หากเอ่ยถึง "โรคไทรอยด์" คงนับว่าเป็นอีกโรคหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นภัยเงียบที่น่ากลัว ซึ่งมีแนวโน้มพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แม้จะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากปล่อยไว้จนรุนแรง อาจเสี่ยงถึงขั้น "หัวใจวาย" ในที่สุด วันนี้โรงพยาบาลพระรามเก้า ผู้เชี่ยวชาญโรคยากซับซ้อน ขอพาทุกท่านมาทำความรู้จัก 6 โรคไทรอยด์ที่พบบ่อย เพื่อสังเกตความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ป้องกันความเสี่ยงอันนำไปสู่ความเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้
นายแพทย์ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดไทรอยด์ และการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า "ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่บริเวณกึ่งกลางของลำคอ ด้านหน้าหลอดลมต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย ต่อมไทรอยด์มี 2 ข้าง น้ำหนักประมาณ 15 - 25 กรัม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์และหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อควบคุมการเจริญเติบโต การเผาผลาญและใช้พลังงานของร่างกาย (เมตาบอลิซึมของร่างกาย) คือ thyroxine (T4) และ triiodothyronine (T3) และมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ ตลอดจนมีผลต่อพัฒนาการด้านสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์
6 โรคไทรอยด์ที่พบบ่อย
1. ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ทำให้ฮอร์โมนเกิน
สาเหตุ อาทิ
อาการ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน กระสับกระส่าย เหงื่อออกง่าย มีปัญหาการนอนหลับ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำหนักลด ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีปัญหาเกี่ยวกับตา ระคายเคืองตา ไวต่อแสง มองเห็นภาพไม่ชัด เนื้อเยื่อรอบดวงตาบวม ตาโปน
2. ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (hypothyroidism) เป็นภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ ภาวะนี้จะตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
สาเหตุ อาทิ
อาการ แสดงไม่ชัดเจน บางรายช่วงแรกอาจมีเพียงเหนื่อยง่าย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ต่อมาอาจมีอาการผมแห้ง ผมบาง ผิวแห้ง เสียงแหบ หน้าบวม มีปัญหาเรื่องความจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะซึมเศร้า ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
3. ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่ไม่ใช่มะเร็ง (thyroid nodules)
สาเหตุ มักเกิดจากมีการเจริญหรือแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ในต่อมไทรอยด์
ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แต่จะเห็นเป็นก้อนที่คอ หากก้อนมีขนาดใหญ่หรือมีหลายก้อนอาจทำให้กลืนอาหารลำบาก แต่ในผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกชนิดที่มีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ด้วย ก็จะมีอาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วย
4. มะเร็งต่อมไทรอยด์ (thyroid cancer) พบได้หลายชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือชนิด papillary thyroid cancer
สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของมะเร็งไทรอยด์แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
อาการ มีตั้งแต่ก้อนขนาดเล็ก ๆ ไปจนถึงก้อนขนาดใหญ่ หากก้อนมะเร็งใหญ่อาจสังเกตเห็นได้จากภายนอก มีความรู้สึกแน่นที่คอ หายใจลำบากกลืนลำบาก หรือมีเสียงแหบ
5. ภาวะไทรอยด์อักเสบ (thyroiditis) พบได้บ่อยจะเป็นแบบเรื้อรัง (chronic thyroiditis) หรือเรียกว่า Hashimoto disease และชนิดแบบกึ่งเฉียบพลัน (thyroiditis subacute)
สาเหตุ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดมาจากโรคของระบบภูมิคุ้มกันหรือแพ้ภูมิตัวเอง
อาการ แบบเรื้อรัง : เหนื่อย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นช้า ปวดกล้ามเนื้อ ท้องผูก ตาและใบหน้าบวม ผิวแห้ง ผิวบาง ผมร่วง ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือมามาก ตั้งครรภ์ยาก มีปัญหาด้านความจำ สมาธิ มีภาวะซึมเศร้า
แบบกึ่งเฉียบพลัน : มักมีอาการไข้ ต่อมไทรอยด์โตขึ้น และคลำแล้วมักรู้สึกเจ็บ
6. คอพอก(goiter) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นกว่าปกติ
สาเหตุ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะขาดสารไอโอดีน มีก้อนของต่อมไทรอยด์ทั้งชนิดที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง มีการอักเสบของต่อมไทรอยด์ หรือจากการตั้งครรภ์ เป็นต้น
อาการ แน่นบริเวณคอ มีเสียงแหบ ไอ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง หรือกลืนลำบาก เป็นต้น
ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในร่างกายได้ ผู้ป่วยบางรายที่ตรวจพบระยะท้าย ๆ อาจมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะ เสี่ยงภาวะที่นำมาสู่ 'หัวใจวาย' ได้ในที่สุด"
นายแพทย์ธัญวัจน์ แนะนำว่า "แม้ว่าการป้องกันโรคไทรอยด์ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดในปัจจุบัน เนื่องจากในบางโรคมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของพันธุกรรม หรือการทำงานที่ผิดปกติของภูมิคุ้มกัน แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ คือ
"ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคไทรอยด์โดยที่ไม่รู้ตัวอยู่ในตัวเลขที่ค่อนข้างสูง เรามักจะพบว่า คนไข้เพิ่งทราบว่าเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือเนื้องอกในต่อมไทรอยด์ จากการตรวจสุขภาพประจำปีด้วยการเจาะเลือดและการทำอัลตราซาวด์คอ ดังนั้น จึงต้องหมั่นสังเกตและตรวจเช็คอาการป่วยที่ตัวเองเป็นเพื่อช่วยให้ทราบความผิดปกติของไทรอยด์ได้ตั้งแต่แรก ๆ หากพบว่ามีอาการที่สุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคไทรอยด์ชนิดใดชนิดหนึ่งตามที่กล่าวไปข้างต้น ควรรีบรักษาตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านไทรอยด์ เพื่อการรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของโรค ช่วยลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้" นายแพทย์ธัญวัจน์ ทิ้งท้าย
ท่านสามารถอ่านเจาะลึกถึงสาเหตุอื่นๆ และแนวทางการรักษาเพิ่มเติมได้ทาง www.praram9.com/thyroid-diseases/ หรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ณ ศูนย์ไทรอยด์และผ่าตัดไทรอยด์แบบครบวงจร โรงพยาบาลพระรามเก้า โทร. 1270 หรือ www.praram9.com / Line: lin.ee/vR9xrQs หรือ @praram9hospital และ ทาง Facebook: Praram9 Hospital โรงพยาบาลพระรามเก้า HEALTHCARE YOU CAN TRUST เรื่องสุขภาพ…ไว้ใจเรา
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit