โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จัดประชุมวิชาการโภชนาการกับโรคมะเร็ง Nutrition and Cancer โดยการรวบรวมองค์ความรู้ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สู่การปฏิบัติที่หวังผลได้ทางคลินิก

28 Aug 2023

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยหน่วยโภชนบริการ ร่วมกับ สำนักวิชาการ จัดการประชุมวิชาการโภชนาการกับโรคมะเร็ง (Nutrition and Cancer) ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ผ่านระบบสื่อสารทางไกล Zoom มีวัตถุประสงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการใช้ความรู้ด้านโภชนาการเพื่อการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยการรวบรวมองค์ความรู้ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สู่การปฏิบัติที่หวังผลได้ทางคลินิก ในการประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้มีการรวบรวมองค์ความรู้พื้นฐานที่เป็นปัจจุบันอธิบายหลักการการเกิดมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จัดประชุมวิชาการโภชนาการกับโรคมะเร็ง Nutrition and Cancer โดยการรวบรวมองค์ความรู้ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สู่การปฏิบัติที่หวังผลได้ทางคลินิก
  • ชีวเคมี ความเครียดและการเกิดภาวะอักเสบที่กระตุ้นให้ดีเอ็นเอ (DNA) โปรตีน และเยื่อหุ้มเซลล์ในร่างกายอักเสบและเสียหาย ส่งผลให้เกิดสารก่อมะเร็งบรรยายโดย ดร.แพรว จันทรศิลปิน อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • การใช้อาหารและสารอาหารเฉพาะเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • องค์ความรู้การใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อเสริมสุขภาพ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งบางชนิด บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานต์สุดา วันจันทึก อาจารย์ประจำหลักสูตร อาหารโภชนาการ และการกำหนดอาหาร ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สรุปการใช้สารอาหารกลุ่มที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน (Immunonutrition) ในผู้ป่วยมะเร็ง บรรยายโดย พ.อ.หญิง สิรกานต์ เตชะวณิช หัวหน้าแผนกโภชนศาสตร์คลินิก กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ความรู้ความเข้าใจด้านโภชนพันธุศาสตร์ (Nutrigenomics) ต่อสุขภาพมนุษย์ บรรยายโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.รังสรรค์ ตั้งตรงจิตร ภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภาวะโรคอ้วน ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง การกลับมาเป็นซ้ำ และอัตราการรอดชีวิต บรรยายโดย ผศ.ดร.พญ.กุสุมา ไชยสูตร อาจารย์แพทย์ สาขาวิชาโภชนาการคลินิกภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ความเปลี่ยนแปลงการรับรู้รสชาติในผู้ป่วยมะเร็ง ในแง่มุมด้านการใช้อาหารและยาประกอบการรักษา บรรยายโดย เภสัชกรจิตติพล ตันติวิท และ ดร.วัชรพล ขุนอินทร์ นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
  • สรุปคำแนะนำการรักษาทางคลินิก การใช้โภชนบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง เทรนด์การรับประทานอาหารในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งและความเข้าใจที่ถูกต้อง บรรยายโดย พญ.มรกต สุวรรณการ หัวหน้าหน่วยโภชนบริการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และ นางสาวสุภานันท์ มากรัมย์ นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
  • การให้อาหารทางทางเดินอาหารปกติและทางหลอดเลือดดำ และการลดหรือบรรเทาการอักเสบในโรคมะเร็ง บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • การประเมินภาวะโภชนาการและการดำเนินการต่อไปเพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักกำหนดอาหารสถาบันมะเร็ง ได้แก่ นางสาวสุมาลี นุชิต นายณัฐฐศรัณฐ์ วงศ์เตชะ และ นางสาวเพียงพิศ กมลผัน นางสาวสุญาดา สุขโข นักกำหนดอาหารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ดำเนินการสัมภาษณ์โดย ดร. วัชรพล ขุนอินทร์
  • บทบาทของการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำในกรณีผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการผ่าตัด บรรยายโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วรุตม์ โล่ห์สิริวัฒน์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • การดูแลโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งเด็ก บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร. พญ.ศิรินุช ชมโท คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิทยาศาสตร์การใช้กายภาพบำบัดและการให้สารอาหารเพื่อกระตุ้นความแข็งแรงและส่งเสริมการฟื้นตัวที่ดีในผู้ป่วยมะเร็ง บรรยายโดย กภ.ดร.นิดา รัตนครอง นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และ นางสาวญานี พุ่มเจริญ นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
  • กรณีศึกษา การให้โภชนบำบัดตลอดช่วงการรักษาผู้ป่วยมะเร็งซึ่งมีแนวโน้มจะมีภาวะทุพโภชนาการ และกำลังเข้ารับการผ่าตัด แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดย นพ.จตุพร ผู้พัฒน์ น.อ.หญิง บุชชา พราหมณสุทธิ์ และนางสาวภัคธีมา ภู่ทอง นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ดำเนินการสัมภาษณ์โดย พล.อ.ต.นพ.วิบูลย์ ตระกูลฮุน

การจัดการประชุมภายใน 2 วันนี้ถือว่าเป็นการรวบรวมสรุปองค์ความรู้อย่างสมบูรณ์ บนพื้นฐานข้อมูลคลินิกและวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ที่เป็นปัจจุบัน และได้มานำเสนอเพื่อให้แพทย์ พยาบาล นักกำหนดอาหาร ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานในสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์จะได้นำไปประยุกต์ใช้ได้จริงด้วยความเข้าใจ เปิดเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในความเข้าใจทฤษฎีและการปฏิบัติในทุกหัวข้อที่บรรยาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังบรรยายทั้งในสถานที่จัดงาน และในระบบออนไลน์จะสามารถเข้าใจได้อย่างมากที่สุด สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความสำเร็จในการรักษามะเร็งที่หวังผลได้ทางคลินิก และที่สำคัญ คือ ประโยชน์สูงสุดของการรักษาต่อผู้ป่วยมะเร็งทุกราย

HTML::image(