนศิลปะเทียนฝู เพื่อจัดแสดงผลงาน 476 ชิ้นโดยศิลปิน 235 คนจาก 22 ประเทศและภูมิภาค ซึ่งดึงดูดผู้ชมชาวจีนและชาวต่างชาติได้เป็นจำนวนมาก
นยาชน คูชัล (Nyachon Kushal) นักกีฬาชาวเนปาล กล่าวว่า "ความเสมอภาคและการไม่แบ่งแยกจะทำให้โลกมีสีสัน เมื่อรวมพลังกันแล้ว เราก็จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าได้" โดยแม้เธอจะแพ้การแข่งขันปิงปอง แต่เธอก็ได้พบกับแพนด้ายักษ์อันเป็นที่รักของผู้คนทั่วโลกในเฉิงตู นักกีฬาต่างชาติหลายคนยังได้แบ่งปันความสุขที่ได้เห็นแพนด้าในบ้านเกิดของแพนด้ายักษ์อย่างเมืองเฉิงตูด้วย
อารยธรรมเป็นสิ่งที่ลุ่มลึกด้วยการแลกเปลี่ยน และวัฒนธรรมลุ่มลึกด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน โดยนักศึกษาที่มีสีผิว เชื้อชาติ และภาษาต่างกัน ได้มาพบกันในเฉิงตู เพื่อดูความสามัคคีและความหลากหลายจากมุมมองของความเสมอภาค ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และความเป็นพี่น้องกัน เพื่อชื่นชมและเรียนรู้จากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พร้อมส่งเสริมสันติภาพและความก้าวหน้าของโลกด้วยพลังของคนรุ่นใหม่
ที่มา: คณะกรรมการบริหารการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 31 ของสหพันธ์กีฬามหาวิทยาลัยโลก
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit