"บล.พาย" คาดการณ์ สัปดาห์นี้ติดตามแรงงานสหรัฐฯและเงินเฟ้อไทย

03 Jan 2023

บทวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) หรือ "Pi" "พาย" คาดการณ์ ตลาดหุ้น Dow Jones คืนวันศุกร์ปรับลดลง 0.22% ภาพรวมเป็นเพียงแรงขายปกติ ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปรับเพิ่มขึ้น 2.9% หนุนจากรายงานที่ว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯลดลง

"บล.พาย" คาดการณ์ สัปดาห์นี้ติดตามแรงงานสหรัฐฯและเงินเฟ้อไทย

สัปดาห์นี้เชื่อว่าบรรยากาศการลงทุนจะเริ่มกลับมาใกล้เคียงภาวะปกติ โดยปัจจัยในประเทศได้แก่เงินเฟ้อไทยประจำเดือน ธ.ค. ที่จะประกาศในวันพฤหัสบดี Bloomberg คาดไว้ที่ 5.9%YoY หากต่ำกว่าที่ตลาดประเมินไว้จะเป็นบวกกับตลาดหุ้นรวมถึงทิศทางของค่าเงินบาทให้คงการแข็งค่าต่อไป ส่วนต่างประเทศจะเน้นที่ (1) ในวันพุธกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของสหรัฐฯจากสถาบัน ISM Bloomberg คาดการณ์ที่ 48.6 หากออกมา เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก็เท่ากับว่าลดลงจากเดือนก่อนและลดลงติดต่อกันแล้วเป็นระยะเวลา 1 ปี สะท้อนถึงภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ย่ำแย่ ขณะที่ในวันเดียวกันจะมีการรายงานตำแหน่งเปิดรับสมัครงานในสหรัฐฯ Bloomberg คาดไว้ที่ 10.1 ล้านตำแหน่ง (3) วันศุกร์กับภาคแรงงานสหรัฐฯ Bloomberg คาดการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯไว้ที่ 2 แสนตำแหน่งและอัตราการว่างงานที่ 3.7% ส่วนปรากฎการณ์ January Effect แม้สถิติบอกไว้ว่าในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาผลตอบแทนตลาดหุ้นเดือน ม.ค. จะให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 18 ปีแต่อีก 12 ปีให้ผลตอบแทนติดลบหรือคิดเป็นความน่าจะเป็น 60% ก็ถือว่าค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามหากพิจารณาลงปะจะพบว่าหากปีไหนที่ ธ.ค. ปรับขึ้นมาแล้ว โอกาสที่ ม.ค. จะปรับขึ้นต่อเริ่มน้อยลง และหากพิจารณาลงไปในปีที่ ธ.ค ปรับขึ้นและ ม.ค. ปรับขึ้นได้แก่ช่วง (Dec 92 , Jan 93 Dec 95 , Jan 96 , Dec 01 , Jan 02 , Dec 04 , Jan 05 , Dec 11 , Jan 12 , Dec 12 , Jan 13 , Dec 16 , Jan 17 , Dec 17 , Jan 18 , Dec 20 , Jan 21 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวพบว่าตลาดหุ้นมักอยู่โซนล่างและเป็นช่วงที่ Valuation ไม่แพงซึ่งปี 22 ในเดือน ธ.ค. SET ปรับขึ้นมา 2% และ Valuation ปัจจุบันไม่ถูกเท่าใดนักจึงคาดหวัง January Effect มิได้มากในปี 2023 ส่วนเช้านี้ตลาดหุ้น Nikkei ยังคงปิดทำการเนื่องในวันหยุดปีใหม่ ประเมินกรอบทั้งสัปดาห์ที่ 1650 - 1675 เชิงกลยุทธ์การลงทุนเน้นเป็นเพียงแค่การ Trading เนื่องจากตลาดหุ้นรับรู้ปัจจัยบวกไปเยอะและระดับ Valuation ที่ไม่ถูก เน้นหุ้นที่ยังขึ้นน้อย อาทิ Bank (BBL KBANK SCB TTB) ค้าปลีก (BJC HMPRO) สื่อสาร (ADVANC INTUCH) โรงไฟฟ้า (BGRIM GPSC RATCH)

RATCH (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 55.00 บาท) คาดกำไรไตรมาส 4/22 ลดลง QoQ จากอุปสงค์ในประเทศที่ลดลงจากปัจจัยตามฤดูกาลและค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ที่สูงขึ้น ส่วนการเติบโตในเชิง YoY จะได้แรงหนุนจากกำลังการผลิต 190MWe ที่เพิ่มเข้ามาในช่วงไตรมาส 4/21-3/22

KBANK (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 180.00 บาท) คาดว่ากำไรไตรมาส 4/22 จะโตดีต่อเนื่อง YoY จาก 1) การซื้อซ้ำ MOGU MOGU ใน 4 ตลาดหลัก (ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส) 2) ยอดขายในประเทศที่ฟื้นตัว และ 3) การขยายจุดขายในยุโรป

HTML::image(