เมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา งานเสวนาในหัวข้อ "นวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการเยาวชนจีน-เมียนมา" (China-Myanmar Youth Innovation and Entrepreneurship) ภายใต้การประชุมพหุวัฒนธรรมเยาวชนระดับโลก (Global Youth Multicultural Forum) ได้จัดขึ้นทางออนไลน์โดยศูนย์การสื่อสารวัฒนธรรมนานาชาติ (Center for International Cultural Communication), ซีไอซีจี (CICG) และซิโน-ไปป์ไลน์ อินเตอร์เนชันแนล (Sino-Pipeline International) โดยผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน พร้อมทั้งเยาวชนจากจีนและประเทศอื่น ๆ ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ตลอดจนการประยุกต์ใช้และแนวปฏิบัติด้านพลังงานใหม่ผ่านทางวิดีโอลิงก์
เมย์ เกรซ (May Grace) นักวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) จากเมียนมา นำเสนอว่า การจัดการกับภาวะโลกร้อนจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน พร้อมกับนำเสนอระบบชลประทานพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีข้อดีหลายประการ เช่น ต้นทุนเชื้อเพลิงลดลง ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง และรายได้ทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างยั่งยืน
ข่ง เจ๋อ (Kong Zhe) ผู้ร่วมก่อตั้งดีไออินไซเดอร์ (Diinsider) เน้นย้ำถึงกลยุทธ์หลัก 4 ประการในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การบรรเทาผลกระทบ การปรับตัว การพัฒนาเทคโนโลยี และกลไกทางการเงิน โดยการบรรเทาผลกระทบหมายถึงกระบวนการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านกิจกรรมของมนุษย์ ส่วนการปรับตัวเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเปราะบางและเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นตัวในภาคส่วนสำคัญ ๆ เช่น การผันน้ำจืดไปยังพื้นที่ขาดแคลนน้ำ เป็นต้น ขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยีคือการพัฒนาอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น และกลไกทางการเงินหมายถึงการจัดสรรงบประมาณพิเศษสำหรับประชากรเฉพาะกลุ่ม ภายใต้การให้ทุนสนับสนุนโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
มอสตาฟีซูร์ ราฮามาน (Mostafezur Rahaman) นักวิจัยและนักออกแบบโซลูชันของบริษัท วายวาย เวนเจอร์ส (YY Ventures) เน้นย้ำว่า การรุกล้ำของน้ำทะเลอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำในบังกลาเทศมีความเค็ม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการผลิตอาหารและผลผลิตทางการเกษตร ประชากรจำนวนมากทางตอนใต้ของบังกลาเทศจำต้องย้ายเข้าเมือง ทำให้ประชากรล้นจนเกิดปัญหาทางเพศ ครอบครัว และการดำรงชีวิตตามมา นอกจากนี้ เขายังเสนอว่าเยาวชนจากส่วนอื่น ๆ ของโลกควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและหาทางแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ซิโน-ไปป์ไลน์ อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเป็นผู้ร่วมจัดงาน มีส่วนรับผิดชอบในการดำเนินโครงการท่อส่งน้ำมันและก๊าซจีน-เมียนมา (China-Myanmar Oil and Gas Pipeline Project) โครงการนี้มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมาและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ภายใต้หลักการของการบรรลุการเติบโตร่วมกันผ่านการปรึกษาหารือและความร่วมมือ ขณะเดียวกัน บริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติจีน (China National Petroleum Corporation หรือ CNPC) ก็มีความคืบหน้าในการพัฒนาพลังงานไฮโดรเจน โดยในระหว่างมหกรรมโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง 2022 บริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติจีนได้สร้างสถานีไฮโดรเจนร่วมทุนแห่งแรกสำหรับรถยนต์พลังงานใหม่ ซึ่งช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซเสียได้อย่างมาก นอกจากนั้นยังถือเป็นการนำแนวคิด "มหกรรมโอลิมปิกฤดูหนาวสีเขียว" (Green Olympic Winter Games) มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit