การประชุมส่งเสริมธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียน (China-ASEAN Business and Investment Summit หรือ CABIS) ครั้งที่ 19 ได้มีขึ้นที่เมืองหนานหนิง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 16-17 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีหัวข้อว่า "แบ่งปันโอกาสใหม่ ๆ จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สร้างข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน เวอร์ชัน 3.0" (Sharing RCEP New Opportunities, Building a Version 3.0 China-ASEAN FTA)
ปี 2565 เป็นปีแรกที่ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์จีน-อาเซียน (China-ASEAN Strategic Partnership) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้ และเนื่องในโอกาสพิเศษนี้ การประชุม CABIS ครั้งที่ 19 จึงได้เปิดเวทีอภิปรายโต๊ะกลมระหว่างรัฐบาลมาเลเซียกับซีอีโอจากจีน การประชุมผู้นำธุรกิจจีน-อาเซียน การอภิปรายพิเศษเกี่ยวกับความร่วมมือทางธุรกิจในกลุ่ม RCEP และการประชุมสัมมนาว่าด้วยความร่วมมือทางกฎหมายพาณิชย์ระหว่างจีน-อาเซียน
การประชุม CABIS ให้ความสำคัญกับโอกาสใหม่ ๆ จาก RCEP ไปจนถึงการบูรณาการอุตสาหกรรมและซัพพลายเชน การสร้างระเบียงการค้าระหว่างประเทศทางบกและทางทะเลขึ้นใหม่ เศรษฐกิจดิจิทัล พลังงานสีเขียว การพัฒนาอย่างยั่งยืน บริการกฎหมายการค้า และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยผู้นำรัฐ ตัวแทนภาคธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากจีนและอาเซียน ได้หารือกันอย่างเข้มข้นทั้งทางออนไลน์และในสถานที่จริง ก่อให้เกิดการหารือในระดับสูง แลกเปลี่ยนความคิด และร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจและการค้า
การประชุม CABIS ได้เผยแพร่รายงานความคืบหน้าของการประชุมส่งเสริมธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียน (2547-2564) และสภาวะธุรกิจอาเซียนประจำปี 2565 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากแวดวงธุรกิจของทั้งสองฝ่าย โดยได้ออกหนังสือแต่งตั้งถึงสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประชุม CABIS ทั้งยังเปิดสำนักงานติดต่อประสานงานสาขากว่างซี ประจำสภาธุรกิจจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี และสำนักงานติดต่อประสานงานสาขากว่างซี สังกัดคณะกรรมการจีนประจำสภาที่ปรึกษาธุรกิจ RCEP นอกจากนี้ ยังมีการจัดพิธีลงนามสำหรับนิคมโลจิสติกส์ระหว่างประเทศกวนตันที่มาเลเซียด้วย พร้อมส่งเสริมการจัดตั้งศาลพาณิชย์ระหว่างประเทศหนานนิงเพื่อดูแลข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน และศูนย์พิจารณาคดีอาเซียนประจำคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของจีน รวมทั้งจัดตั้งองค์การไกล่เกลี่ยการค้ากว่างซี และยังได้จัดตั้งสำนักงานบริการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศสาขากว่างซีสำหรับประเทศสมาชิก RCEP เปิดตัวสายด่วนบริการกฎหมายการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน CCPIT (ภาษาอังกฤษ ลาว และเมียนมา) และลงนามข้อตกลงเชิงกลยุทธ์ว่าด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนและร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประจำกว่างซีภายใต้ข้อตกลง RCEP
การประชุม CABIS จัดมาแล้ว 19 ครั้ง และได้กลายเป็นงานส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศอันเป็นที่สุดระหว่างจีนกับอาเซียน ทั้งในแง่ของระดับความสำคัญ ขนาด และอิทธิพล โดยเป็นกลไกความร่วมมือสำคัญเพื่อส่งเสริมการหารือระดับสูง เสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน และสนับสนุนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของทั้งสองฝ่าย
กว่างซี ซีเอ พาโนรามา กรุ๊ป (Guangxi CA Panorama Group) เป็นผู้จัดการประชุม CABIS ครั้งที่ 19
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1901273/1.jpg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit