อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ฯ ร่วมกับ กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหอการค้าแห่งประเทศไทย เตรียมความพร้อมจัดงาน "Jewellery & Gem ASEAN Bangkok" (JGAB) ครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 26 - 29 เมษายน 2566 ณ Hall 1-2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ด้วยแนวโน้มตลาดอัญมณี และเครื่องประดับที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศไทยที่เป็นศูนย์กลางการผลิต และการค้าอัญมณี และเครื่องประดับของโลกด้วยความสามารถของช่างฝีมือไทย ในปี 65 ที่ผ่านมาสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าที่มียอดสูงสุดเป็น อันดับ 3 ของไทย มีมูลค่าส่งออก (รวมทองคำไม่ขึ้นรูป) กว่า 517,607.97 ล้านบาท ขยายตัว 62.83 % คาดงาน JGAB จะเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของผู้ค้า อัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลกทั้งกลุ่มผู้ซื้อ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่ง ผู้ผลิต รวมถึงนักออกแบบจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีงานสัมมนาในแพลตฟอร์มเดียวเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานมั่นใจว่าจะได้รับประสบการณ์ที่มีประโยชน์สูงสุด
นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังเปิดประเทศอย่างเต็มตัว ทำให้นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาปี 65 ทำให้ธุรกิจงานแสดงสินค้าเริ่มกลับมาจัดได้อย่างเป็นปกติขึ้น ที่ผ่านมาเรามีการจัดงานทั้งหมด 14 งาน เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจ การจัดงานแสดงสินค้า พร้อมทั้งเตรียมความพร้อม และส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ กลับมาเติบโตได้อีกครั้งอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการดึงงานใหญ่ระดับโลก มาจัดที่ไทยเป็นครั้งแรก และบรรจุ เข้าเป็นงานที่จัดขึ้นประจำทุกปีของบริษัทฯ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พอร์ตการจัดงาน อาทิ งาน Cosmoprof CBE ASEAN งานแสดงสินค้าเพื่อธุรกิจความงาม ที่จัดแสดงมาแล้วทั่วโลกทั้งอิตาลี ฮ่องกง อินเดีย และสหรัฐอเมริกา และ Jewellery and Gem ASEAN Bangkok งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับแห่งภูมิภาคอาเซียน มาจัดขึ้นที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรกเช่นกัน
สำหรับปี 2566 นั้น อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย มีการเดินหน้าเตรียมพร้อมจัดงานแสดงสินค้าไว้มากถึง 16 งาน โดยทั้งหมดเป็นงานแสดงสินค้า สำหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม (Trade Exhibition) กลุ่มเป้าหมายคือนักธุรกิจและภาครัฐ (B2B และ G2G) ทั้งไทย และต่างประเทศ ซึ่งทุกงานล้วนมีมูลค่าสูงทั้งในด้าน การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ที่ช่วยสร้างมูลค่า รายได้และความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
โดยงานที่เป็นไฮไลท์สำคัญสำหรับปี 2566 นั้น คือ การดึงเอางานใหญ่ระดับโลก ของอุตสาหกรรมเครื่องประดับอย่างงาน Jewellery and Gem ASEAN Bangkok งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับแห่งภูมิภาคอาเซียน มาจัดขึ้นที่ประเทศไทย โดยได้ร่วมมือกับ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ เอเชีย ผู้จัดงานอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
นางสาวอนุชนา วิชเวช ผู้อำนวยการโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวถึงงาน "Jewellery & Gem ASEAN Bangkok" (JGAB) ว่า Informa Markets Jewellery เป็นผู้จัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นผู้ขับเคลื่อนตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ ภาคธุรกิจอันดับ 1 ในวงการ พร้อมที่จะจัดงาน "Jewellery & Gem ASEAN Bangkok" (JGAB) ครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 26 - 29 เมษายน 2566 ณ Hall 1-2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และได้รับการสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้จากกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บนเนื้อที่กว่า 10,000 ตารางเมตร งานนี้เป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก โดย Informa Markets Jewellery เป็นผู้จัดงาน Jewellery & Gem WORLD Hong Kong งานแสดงสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมนำประสบการณ์การจัดหาผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลกมาจัดงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
งาน "Jewellery & Gem ASEAN Bangkok" (JGAB) ครั้งนี้ จะเป็นการยกระดับงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ให้เป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณี และเครื่องประดับที่สำคัญที่สุดในโลก และมุ่งสู่การเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของการเจียระไน พลอยสี และการออกแบบเครื่องประดับชั้นนำของภูมิภาคอีกด้วย
ด้วยความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และการจัดรวมทุกสิ่งมาไว้อยู่ในพื้นที่เดียว จึงทำให้ JGAB เป็นอีกหนึ่งงานที่จะสามารถดึงดูดผู้ร่วมจัดแสดง ทั้งชาวไทย และต่างประเทศ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องประดับสำเร็จรูป, พลอยหัวแหวน, งานบรรจุภัณฑ์, เครื่องมือ, อุปกรณ์การผลิต และการบริการด้านอัญมณีและเครื่องประดับมารวมกันในงาน และผู้ร่วมจัดแสดงยังสามารถนำอัญมณีและเครื่องประดับจากประเทศต่างๆ มาจัดแสดงได้โดยไม่มีภาษีนำเข้า
ทางด้าน นายวิบูลย์ หงษ์ศรีจินดา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งาน JGAB 2023 ครั้งนี้จะเป็นงานแสดงสินค้าที่มีแนวโน้มที่ดี เพราะจัดงานโดยภาคเอกชนที่มีความเป็นอาชีพ มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดงานแสดงสินค้า และมีความเข้าใจในธุรกิจอัญมณี และเครื่องประดับเป็นอย่างดี รวมถึงประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบในการเดินทางมาเจรจาธุรกิจ เพราะมีค่าครองชีพที่ไม่แพง มีอาหารอร่อย และมีสถานที่ท่องเที่ยว ที่เป็นที่สนใจของทั่วโลก และหากมีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับหลากหลายงานจะส่งผลดีกับการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยอย่างแท้จริง
ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านมา สินค้าอัญมณี และเครื่องประดับ เป็นสินค้าที่มียอดสูงสุดเป็น อันดับ 3 ของไทย โดยมีมูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (รวมทองคำไม่ขึ้นรูป) 517,607.97 ล้านบาท ขยายตัว 62.83 % หากไม่รวมทองคำไม่ขึ้นรูป สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่าส่งออกถึง 279,602.63 ล้านบาท ขยายตัว 43.42 % และคาดว่าในปี 2566 จะสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 10-15% เพราะประเทศไทยยังเป็นแหล่งที่ผู้ซื้อจากทั่วโลก ยังให้ความสนใจในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะความสามารถของช่างฝีมือไทย
ปัจจุบันประเทศคู่แข่งของไทยในเอเชีย ยังมีปัญหาเศรษฐกิจยังซบเซา ส่งผลให้คู่ค้าทั่วโลกสนใจทำธุรกิจกับประเทศไทยมากขึ้น และหากผู้ประกอบการไทยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ อาทิ อุตสาหกรรมพลอย การแก้ไขการเก็บภาษีนิติบุคคลของพ่อค้าพลอย เป็นแบบภาษีแบบเหมา (Carat Tax) จะทำให้ยอดการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น โดยอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงิน หากรับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบไม่มีเงื่อนไข จะสามารถเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ SMEs เพราะวัตถุดิบเงินถือเป็นโลหะมีค่า มีคุณสมบัติเดียวกับทองคำ หากได้รับการสนับสนุนแล้วจะสามารถเพิ่มยอดส่งออกเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
ด้าน นางประพีร์ สรไกรกิติกูล ที่ปรึกษาสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มอัญมณี เครื่องประดับและโลหะมีค่า กล่าวว่า แนวโน้มตลาดที่สำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ คือ เครื่องประดับเพชร ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มสินค้าเครื่องประดับอันประกอบด้วยเครื่องประดับทอง เงิน พลอย และอื่นๆ แต่เพชรมีสัดส่วนสูงถึง 35% ของมูลค่าเครื่องประดับโลกในปี 2021 รองจากเครื่องประดับทองที่สัดส่วนเกินกว่า 40% โดยมีแนวโน้มที่
สำคัญคือ ค่านิยมด้านความยั่งยืน และจริยธรรมของผู้ประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งมีรายงานระบุว่าเครื่องประดับอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากอาหารและเครื่องนุ่งห่มที่ผู้บริโภคคำนึงถึงปัจจัยความยั่งยืนโดย 30% ของคนรุ่นใหม่ซื้อเครื่องประดับที่ยืนยันว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคมและ ผู้บริโภค 58% ชอบเพชรที่ผลิตโดยรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมโดย 85% ของผู้บริโภคและ 92% ของ Gen 2 ยอมจ่ายเพิ่มกับสินค้าที่ผลิตอย่างรับผิดชอบ
โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เลือกซื้อสินค้ามีแบรนด์ Gen 2 และ Millennials ซึ่งเป็นผู้บริโภคส่วนใหญ่ของสังคมซื้อเครื่องประดับเพชรที่มีแบรนด์ในสัดส่วน 76% และ 72% ตามลำดับ ในขณะที่ Gen X และ Boomers ซื้อเพียง 64% และ 38% แนวโน้มนี้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายใน 7 ปีจาก 2015-2021 จาก 33% เพิ่มขึ้นเป็น 65% ของมูลค่าตลาดโดยรวม
และการจัดจำหน่ายผสมผสานระหว่างออนไลน์และมีหน้าร้านดำเนินต่อไป ลูกค้า 49% จะหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต จากนั้นตัดสินใจซื้อ 30% ผู้ซื้อ 68% โดยยังคงตัดสินใจที่จะซื้อบนออนไลน์ต่อไป และการขายออนไลน์คิดเป็น 25% ผู้เป็นผู้ซื้อเครื่องประดับเพชรครั้งแรก 54% ขณะที่เลือกซื้อที่ร้าน 51% จากนั้นตัดสินใจซื้อ 40% และกลับไปซื้อออนไลน์ 11% และ WEB และ Metaverse เป็นปัจจัยใหม่ที่สำคัญหนุนการตลาด เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่นำพาลูกค้าในโลกดีจิทัล สู่โลกเสมือนจริงในการประชาสัมพันธ์สินค้าและการตลาดเพื่อสนับสนุนการขาย
"จากผลวิจัยแนวโน้มตลาดข้างต้นชี้ชัดถึงทิศทางของการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้กำลังมุ่งไปในทิศทางธุรกิจยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้ค้าปลีกต่างมีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่คู่ค้าและผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อประเด็นนี้อย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน กล่าวคือ ผู้ค้าปลีกต้องสร้างแบรนด์โดยมีปัจจัยด้านความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ขณะที่ ผู้ผลิตเครื่องประดับดำเนินธุรกิจด้วยการรักษาคำมั่นกับคู่ค้าในการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืนสอดคล้องกันกับค่านิยมผู้บริโภค" นางประพีร์ กล่าวสรุปในตอนท้าย
ผู้ที่สนใจลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อเข้าเยี่ยมชมงาน "Jewellery & Gem ASEAN Bangkok" (JGAB) สามารถลงทะเบียนเข้าชมงานพร้อมติดตามข่าวสารและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://jewellerygemaseanbkk.com
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit