บลจ.พรินซิเพิล จัดสัมมนาใหญ่ "Principal Investment Forum 2023" จับทิศทางการลงทุน 2023 ต้อนรับปีกระต่าย มองเป็นปีแห่งโอกาสของสินทรัพย์เสี่ยง หลังการเปลี่ยนทิศทางนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) แนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นเอเชียและหุ้นจีน รับปัจจัยบวกจีนเปิดประเทศเต็มรูปแบบ พร้อมแรงสนับสนุนจากภาคการบริโภคฟื้นตัวต่อเนื่อง
นายศุภกร ตุลยธัญ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนปี 2023 จะเป็น "The Year of the Pivot" คือปีแห่งการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายของธนาคารกลาง โดยคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงแค่ 0.75% ในปีนี้ ซึ่งถือได้ว่าน่าจะเป็นปีที่ดีของสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวมและตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นจีนที่จะได้รับผลบวกจากการหยุดขึ้นดอกเบี้ยของ FED และแนวโน้มอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นแรงหนุนสำคัญต่อตลาดหุ้น Emerging Market ประกอบกับ การเปิดประเทศเต็มรูปแบบของจีน ยิ่งเป็นแรงสนับสนุนให้ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มองว่าอาจไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีนักในปีนี้ เนื่องจาก Valuation ที่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต รวมถึงเมื่อเทียบกับ Valuation ของตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ และแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนที่คาดว่าจะลดลงจากผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทั้งนี้จากข้อมูลที่ทาง IMF ได้คาดการณ์ GDP ของทั่วโลกในปี 2023 ขยายตัวอยู่ที่ 2.66% ซึ่งภูมิภาคเอเชีย และจีนถือได้ว่ามีอัตราการเติบโตที่โดดเด่น ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ อยู่ที่ 4.87% และ 4.44% ตามลำดับ บ่งชี้ถึงโอกาสในการลงทุนที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานการเติบโตที่แข็งแกร่ง
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยในปีนี้ คาดว่าทิศทางทั้งปีจะเป็นลักษณะ sideway แม้จะได้รับประโยชน์ของภาคการท่องเที่ยวที่จะเติบโตในครึ่งปีแรก แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากภาคการส่งออก เพราะความต้องการในตลาดโลกหดตัวลงตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ มองว่าช่วงนี้เป็นจังหวะเข้าลงทุนที่ดีของตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ จาก Valuation ที่ถูกที่สุดในรอบ 10 ปี พร้อมแนะนำให้มีการถือครอง Private Infrastructure หรือโครงสร้างพื้นฐานนอกตลาด เนื่องจากมีความผันผวนต่ำ ช่วยกระจายความเสี่ยงในช่วงที่เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่สินทรัพย์ทางเลือกอย่างทองคำถือว่ามีความน่าสนใจเช่นเดียวกัน จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าในปีนี้ ซึ่งค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างทองคำกับสกุลเงินดอลลาร์นั้นสูงถึง 75%
ดังนั้น บลจ. พรินซิเพิล จึงได้คัดสรร 5 กองทุนที่น่าสนใจในปีนี้ ได้แก่ 1) กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอเชีย แปซิฟิก ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ (PRINCIPAL APDI) ลงทุนในหุ้นเอเชีย 2) กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ (PRINCIPAL CHEQ) ลงทุนในหุ้นจีน 3) กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล ฟิกซ์ อินคัม (PRINCIPAL GFIXED) ลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก 4) กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลด์ อินคัม (PRINCIPAL iGOLD) และ 5) Principal Private Real Assets Fund Not for Retail Investor (PRINCIPAL PRAF-UI) เพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนภาวะที่ตลาดผันผวน ซึ่งทางบริษัทมีแผนที่จะเสนอขายในช่วงต้นเดือน มี.ค. 2023
นายอะนะ แพร่พิพัฒน์มงคล Head of Investment Strategy, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัดกล่าวในหัวข้อ ลดความ9ii88(ผันผวนของพอร์ตจากปัจจัยตลาดด้วย Private Real Assets ว่า จากความผันผวนที่ยังคงมีอยู่ จึงจำเป็นต้องมีสินทรัพย์ประเภท Private Real Assets Fund ซึ่งเป็นการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ และถือเป็นกลยุทธ์การกระจายการลงทุนของพอร์ต ราคาสินทรัพย์มีความอ่อนไหวต่ำต่อปัจจัยมหภาค ขณะที่ธุรกิจหรือสินทรัพย์จะสามารถสร้างกระแสเงินสดค่อนข้างสม่ำเสมอ และในธุรกิจหรือสินทรัพยบางประเภทยังสามารถปรับค่าเช่าหรือรายได้ล้อตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้ โดย Real Assets แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1) อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) เช่น โลจิสติกส์ คลังสินค้า บ้าน คอนโดมิเนียม สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น 2) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เช่น เสาไฟฟ้า เสาโทรคมนาคม รถไฟ ถนน ท่อส่งก๊าซ โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน เป็นต้น
สำหรับผลตอบแทนของ Real Assets ช่วง 20 ปีย้อนหลัง ทำได้ดีทั้งในช่วงที่เงินเฟ้อเป็นขาขึ้น และตลาดเป็นขาลง โดย บลจ.พรินซิเพิล มีแผนนำเสนอขายกองทุนใหม่ (คาด IPO ในช่วงต้นเดือน มี.ค. 2023) ที่เข้าลงทุนในกองทุน Brookfield Private Real Assets Fund ซึ่งบริหารโดยผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญในสินทรัพย์ Private Real Estate และ Private Infrastructure ทั่วโลก โดย Brookfield ปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร 715 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงมีความสามารถในการเข้าถึงสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพระดับโลก เหมาะกับกลยุทธ์การลงทุนแบบ Defensive เน้นถือระยะยาว 5 - 10 ปีขึ้นไป และแนะนำลงทุนในสัดส่วนประมาณ 5 - 10% ของพอร์ตการลงทุน
นายชาตรี มีชัยเจริญยิ่ง หัวหน้าการลงทุนฝ่ายตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัดกล่าวในหัวข้อ เจาะลึกหุ้นไทยและเวียดนาม ผ่านคาดการณ์ผลประกอบการ ว่า ภาพรวมการลงทุนหุ้นไทยช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีโมเมนตัมที่ดีจากฟันด์โฟลว์ไหลเข้ากว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และรับอานิสงส์จากจีนเปิดประเทศ ขณะที่หุ้นเวียดนาม ราคาลงมาเยอะแล้ว Valuation ต่ำกว่าทั้งค่าเฉลี่ยและตลาดในภูมิภาคเดียวกัน ซื้อขายกันที่ Forward PE เพียง 10 เท่า จึงมองว่าตลาดซึมซับข่าวร้ายไปหมดแล้ว ส่วนภาพปัจจัยพื้นฐาน คาดการณ์ว่าการส่งออกยังไม่ดีต่อเนื่องไปจนถึงอย่างน้อยในครึ่งปีแรก แต่ถูกชดเชยได้บางส่วนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่ขยายตัว 20 - 25% ในอดีตกำไรของบริษัทจดทะเบียนในเวียดนามมีโอกาสเติบโตได้ปีละกว่า 13% สูงกว่าประเทศไทยที่เติบโตเพียง 3% ทำให้ภาพรวมในระยะยาวแล้วหุ้นเวียดนามมีความน่าสนใจมากกว่า โดยกลยุทธ์การลงทุนในไตรมาส 1 ปีนี้ บลจ. พรินซิเพิล ให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคาร (Bank) และค้าปลีก (Commerce) เป็นหลัก
นายสุปรีดิ์ สุวพันธ์, CFA ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด กล่าวเสริมว่า แนวโน้มหุ้นธนาคารของไทยเชื่อว่าตัวเลข NPL ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และมีปัจจัยเติบโตจาก Net Interest Margin (NIM) ที่คาดจะปรับตัวดีขึ้น ตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นที่ขึ้นนำดอกเบี้ยเงินฝากไปก่อน จะหนุนให้ ROE สูงขึ้นต่อเนื่อง ด้านหุ้นธนาคารของเวียดนามถือว่ามีราคาค่อนข้างถูก แม้กำไรจะชะลอตัวลงบ้าง เพราะการแทรกแซงจากภาครัฐที่กำหนดให้การปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ทำได้ช้ากว่าดอกเงินฝากประมาณ 6 เดือน บวกกับความกังวลหนี้เสียภาคอสังหาฯ อย่างไรก็ตามในระยะยาวหุ้นกลุ่มธนาคารในเวียดนามยังคงน่าสนใจ โดยปกติกลุ่มธนาคารจะเติบโตเติบโตตามเศรษฐกิจ อีกทั้งธนาคารเวียดนามยังมีปัจจัยเสริมของการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆ เช่น ประกัน และกองทุนรวม เป็นต้น
นางสาวปุณยนุช บุณยรัตพันธุ์ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด กล่าวเสริมว่า หุ้นกลุ่มค้าปลีกของไทย โมเมนตัมโดดเด่นในระยะสั้น ด้วยแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยว และไทยยังเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ GDP ปี 2566 จะเติบโตดีกว่าปีที่ผ่านมา จึงคาดว่ากำไรหุ้นค้าปลีกปีนี้จะกลับมาเติบโตมากกว่าช่วงก่อนโควิด-19 อีกทั้งการเลือกตั้งใหญ่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค. 2023 นั้นเป็นความหวังหนุนหุ้นค้าปลีกให้โดดเด่น ขณะที่หุ้นค้าปลีกในเวียดนาม ยังคงน่าสนใจจากการบริโภคในประเทศที่มีขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันหุ้นค้าปลีกยักษ์ใหญ่หลายแห่งมีราคาปรับตัวลดลงในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้เป็นโอกาสสำคัญทยอยสะสมในจังหวะนี้
นายอาทิตย์ ทองเจริญ Head of Thailand Business Schroder Investment Management (Singapore) Ltd กล่าวในหัวข้อ โอกาสลงทุนตลาดหุ้นจีน หลังนโยบาย COVID เริ่มผ่อนคลายว่า หลังการยกเลิกมาตรการ Zero Covid เริ่มเห็นแนวโน้มเศรษฐกิจจีนดีขึ้นชัดเจน จากการบริโภคที่ฟื้นตัว ประกอบกับในช่วงโควิดคนจีนมีอัตราการออมสูงถึง 30% ของรายได้ จึงคาดว่าจะเกิดการกลับมาใช้จ่ายอย่างมหาศาล ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยว ในระยะยาว คาดว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งขึ้น จากนโยบายต่างๆ เช่น การควบคุมการเก็งกำไรภาคอสังหาริมทรัพย์ การควบคุมอุตสาหกรรมที่ปล่อยมลภาวะ เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำพลังงานสะอาดของโลก นโยบายสนับสนุนกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เช่น ชิป แผงวงจร ฯลฯ และนโยบายกระจายความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ มองแนวโน้มเศรษฐกิจจีนปี 2023 จะเติบโตอย่างน้อย 5% พร้อมแนะนำหุ้นจีนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) พลังงานทางเลือก 2) ยานยนต์ไฟฟ้า 3) กลุ่มอุตสาหกรรม 4) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Commuting และ 5G 5) Health Care ผู้ผลิตยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ 6) กลุ่มชิ้นส่วนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทองแดงและแบตเตอรี่
Ms. Janine Yoong, CFA Senior Portfolio Manager, Real Estate Securities Principal Asset Management กล่าวในหัวข้อ มุมมอง Global REIT ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย ว่า การลงทุนในปีนี้ยังมีความผันผวนอยู่ โดยเฉพาะความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจถดถอย เงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยสูง อย่างไรก็ตาม Global REIT เป็นสินทรัพย์ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ราคายัง Laggard ไม่ได้ปรับขึ้นเท่ากับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ อีกทั้ง Valuation อยู่ในเกณฑ์ที่น่าสนใจ ในขณะเดียวกันเป็นสินทรัพย์ที่มีงบดุลและฐานะทางการเงินที่ดี สามารถอยู่รอดได้แม้จะเกิดวิกฤติ ฉะนั้นจึงเชื่อว่า Global REIT จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการกระจายการลงทุนเพื่อรับมือความผันผวนในปี 2023
สำหรับนักลงทุนที่สนใจงานสัมมนา Principal Investment Forum 2023 สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.principal.th/th/investment-forum-h1-2023-seminar และติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนหรือสอบถามรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) และผู้สนับสนุนการขายฯ หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด โทร. 02 686 9500 www.principal.th ท่านสามารถเปิดบัญชีและทำรายการผ่าน Principal TH Mobile App ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.principal.th/th/principalTH.html
คำเตือน : ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุน PRINCIPAL CHEQ กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวใน emerging markets ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / กองทุน PRINCIPAL APDI กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในฮ่องกง ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเอง / PRINCIPAL PRAF-UI เป็นกองทุน "ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย" เสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ "กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน" / กองทุน PRINCIPAL PRAF-UI การลงทุนหรือใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน มีความแตกต่างจากการลงทุนหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป ทั้งนี้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุน PRINCIPAL PRAF-UI จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ก็ต่อเมื่อเงินลงทุนแต่ละรายการมีระยะเวลาการถือครองหน่วยลงทุนอย่างน้อย 1 ปีนับแต่วันทำรายการซื้อขายหน่วยลงทุน / กองทุน PRINCIPAL PRAF-UI นี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไปจึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น และกองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสุญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินทุนเริ่มแรกได้/บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit