อาการปวดศีรษะ ในมุมมองของแพทย์จีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

26 Jan 2023

ปวดศีรษะ หรือ "โถวเฟิง" (??) "โถว" (?) คือ ศีรษะ "เฟิง"(?)หมายถึง ลม เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนลม ตำแหน่งปวดไม่แน่นอน อาการหายได้เอง มีระดับการปวดหนักเบาแตกต่างกันไป และเมื่อหายแล้วมักมีเป็นซ้ำ

อาการปวดศีรษะ ในมุมมองของแพทย์จีน โดย คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว

ศาสตร์การแพทย์จีนได้วินิจฉัยการปวดศีรษะตามลักษณะอาการปวด แบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆ คือ

1. ปวดศีรษะแบบแกร่ง มักเกิดโรคแบบเฉียบพลัน รวดเร็ว ระยะเวลาที่เป็นสั้น เกิดจาก

  • ปัจจัยภายนอก คือ ลม ความเย็น ความร้อน ความชื้น ความแห้งและไฟ แต่สาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะคือลมซึ่งลมมักจะชักนำปัจจัยก่อโรคอื่นๆเช่นความเย็น ความร้อนและความชื้นเป็นลมร้อน ลมเย็นหรือลมชื้น ดังนั้นสาเหตุหลักในการเกิดอาการปวดศีรษะแบบแกร่งคือ "ลมเย็น" "ลมร้อน" และ "ลมชื้น"
  • ปัจจัยภายใน คือ ตับ ม้ามและไต ตับเป็นอวัยวะหลักที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบแกร่ง เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่การกระจายชี่ หากการกระจายชี่ของตับเสียสมดุลจะเกิดภาวะชี่ติดขัด จนเกิดการอุดกั้นของชี่ หากปล่อยไว้เวลานานจะเกิดความร้อนจนเข้าสู่ภาวะหยางตับแกร่งในที่สุด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจาก การเลือดคั่งและเสมหะสกปรกอีกด้วย

2. ปวดศีรษะแบบพร่อง มักเกิดโรคแบบช้าๆ เป็นระยะเวลานาน อาการปวดไม่รุนแรง

  • เลือดพร่อง อาการปวดจะไม่รุนแรงแต่จะปวดแบบน่ารำคาญ บางครั้งมีอาการวิงเวียนศีรษะ
  • ไตพร่อง ปวดแบบกลวงๆโล่งๆ มีอาการวิงเวียน บ้านหมุน มีเสียงในหูร่วมด้วย

การรักษาอาการปวดศีรษะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น นอกจากจะรับประทานยาจีน ฝังเข็ม หรือการทุยหนาแล้ว การดูแลตนเองของผู้ป่วยก็มีความสำคัญเช่นกัน

หลักการดูแลตนเองสำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ

  1. ปวดศีรษะโดยปวดต้นคอ บ่า ไหล่ และหลังร่วมด้วยมักพบในผู้ที่ปวดศีรษะจากลมเย็น แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่น นวดผ่อนคลายบริเวณคอบ่าไหล่ และประคบร้อนโดยนำผ้าขนหนูแช่ในน้ำอุ่นบิดพอหมาดแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรืออาจใช้ถุงน้ำร้อนแทนก็ได้เช่นกัน จึงควรหลีกเลี่ยงอากาศเย็นเป่า เครื่องปรับอากาศ เครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีฤทธิ์เย็น หรือผู้ที่นั่งทำงานเป็นเวลานาน
  2. ปวดศีรษะบริเวณขมับ หรือด้านข้างศีรษะทั้ง 2 ด้าน มักพบในผู้ที่มีภาวะตับหยางแกร่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีจิตใจร้อนรุ่ม เครียด และหงุดหงิดง่ายแนะนำให้นำน้ำแข็งประคบบริเวณที่ปวด โดยเฉพาะขมับซึ่งเป็นบริเวณที่มักเกิดอาการปวดได้บ่อย และอาจกดจุดหรือนวดเบาๆ ที่จุดไท่หยาง บริเวณหางคิ้ว เป็นจำนวน 3 เช็ต เซ็ดละ 10-15 ครั้ง
  3. ปวดศีรษะโดยปัจจัยภายนอกจากลมอื่นๆนอกจากปวดศีรษะจากลมเย็นที่กล่าวในข้างต้น ยังอาจเกิดจากลมร้อน มักมีอาการปวดรุนแรงเหมือนหัวจะระเบิด และลมชื้น มักมีอาการปวดตื้อๆ หนักๆ เหมือนมีผ้าโพกไว้

อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้นเป็นการรักษาแบบแยกแยะอาการที่มีความซับซ้อน ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • สอบถามข้อมูล หรือปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ที่ "ทีมหมอจีน" คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว โทร 02 223 1111 ต่อ 114, 115
  • เปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08:00 - 16:00 น.
  • LINE OA: @huachiewtcm
  • Facebook: หัวเฉียวแพทย์แผนจีนกรุงเทพ Huachiew TCM Clinic