<strong>จีนจัดการประชุมสุดยอดเอเชียประจำปี 2565 ว่าด้วยการพัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ภูมิใจประสบความสำเร็จอย่างงดงาม</strong>

26 Dec 2022

กลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมพลังงานอัจฉริยะจีน (China Smart Energy Industry Alliance) ได้รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดโต๊ะกลมเอเชีย (Asia Roundtable Summit) ประจำปี 2565 ว่าด้วยการพัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำทางออนไลน์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยแขกรับเชิญทั้ง 9 ท่าน ได้แก่คุณโมอิน อุล เฮก (Moin ul Haque) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำประเทศจีน, คุณทูฟชิน บาดรัล (Tuvshin Badral) ผู้แทนธุรกิจและที่ปรึกษามองโกเลียประจำประเทศจีน, คุณอัลมาส ชูกิน (Almas Chukin) ผู้จัดการทั่วไปของไวเซอร์คาซัคสถาน (Visor Kazakhstan) และนักเศรษฐศาสตร์ชาวคาซัคสถาน, คุณยาฮายา เบรัคทาลี (Yahaya Berakhtali) ที่ปรึกษาและอดีตซีอีโอบริษัทอียูเอเอส อินเตอร์เนชันแนล ไอซีซี (EUAS International ICC), คุณคิน เพียห์ (Kin Phea) ผู้อำนวยการสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยรอยัล อคาเดมี ออฟ แคมโบเดีย (Royal Academy of Cambodia), คุณฮาร์ตันโต วิโบโว (Hartanto Wibowo) ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัทพีที พีแอลเอ็น (PT PLN), คุณลี เปาฉิง (Li Baoqing) ผู้จัดการบริษัทสเตท พาวเวอร์ อินเวสต์เมนต์ กรุ๊ป (State Power Investment Group Co., Ltd) และผู้อำนวยการคณะทำงาน, คุณกู่ เหว่ย (Gou Wei) รองผู้จัดการทั่วไป บริษัทไชน่า ฮัวเดียน คอร์ปอเรชัน (China Huadian Corporation) และคุณเหยา เฉียง (Yao Qiang) ผู้อำนวยการคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพาวเวอร์ไชน่า (PowerChina) ได้มาร่วมกันเสวนาแลกเปลี่ยนเชิงลึกในหัวข้อเกี่ยวกับ "ความสำเร็จและประสบการณ์ด้านนวัตกรรมในการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์ต่ำในเอเชีย" (innovative achievements and experiences in green and low-carbon development in Asia) โดยมีคุณอัน เฟิงเฉวียน (An Fengquan) ที่ปรึกษาพิเศษประจำผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานสากล (IEA) เป็นประธาน

การประชุมในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ความสำคัญกับความพยายามของรัฐบาล องค์กร สถาบันวิจัย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียอย่างเต็มที่ โดยมีขึ้นเพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยน และพูดคุยกันอย่างเป็นมิตร ในประเด็นที่มีความสำคัญอย่างการก่อตั้งโมเดลการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายต่าง ๆ ในการลดการปล่อยคาร์บอน การพัฒนาพลังงานอัจฉริยะ และความร่วมมือกันด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการกระชับความร่วมมือให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเดินหน้ารวบรวมความสำเร็จของการกำกับดูแลพลังงานสะอาดอย่างเป็นระบบ เพื่อผลักดันการร่วมสร้างชุมชนเอเชียแปซิฟิกที่มีเป้าหมายในทางเดียวกัน

ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดในครั้งนี้ มีตัวแทนเกือบ 30 รายจากคาซัคสถาน ตุรกี กัมพูชา จีน ตลอดจนประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ ร่วมลงนามและเปิดตัวโครงการริเริ่ม "การสร้างโลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ: โครงการริเริ่มการพัฒนาเอเชียที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ" (Building a Green and Low-carbon Planet: Asia Green and Low-carbon Development Initiative) ซึ่งเป็นโครงการที่เรียกร้องให้นานาประเทศในเอเชียสร้างฉันทามติร่วมกันและกระชับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานโลก การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และการสร้างโซลูชันเทคโนโลยีปลอดคาร์บอน เพื่อผลักดันให้อารยธรรมมนุษย์ก้าวหน้าต่อไป และเปลี่ยนแปลงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดคาร์บอน และร่วมกันสร้าง "โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ"