วช. หนุนงานวิจัย วว. และ มรภ. พัฒนาพื้นที่เมืองคอน ยกระดับการท่องเที่ยว ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น

23 Dec 2022

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการวิจัย "การยกระดับมาตรฐานสถานท่องเที่ยวและมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทยในภูมิภาคที่เชื่อมโยงและบูรณาการ มรภ." ของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ โครงการวิจัย "การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเส้นทางท่องเที่ยวอ่าวไทย อันดามัน และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้" ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคภาคใต้

วช. หนุนงานวิจัย วว. และ มรภ. พัฒนาพื้นที่เมืองคอน ยกระดับการท่องเที่ยว ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น

โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำ ดร.มารยาท สมุทรสาคร และ รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ นายประครอง สายจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองประเมินผลและจัดการความรู้การวิจัย ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานฯ โดยมี ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวรายงานความร่วมมือฯ ดร.สมปอง รักษาธรรม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช นางพิชญ์สินี ทัศน์นิยม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช นายวิชา คันธิก ประธานสภาตำบลปากพูน และนางจิรายุณัฐ อัจฉริยะขจร ผู้ประกอบการวันมอร์ไทยคราฟท์ กล่าวต้อนรับ ณ วันมอร์ไทยคราฟท์ ช็อกโกแลต ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปโกโก้นครศรีธรรมราช ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามงานบูรณาการงานวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (มรภ.นศ.) และ วว. เป็นโครงการความร่วมมือที่จะร่วมกันส่งเสริมและยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน ดำเนินการโดย มรภ.นศ. เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการประเภทอาหาร ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในประเภทต่าง ๆ โดยมีความร่วมมือจาก วว. ในการทดสอบ พัฒนา และรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ อันจะนำไปสู่ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้าง และการใช้องค์ความรู้ ความคิด สร้างสรรค์เชื่อมโยงกับทุนทางปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม สำหรับโครงการวิจัยดังกล่าว วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564 ให้กับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ วว. ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการเยี่ยมชมผลสำเร็จของโครงการวิจัย และรับฟังปัญหาอุปสรรค

ศาสตราจารย์ (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า โครงการวิจัย "การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเส้นทางท่องเที่ยวอ่าวไทย อันดามัน และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้" โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคภาคใต้ มี ดร.วิเชียร มันแหล่ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฯ และมีคณะมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคภาคใต้ ได้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และโครงการวิจัย "ยกระดับมาตรฐานสถานท่องเที่ยวและมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทยในภูมิภาคที่เชื่อมโยงและบูรณาการ มรภ." โดย วว. โดยมี นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ นักวิจัย วว. ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการฯ ในส่วนของการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการประเภทอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช วว. ได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน อย. ด้วย การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามงานบูรณาการงานวิจัยระหว่าง มรภ.นศ.และ วว. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่นของผู้ประกอบการจังหวัดนครศรีธรรมราช อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็ง ความแข็งแกร่ง ดังนโยบายรัฐบาล

ดร.สมปอง รักษาธรรม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กล่าวว่า โครงการวิจัย "การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเส้นทางท่องเที่ยวอ่าวไทย อันดามัน และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของดร.วิเชียร มันแหล่ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ จังหวัดนครศรีธรรมราชก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการวิจัยของโครงการดังกล่าวในพื้นที่อำเภอลานสกา ภายใต้การอำนวยการและบริหารงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ 9 แห่ง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นประธาน

ทั้งนี้ โครงการวิจัยดังกล่าวได้ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 2 นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการวิจัยที่ วช. ได้ให้การสนับสนุนต่อ วว.

กิจกรรมการตรวจเยี่ยมติดตามงานบูรณาการงานวิจัยในครั้งนี้ วว. ได้นำเสนอผลการบูรณาการงานวิจัยร่วมกับ มรภ.นศ. ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกประเภทอาหารในด้านโรงเรือน ขั้นตอนการผลิต จนได้รับมาตรฐาน อย. จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก จำปาดะกวน และลูกหยีสามรส และรวมถึงผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต ของ คณะนักวิจัยของ มรภ.นศ. ด้วย

สำหรับการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมฯ ได้ลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยม ดังนี้ 1. การเยี่ยมชมการดำเนินงานบูรณาการ มรถ.นศ. และ วว. 2. การเยี่ยมชมการดำเนินงานการยกระดับมาตรฐานการผลิตและผลิตภัณฑ์โกโก้ไทย โดย ดร.วิเชียร มันแหล่ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.นศ. และนางปริยะดา วิสุทธิแพย์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วว. เป็นหัวหน้าโครงการฯ ณ วันมอร์ไทยคราฟท์ ช็อกโกแลต ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปโกโก้นครศรีธรรมราช 3. การเยี่ยมชมและติดตามงานยกระดับมาตรฐานท่องเที่ยวชุมชน (CBT) มาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยรองรับการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยว โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ นพรัตน์ รองประธานโหนดภูมิภาคใต้ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.นศ. ณ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวลูกไม้คีรีวง และ 4. การตรวจเยี่ยมติดตามงาน การยกระดับมาตรฐานการผลิตของกลุ่มผลไม้แปรรูปคีรีวง (จำปาดะกวน ทุเรียนกวนห่อกาบหมาก และลูกหยีสามรส) โดย ดร.วิเชียร มันแหล่ หัวหน้าโครงการ มรภ. และ นางปริยะดา วิสุทธิแพทย์ หัวหน้าโครงการ วว. ณ กลุ่มผลไม้แปรรูปผลไม้คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช

HTML::image(