"น้ำมันดี 9ชนิด" ลดเสี่ยงมีบุตรยาก

03 Apr 2023

"น้ำมันดี" หรือ "กรดไขมันดี" เป็นหนึ่งในหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility Diet) หรือ เรียกว่า "คัมภีร์อาหารที่คนอยากท้องต้องกิน" รวบรวมมาจากงานวิจัยเกี่ยวกับหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ โดย ครูก้อย - นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจ Babyandmom.co.th และโค้ชเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก โดยสรุปออกมาเป็น "Keys to Success" หรือ สูตรสำเร็จวสำหรับผู้หญิงที่มีบุตรยากโดยเฉพาะ ซึ่งหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ นั้นคือ การทานอาหารให้หลากหลายและครบ5หมู่ ซึ่งประกอบไปด้วยอาการหมู่หลัก(Macronutrients) และวิตามินและแร่ธาตุ (Micronutrients) โดยมีหลักการ ดังนี้ 1.เพิ่มโปรตีน 2.ลดคาร์บ 3.งดหวาน 4.ทานกรดไขมันดี 5.เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ และเสริมวิตามินบำรุง ซึ่งกรดไขมันดี

"น้ำมันดี 9ชนิด" ลดเสี่ยงมีบุตรยาก

"ครูก้อย - นัชชา" เผยว่า "ไขมัน" เป็นสารอาหารสำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย นอกจากจะให้พลังงานกับร่างกายแล้วยังช่วยดูดซับวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ วิตามินเค พร้อมช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิด รวมถึงฮอร์โมนเพศด้วย ซึ่งผู้วางแผนตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงไขมันชนิดที่อิ่มตัว (Trans fat) ที่พบในไขมันจากสัตว์ ไขมันจากนม เนย ชีส และจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ รวมถึงอาหารทอดกรอบ ขนมกรุบกรอบ ขนมอบ เฟรนซ์ฟรายส์ เพราะหากทานในปริมาณที่มากเกินไปนอกจากจะส่งผลให้น้ำหนักเกิน หรือ อ้วน เนื่องจากความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงอาจเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริดกะปรอย ประจำเดือนขาดหายไป และยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะผู้มีบุตรยาก

จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับกรดไขมันดีที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ พบว่าไขมันดีประเภท PUFA และ MUFA เป็นไขมันชนิดดีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงการมีบุตรยาก จากงานวิจัยเรื่อง Effects of Consumption of Various Fatty Acids on Serum HDL-Cholesterol Levels ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Endocrinology & Metabolism ในปี 2018 และ The Effect of MUFA-Rich Food on Lipid Profile: A Meta-Analysis of Randomized and Controlled-Feeding Trials ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Foods Multidisciplinary Digital Publishing Institute ในปี 2022 ศึกษาพบว่าการทานไขมันชนิด MUFA หรือ Monounsaturated Fatty Acid คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นไขมันเลว และช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในเลือด

และจากงานวิจัยเรื่อง Association between polyunsaturated fatty acid intake and infertility among American women aged 20-44 years ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Public Health เมื่อปี 2022 พบว่า ผู้หญิงที่มีปริมาณไขมัน PUFA ได้แก่ DHA และ ALA ต่ำมีความเสี่ยงมีบุตรยากมากขึ้น

"ครูก้อย - นัชชา" จึงแนะนำให้ผู้ที่เตรียมมีบุตรหรือมีภาวะมีบุตรยากควรเลือกประทาน "กรดไขมันดี" ในน้ำมัน 9 ชนิดจากธรรมชาติที่มีกรดไขมันดีทั้ง PUFA, MUFA, ALA, DHA และ Omega 3,6,9 ที่มีรายงานวิจัยศึกษาพบว่ามีส่วนช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ได้แก่

1.น้ำมันดอกทานตะวัน (Sunflower oil)
น้ำมันดอกทานตะวันเป็นหนึ่งในแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน PUFAs หรือ Polyunsaturated Fatty Acids
ซึ่งมากกว่า 60% เป็นกรดไลโนเลอิก และประกอบด้วยวิตามินอี โฟเลต สังกะสี กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ทั้งหมดนี้มีประโยชน์สำหรับภาวะเจริญพันธุ์ทั้งชายและหญิง ช่วยเพิ่มคุณภาพน้ำอสุจิ และภาวะเจริญพันธุ์โดยรวม อีกทั้ง ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินอี และโอเมก้า 6 ที่มีอยู่ในเมล็ดทานตะวันยังช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกแข็งแรงขึ้นด้วย ช่วยเพิ่มโอกาสในการปฎิสนใจและช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนอย่างมีประสิทธิภาพโดยรักษาสมดุลระหว่างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ป้องกันภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ และภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัย ที่เป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในสตรี

2. น้ำมันกระเทียม (Garlic oil)
กระเทียมเป็นอาหารที่อุดมด้วยกำมะถัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มระดับของกลูตาไธโอน (Glutathione) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย กลูตาไธโอนเชื่อมโยงกับภาวะเจริญพันธุ์ โดยมีรายงานการศึกษาถึงฤทธิ์ของกระเทียมในฐานะสารเพิ่มการเจริญพันธุ์ จาก INTERNATIONAL JOURNAL OF RESEARCH IN AYURVEDA AND MEDICAL SCIENCES ปี 2018 พบว่า กระเทียมมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งทำให้สุขภาพทั่วไปดีขึ้นและยับยั้งการแก่ก่อนวัย การศึกษาพบว่าการบริโภคกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสมช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ จำนวนอสุจิ และปรับสมดุลของระดับฮอร์โมนอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสารต่อต้านแบคทีเรีย มีคุณสมบัติต้านเชื้อรา ต้านการอักเสบ บำรุงมดลูกและประจำเดือนในสตรี

3. น้ำมันแฟล็กซีด (flaxseed oil)
มีสารลิกแนน (Lignans) ซึ่งเป็นไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogens) ซึ่งมีมากกว่าพืชชนิดอื่น ถึง 75 เท่า มีการออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวผ่านการกำจัดของเสียในตับ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งส่งผลให้การผลิตจำนวน อสุจิและคุณภาพของตัวอสุจิเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มคุณภาพของไข่และโอกาสที่ไข่จะได้รับการปฏิสนธิและก่อตัวเต็มที่ มีรายงานการวิจิยใน วารสารด้านโภชนาการNutrients ซึ่งเผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อปี 2016 พบว่าสารในเมล็ดแฟลกซ์ส่งผลต่อค่า C-reactive protein (CRP) ซึ่งแสดงถึงค่าการอักเสบในร่างกายลดลง

4. น้ำมันฟักข้าว (Gac oil)
อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีเบต้าแคโรทีนสูง วิตามินซีสูง ซีแซนทีน วิตามินอี วิตามินเอ กรดไขมันโอเมก้า3, 6 และ 9 ช่วยเสริมฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง และการไหลเวียนของเลือดดี ซึ่งเบต้าแคโรทีนในน้ำมันน้ำมันฟักข้าว เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับระบบสืบพันธุ์ ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำอสุจิ และการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตในอวัยวะสืบพันธุ์และเร่งกระบวนการพัฒนาและการผลิตสเปิร์ม ควบคุมการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ตลอดจนการยืดอายุของสเปิร์มและเซลล์ไข่ ช่วยในกระบวนการตั้งครรภ์และส่งเสริมด้านพัฒนาการของทารกในครรภ์ อีกทั้งวิตามินเอในน้ำมันฟักข้าว ยังช่วยส่งเสริมกระบวนการสร้างโมเลกุลโปรตีนที่ผลิตโดยร่างกาย การขาดวิตามินเอทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ของเซลล์ในการผลิตสเปิร์มและไข่ ทั้งยังช่วยลดอัตราการแท้งบุตรหรือการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย

5. น้ำมันอะโวคาโด (Avocado oil)
น้ำมันอะโวคาโดอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวหรือ (Monounsaturated Fatty Acid) หรือที่เรียกว่า "MUFA" มีผลช่วยลดการอักเสบและปรับปรุงการทำงานของการตกไข่ และการบริโภค MUFA ที่มากขึ้นมีผลทำให้อัตราเกิดสูงขึ้นเกือบ3.5เท่า หลังการย้ายตัวอ่อน นอกจากนี้อะโวคาโดยังอุดมด้วยโฟเลต โพแทสเซียม วิตามินเอ ไฟเบอร์ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมัน ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่ออนามัยการเจริญพันธุ์ การทานอะโวคาโดเป็นประจำ จะช่วยให้สามารถตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้นและทารกมีสุขภาพที่ดีขึ้นโดยมีข้อบกพร่อง น้อยลง มีรายงานการวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารด้านโภชนาการ Nutrients ปี 2016 พบว่า การรวมอะโวคาโดในอาหารของมารดาในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่ระยะก่อนปฏิสนธิจนถึงระยะสิ้นสุดการให้นมส่งผลดีต่อสุขภาพของแม่และลูก

6. น้ำมันงาขี้ม้อน (Perilla oil)
น้ำมันงานขี้ม้อนเป็นแหล่งของกรดไขมันไม่อิ่มตัว ประกอบด้วยโอเมก้า 3 ร้อยละ 55-60 ของกรดไขมันทั้งหมด ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อระบบประสาทและสมองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากนี้น้ำมันเมล็ดงาขี้ม้อน ยังประกอบด้วย โอเมก้า6 ร้อยละ18-22 ของกรดไขมันทั้งหมด และโอเมก้า9 ร้อยละ 11-13 ของกรดไขมันทั้งหมด ทั้งยังพบสาร Luteolin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม Flavonoids ที่มีฤทธิ์ต้านภูมิแพ้ และต้านการอักเสบ ทั้งยังอุดมไปด้วยธาตุฟอสฟอรัส และแคลเซียม ช่วยป้องกันการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการฝังตัวอ่อน

7. น้ำมันมะกอก (Olive oil)
มีไขมันอิ่มตัวต่ำอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและอุดมไปด้วยวิตามินอี นอกจากนี้ ยังมีไขมันโอเมก้า 3 มีสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยจาก Wiley Online Library เมื่อปี 2017 รายงานว่า อาหารประเภท 'ปลาและน้ำมันมะกอกสูง เนื้อสัตว์ต่ำ' ของมารดามีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของตัวอ่อนและอัตราการแท้งบุตรลดลง สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้ถึง 40% มีผลจากการวิจัยพบว่า การให้น้ำมันมะกอกกับมารดาในระหว่างการตั้งครรภ์มีต่อน้ำหนักแรกเกิด และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ นอกจากนี้การบริโภคน้ำมันมะกอกยังให้ MUFA มากกว่า 80% และ กรดไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 14% โดย MUFA มีส่วนช่วยในการลดคอเลสเตอรอลในพลาสมา เพิ่มการไหลของเมมเบรนในตัวอสุจิ และลดการถูกทำลายจากลิพิดเปอร์ออกซิเดชันน้อยลง

8. น้ำมันสาหร่ายทะเล (Algae oil)
สาหร่ายทะเลสายพันธุ์ (SCHIZOCHYTRIUM SP.) เป็นสาหร่ายที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 หลักสองประเภท คือ Eicosa penta SCHIZOCHYTRIUM SP.enoic acid (EPA) และ Docosahexaenoic acid (DHA) มีรายงานวิจัยจาก Hum Reprod. เมื่อปี 2017 พบว่าระดับ DHA และ EPA ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ทางคลินิกและอัตราการเกิดเพิ่มขึ้น โดยโอกาสในการเกิดมีเพิ่มขึ้น 8% ของทุกๆ 1% ที่เพิ่มขึ้นของโอเมก้า 3 นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า DHA จากสาหร่าย มีผลในการเพิ่มขึ้นของ DHA ในฟอสโฟลิปิดในพลาสมาซึ่งช่วยให้ผนังเซลล์แข็งแรงขึ้นและในเม็ดเลือดแดงอีกด้วย

ผลการศึกษาจาก Fertility and Sterility เรื่อง Omega-3 fatty acid supplementation and fecundability ใน ปี 2019 ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 และความสามารถในการมีลูก โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากผู้หญิง 900 คน พบว่าผู้หญิงที่ทานอาหารเสริมโอเมก้า 3 มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ด้วยตัวเองมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ทานอาหารเสริมเกือบสองเท่า และมีรายงานวิจัยจาก Iran J Reprod Med เมื่อปี 2013 ศึกษาพบว่า ในสตรีที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนที่มีภาวะ PCOS พบว่าการเสริมโอเมก้า 3 ช่วยปรับการมีประจำเดือนได้อย่างสม่ำเสมอ และทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือ ฮอร์โมนเพศชายที่พบในผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะ PCOS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

9. น้ำมันงาขาว (Sesame oil)
งาขาวอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินอี ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และลิกแนน มีทองแดงค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน และเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีซึ่งมีความสำคัญต่อการบำรุงรักษา และซ่อมแซมเนื้อเยื่อการสืบพันธุ์ และมวลกระดูกของเพศหญิง จากผลการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานงา และการส่งผลต่อฮอร์โมนเพศ สถานะของสารต้านอนุมูลอิสระและไขมันในเลือดในสตรีวัยทอง จาก หลักสูตรโภชนาการภาควิชาการพัฒนามนุษย์ และครอบครัวศึกษา แผนกสูตินรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัย National Taiwan Normal ประเทศใต้หวัน พบว่า การกินเซซามินทำให้ความเข้มข้นของไขมันในพลาสมาลดลง 5% และ ปริมาณไขมันชนิดร้าย LDL-C ลดลง 10% อย่างมีนัยสำคัญ และช่วยในการปรับปรุงการดูดซึม g-tocopherol หรือ วิตามินอี ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง ป้องกันผนังเซลล์ถูกทำลาย

"ไขมันดี" จาก "น้ำมันดี 9 ชนิด" ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ล้วนอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย โดยเฉพาะ
โอเมก้า 3 6 9 DHA วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ จึงจำเป็นต่อการเตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตร ช่วยปกป้องความเสียหายของเซลล์ไข่และอสุจิ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ลดความเสี่ยงในการแท้ง เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์ต่างๆในร่างกาย ดังนั้นการเลือกรับประทานไขมันดี แทนไขมันเลว นอกจากจะช่วยลดปัญหาสุขภาพในระยะยาวแล้ว ยังช่วยช่วยส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายอีกด้วย ครูก้อย นัชชา กล่าวสรุป

สำหรับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์และมีปัญหามีบุตรยากสามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ที่https://www.babyandmom.co.thหรือปรึกษาการเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากกับ ครูก้อย - นัชชา ลอยชูศักดิ์ โดยตรงผ่านทางไลน์แอด: @Babyandmom.co.th

"น้ำมันดี 9ชนิด" ลดเสี่ยงมีบุตรยาก
ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit