โซลาร์ ดี ร่วมงานมหกรรมพลังงานแห่งอนาคต SETA 2022 นำเสนอเทคโนโลยี "Tesla Powerwall" สมาร์ตโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์และการกักเก็บพลังงาน ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนพร้อมสัมผัสประสบการณ์ "อิสรภาพทางพลังงาน" ในไทยได้ก่อนใคร
งานมหกรรมพลังงานแห่งอนาคต SETA 2022 (Sustainable Energy and Technology Asia) ในปีนี้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20-22 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 20,000 คน และผู้ร่วมแสดงนิทรรศการมากกว่า 350 บริษัท จาก 70 กว่าประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุมเชิงวิชาการ รวมถึงจัดแสดงสินค้าและเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการผลิตและการใช้พลังงาน มุ่งเน้นด้านการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้เทคโนโลยีสะอาด
โซลาร์ ดี ผู้จัดจำหน่ายและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคาแบบครบวงจรประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ในฐานะพันธมิตรและตัวแทนติดตั้งอย่างเป็นทางการเพียงหนึ่งเดียวในไทยของเทสลาเข้าร่วมงานนี้ด้วย พร้อมนำเสนอเทคโนโลยี "Tesla Powerwall" สมาร์ตโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์และการกักเก็บพลังงานที่จะทำให้ทุกครัวเรือนสามารถผลิตและจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินไว้ใช้ในช่วงเวลาที่ต้องการได้ทุกเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย จัดการและควบคุมการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน Tesla อย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ปรับเปลี่ยนสถานะจากผู้ใช้งานเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า ลดการพึ่งพิงพลังงานไฟฟ้าจากส่วนกลาง พร้อมสัมผัส "อิสรภาพทางพลังงาน" อย่างแท้จริง
นายสัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซลาร์ ดี คอร์ปอร์เรชัน จำกัด ได้รับเกียรติขึ้นพูดบนเวทีงานเสวนา ในหัวข้อ "Tesla Powerwall จิกซอว์ชิ้นสุดท้ายสู่อิสรภาพทางพลังงาน" โดยนายสัมฤทธิ์ย้ำว่า ภารกิจของ โซลาร์ ดี คือ การเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเต็มรูปแบบ มุ่งเน้นการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางให้ผู้ใช้ได้สัมผัสประสบการณ์ "การผลิตและใช้พลังงานอย่างอิสระ" ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับกับเมกะเทรนด์ของทุกภาคส่วนอุตสาหกรรมทั่วโลกในที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางไปสู่มือทุกคน อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการแข่งขันให้ประชาชนซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนทางด้านพลังงานและด้านเศรษฐกิจ
"Decentralization (การกระจายอำนาจ) ไม่ใช่แค่เทรนด์ของพลังงาน แต่เป็นเมกะเทรนด์ของทุกภาคส่วนอุตสาหกรรมและธุรกิจ ลองคิดภาพว่าในอดีตเราเป็นผู้ใช้ มีคนดูแลระบบ แล้วเราก็จ่ายเงินให้เขาดูแลเราเหมือนพ่อดูแลลูก สเต็ปแรก พอเราออกมาเป็นอิสระ เราลองไปสัมภาษณ์ลูกค้าของเรา เขารู้สึกภูมิใจ รู้สึกว่ามีอำนาจในมือ มีอิสระมากขึ้น บางคนไม่ต้องจ่ายค่าไฟแล้ว และถ้ามองไปไกลยิ่งขึ้น สเต็ปต่อมา หากระบบ Virtual powerplant (โรงไฟฟ้าเสมือนที่เปลี่ยนวิธีคิดจาการพยุงระบบสายส่งด้วยโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่กี่แห่งเป็นรายย่อยจำนวนมาก) เกิดขึ้นจริง ลองนึกภาพว่าเราจากเคยเป็นผู้ใช้ ออกมามีอิสระเอง แม้จะเริ่มติดตั้งระบบโซลาร์เพื่อลดค่าไฟฟ้าไปบ้าง แต่ก็อาจถูกมองจากส่วนกลางว่าเป็นภาระที่ทำให้เสถียรภาพของระบบสายส่งลดลง เมื่อมี Powerwall นอกจากจะทำให้มีอิสรภาพจากการพึ่งพาระบบขึ้นมาแล้ว เรายังสามารถกลับไปช่วยเพิ่มเสถียรภาพ รวมไปถึงกอบกู้ระบบในช่วงเวลาวิกฤตได้อีกด้วย นี่เป็นเรื่องที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของบุคคล ทำให้ปัจเจกบุคคลอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งแนวคิดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ โซลาร์ ดี เกิดขึ้น" นายสัมฤทธิ์กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ "แนวโน้มการติดตั้ง การใช้งานแผงเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานในประเทศไทยและแถบอาเซียน" ร่วมกับ ดร. พิมพา ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน, คุณวีรุจน์ เตชะสุวรรณ Country Manager จาก SolarEdge, ดร.วรวรรธน์ นาคะวิโร ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคด้านระบบไฟฟ้า จาก Huawei, และ ศ.ดร. ดุสิต เครืองาม นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ดำเนินการเสวนาโดย ดร. อมรรัตน์ ลิ้มมณี ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
Tesla Powerwall ใช้ระบบ AC Coupling แบบ All in single unit ที่มาพร้อมกับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าหรืออินเวอร์เตอร์ภายในตัว ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดตั้งร่วมกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า และรองรับการอัปเดตซอฟต์แวร์แบบไร้สายเพื่อใช้งานฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ในอนาคต อีกทั้งโดดเด่นด้วยดีไซน์อันเรียบง่าย สวยงาม ทันสมัย โดยมาพร้อมความจุ 13.5 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ซึ่งเพียงพอสำหรับการเปิดเครื่องปรับอากาศขนาด 24,000 บีทียู ได้นาน 10 ชั่วโมงหรือยาวต่อเนื่องไม่จำกัดหากใช้ร่วมกับระบบโซลาร์รูฟท็อป
สัมผัสประสบการณ์ "อิสรภาพทางพลังงาน" ก่อนใครในไทยที่ https://www.solar-d.co.th/
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit