สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology: AIT) โดย Prof. Kazuo Yamamoto และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดย นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านการยกระดับการเพิ่มผลิตภาพและการขยายฐานการเข้าถึงห้องปฏิบัติการต่างๆ ภายใต้ AIT สำหรับองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ ในกลุ่มการเกษตร กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มการค้าและบริการ ที่ให้ความสำคัญสำหรับพัฒนาการจัดการองค์กรควบคู่ไปกับการสร้างผลลัพธ์องค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตามที่ได้กำหนดไว้เป็นเป้าหมายสู่องค์กรสร้างผลิตภาพและความยั่งยืน
Prof. Kazuo Yamamoto อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT ได้กล่าวถึงการขยายโอกาสภายใต้ความร่วมมือกับในครั้งนี้ว่า เอไอทีและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจะสามารถนำมาซึ่งความร่วมกันพัฒนาศักยภาพกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน โดยเอไอทีเตรียมความพร้อมด้านการจัดฝึกอบรม รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ (Site visit) ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น จัดอบรมหลักสูตรเรียนรู้ โครงการความร่วมมือ หรือการให้บริการด้านงานวิจัย การจัดกิจกรรมเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการเสริมประสบการณ์และทักษะเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจ โดยใช้ห้องปฏิบัติการของ AIT ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคคลที่ก้าวเข้าสู่องค์กรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญ คือ การร่วมมือกันสนับสนุนด้านงานวิจัย และนำผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัวในปัจจุบัน ซึ่ง AIT ผลักดันให้เกิดการใช้ห้องปฏิบัติการที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเครือข่ายร่วมกันระหว่างองค์กร บุคลากร และศิษย์เก่า/สมาชิก โดยขยายขอบเขตการให้บริการของทั้งสององค์กรควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีในการร่วมมือกันใช้ความเชี่ยวชาญของทั้งสององค์กร สร้างแรงผลักดันในแต่ละอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้ยกระดับ และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณค่าสู่การพัฒนาทักษะบุคลากรสำหรับอนาคต
ด้าน นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้กล่าวถึง ความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กรรัฐ-เอกชน ทั้งในส่วนอุตสาหกรรมผลิต การค้า การบริการ ทุกๆ ขนาด รวมไปถึงความหลากหลายของสถานประกอบการในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับการรักษามาตรฐานระดับนานาชาติ ผ่านการควบคุมทางการค้าสร้างการยอมรับ พร้อมทั้งการสร้างความมั่นใจ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างโอกาสทางธุรกิจ จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของทั้งสององค์กร เพื่อการส่งเสริมการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคคล และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของการศึกษาเชิงปฏิบัติการและการปฏิบัติการด้วยธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน เพื่อการพัฒนาหลักสูตรปฏิบัติการโดยใช้ทรัพยากรของทั้งสององค์กรโดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมุ่งสู่สุขภาวะของกลุ่มเป้าหมายสูงสุด และเพื่อพัฒนาเนื้อหาและกลยุทธ์การสื่อสารสำหรับการส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ เข้าถึงและขยายฐานการให้บริการของทั้งสององค์กรในรูปแบบ School of Practice สำหรับการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้และการปฏิบัติเข้าสู่สังคม อย่างไรก็ตาม ในความร่วมมือกันนี้ จะเป็นการกระตุ้นการก้าวไปข้างหน้า ผ่านการส่งเสริมให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับศักยภาพในทุกองค์กรของประเทศไทย ด้วยผสานความแข็งแกร่งของ FTPI กับ AIT โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาการเพิ่มผลิตภาพสู่การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของทุกภาคส่วนในการรวมพลังขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตต่อไป
ในก้าวแรกหลังความร่วมมือนี้ จะเป็นการพัฒนาหลักสูตรปฏิบัติการ ที่มุ่งเน้นการสร้างกระบวนการคิดด้วยความเข้าใจในองค์ประกอบสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างมีความเข้มข้นตามมาตรฐานการจัดการที่มีข้อกำหนดไว้ และสร้างการเข้าถึงการบริการของห้องปฏิบัติการ NATS LAB ที่อยู่ภายใต้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ ที่มีความพร้อมให้บริการด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีเครื่องมือที่ทันสมัยตามมาตรฐานสากลISO/IEC 17025 : 2017 โดย NATS LAB สามารถให้บริการตรวจวิเคราะห์ ทดสอบพารามิเตอร์ ทดสอบตัวอย่างหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ตัวอย่างน้ำเสียชุมชนที่มีความเข้มข้นต่ำไปจนถึง น้ำเสีย ตัวอย่างกากตะกอนจากระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลที่มีความเข้มข้นสูง เป็นต้น นอกจากนี้ NATS LAB ยังสามารถทดสอบวิเคราะห์ทางกายภาพต่างๆ ตรวจวิเคราะห์ทางเคมี ตรวจวิเคราะห์จุลชีววิทยา ตรวจวิเคราะห์ภาคสนาม โดยทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงให้บริการด้านการฝึกอบรมระยะสั้น และระยะยาวเกี่ยวกับเทคนิคการวิเคราะห์ตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง การทดสอบตัวอย่าง การคำนวณผลการทดสอบ และการรายงานผลการทดสอบได้ถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ให้แก่องค์กรภาครัฐ และเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
HTML::image(