"หัวเว่ย" โชว์โซลูชันตรวจจับระยะรอบรางรถไฟอัจฉริยะ ที่งานประชุมรถไฟความเร็วสูง ยูไอซี เวิลด์ คองเกรส ครั้งที่ 11

13 Mar 2023

หัวเว่ย (Huawei) เปิดตัวโซลูชันตรวจจับระยะรอบรางรถไฟอัจฉริยะ (Smart Railway Perimeter Detection Solution) ในงานประชุมรถไฟความเร็วสูง ยูไอซี เวิลด์ (UIC World Congress on High-Speed Rail) ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นในโมร็อกโกระหว่างวันที่ 7 ถึง 10 มีนาคม 2566 ในงานนี้ บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่รายนี้ยังได้จัดแสดงโซลูชันเชิงนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ระดับเรือธงสำหรับอุตสาหกรรมระบบราง รวมถึงระบบสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับระบบรางแห่งอนาคต (Future Railway Mobile Communication System หรือ FRMCS) เครือข่ายสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายสื่อสารระบบนำแสง โดยหัวเว่ยมุ่งสร้างระบบรางที่มีการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์ เพื่อเอื้อให้อุตสาหกรรมพัฒนาอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และอัจฉริยะ ประกอบกับส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล

"หัวเว่ย" โชว์โซลูชันตรวจจับระยะรอบรางรถไฟอัจฉริยะ ที่งานประชุมรถไฟความเร็วสูง ยูไอซี เวิลด์ คองเกรส ครั้งที่ 11

คุณหลี่ จุนเฟิง (Li Junfeng) รองประธานหัวเว่ย และซีอีโอหน่วยธุรกิจการบินและระบบราง (Aviation & Rail BU) ได้กล่าวบรรยายเปิดว่า การพัฒนาระบบรางความเร็วสูงในอนาคตต้องใช้ระบบสื่อสารไร้สายที่มีแบนด์วิดท์ส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้น เพื่อให้เดินรถไฟได้อย่างปลอดภัย แพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์และการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้จะทำให้อุตสาหกรรมดิจิทัลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นได้จริง ในแง่นี้ โซลูชันระบบสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับระบบรางแห่งอนาคตของหัวเว่ยซึ่งใช้เทคโนโลยีสื่อสาร LTE สามารถรองรับบริการใหม่ ๆ ได้มากขึ้น โดยเพียงแค่อัปเกรดซอฟต์แวร์ ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุนของโครงการระบบรางได้อย่างมากแล้ว ยังสอดรับการความต้องการของการพัฒนาระบบรางดิจิทัลด้วย ส่วนในแง่ของความปลอดภัยนั้น หัวเว่ยบูรณาการเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ากับสภาวการณ์ต่าง ๆ ของบริการอยู่เสมอ โซลูชันตรวจจับระยะรอบรางรถไฟอัจฉริยะของหัวเว่ยมอบความปลอดภัยบริเวณข้างรางตลอดเวลาในทุกสภาพอากาศ

ในการประชุมของหัวเว่ย คุณกู้ ยุนป๋อ (Gu Yunbo) ประธานแผนกธุรกิจระบบนำแสงสำหรับองค์กร (Enterprise Optical Business Domain) ของหัวเว่ย นำเสนอโซลูชันตรวจจับระยะรอบรางรถไฟอัจฉริยะดังกล่าวนี้ โดยอธิบายว่าโซลูชันนี้อาศัยสถาปัตยกรรมทัศนวิสัยระบบนำแสงแบบผนวกรวม ซึ่งเอื้อให้มีการตรวจจับการสั่นสะเทือนของใยแก้วไฟเบอร์ควบคู่กับการวิเคราะห์ เพื่อปกป้องระยะรอบรางรถไฟด้วยการรับรู้หลายมิติและความแม่นยำสูง โซลูชันดังกล่าวนี้แก้ปัญหาความแม่นยำต่ำที่มีในโซลูชันตรวจจับระยะรอบรางรถไฟแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดการแจ้งเตือนตกหล่น และมีการส่งสัญญาณหลอกน้อยครั้ง ทำให้แน่ใจว่าการเดินรถไฟเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ขณะนี้ทั่วโลกกำลังสร้างระบบรางความเร็วสูงมากขึ้น พร้อมทั้งอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและอัจฉริยะ อุตสาหกรรมระบบรางจึงต้องการระบบสื่อสารผ่านเครือข่ายด้วยแบนด์วิดท์การส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้นและความหน่วงต่ำลง เพื่อรองรับบริการใหม่ ๆ

"โซลูชันระบบสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับระบบรางแห่งอนาคตที่ใช้เทคโนโลยี LTE ของหัวเว่ย มีระบบนิเวศที่อยู่ตัวด้วยมาตรฐาน 3GPP และเทคโนโลยีบรอดแบนด์ที่เอื้อให้เกิดบริการอัจฉริยะเพิ่มขึ้น โดยประสบการณ์ในด้านระบบไร้สายทำให้หัวเว่ยสร้างเครือข่ายระบบการสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับระบบรางแห่งอนาคตสมรรถนะสูงสำหรับลูกค้าได้ ซึ่งสอดรับกับความต้องการในการพัฒนาเชิงดิจิทัลของระบบราง" คุณเหลียง เจี๋ยเว่ย (Liang Jiawei) ผู้อำนวยการแผนกโซลูชันไร้สายประจำหน่วยธุรกิจการบินและระบบรางของหัวเว่ย กล่าว

คุณหลู่ เหลียง (Lv Liang) ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชันการคมนาคม ประจำไลน์ผลิตภัณฑ์สื่อสารข้อมูล (Data Communication Product Line) ของหัวเว่ย ชี้ว่า โซลูชันระบบการสื่อสารเคลื่อนที่สำหรับระบบรางแห่งอนาคตของหัวเว่ย ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี IPv6+ ในการสร้างสมรรถนะช่องสัญญาณแบบผนวกรวมที่มาพร้อมกับความเชื่อถือได้สูง การติดตั้งใช้งานง่าย การบำรุงรักษาและปฏิบัติการ (O&M) อัจฉริยะ และการพัฒนาที่ราบรื่น โซลูชันดังกล่าวนี้รองรับบริการหลายประเภทได้อย่างมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ อย่างเช่นการสื่อสารด้วยเสียงและการส่งสัญญาณ พร้อมทั้งทำให้แน่ใจว่าการเดินรถไฟเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีเสถียรภาพ

หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำระดับโลก โดยอยู่ในอุตสาหกรรมระบบรางมาเป็นเวลา 27 ปี และให้บริการระบบรางรวมกว่า 150,000 กิโลเมตรทั่วโลก ซึ่งในภายภาคหน้า หัวเว่ยจะทำงานต่อไปร่วมกับลูกค้าและคู่ค้าในอีโคซิสเต็ม เพื่อสำรวจมาตรฐานของอุตสาหกรรม พร้อมสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมประโยชน์ของแต่ละฝ่าย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางอัจฉริยะร่วมกัน

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2030492/PIC.jpg