ปัจจุบันกว่า 70% ของการตัดสินใจทางการแพทย์ ขึ้นอยู่กับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หมายความว่าผลการตรวจของห้องปฏิบัติการมีบทบาทสำคัญในกระบวนการตรวจวินิจฉัย การดูแลสุขภาพ การสนับสนุนและการดูแลผู้ป่วยทั้งในด้านการป้องกันและรักษา ดังนั้นผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงต้องมีความถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว เพื่อให้แพทย์นำผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไปประกอบการวินิจฉัยหรือวางแผนดูแลสุขภาพผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด มีประสิทธิภาพและทันท่วงที
ในปี 2559 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากวิทยาลัยพยาธิแพทย์อเมริกัน (College of American Pathologists: CAP) ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำ ที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานด้านพยาธิวิทยาและเวชศาสตร์ชันสูตรทั่วโลก ทั้งนี้ บำรุงราษฎร์ได้รับการรับรองต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2565 นี้ วิทยาลัยพยาธิแพทย์อเมริกัน (CAP) ได้ให้การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ด้วยขอบข่ายการทำงานที่มีขีดความสามารถในการตรวจที่ละเอียดซับซ้อนมากขึ้น อาทิ การตรวจระดับพันธุกรรม ซึ่งถือเป็นการยกระดับห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในความเป็นเลิศด้านคุณภาพและความถูกต้องแม่นยำ ส่งผลทำให้ได้รับความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลการทดสอบจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า "ตลอดระยะเวลา 42 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มุ่งมั่นพัฒนาด้านคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาระบบคุณภาพในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล ให้ครอบคลุมทุกความต้องการด้านการแพทย์สำหรับโรงพยาบาลระดับจตุตถภูมิ (Quaternary Care) โดยมีการนำระบบและเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติเข้ามาใช้ในการตรวจวิเคราะห์ และนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งมอบผลการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง มีความแม่นยำสูง และรวดเร็วให้กับผู้รับบริการที่บำรุงราษฎร์ โดยยึดความปลอดภัยและประสบการณ์ที่ดีของผู้ป่วยตลอดการมารับบริการเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด"
จุดเด่นของห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประกอบด้วย
ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีห้องปฏิบัติการ ที่ให้บริการด้านจีโนมิกส์ ด้วยเทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) สามารถให้บริการครอบคลุมทั้งการทดสอบคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมของทารกในครรภ์จากเลือดมารดา การตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนที่เป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็งในคราวเดียว ทั้งจากชิ้นเนื้อ และจากเลือด นำไปสู่การวางแผนการรักษาที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยเฉพาะบุคคล (Personalized Cancer Medicine) โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถทำการเตรียมดีเอ็นเอแม่แบบ อ่านลำดับพันธุกรรม และวิเคราะห์ผลการทดสอบได้ในเครื่องเดียวตั้งแต่ต้นจนจบภายในระยะเวลาอันสั้น ประโยชน์ของการใช้ระบบอัตโนมัตินี้ คือ ลดขั้นตอน ลดระยะเวลาในการทำการทดสอบ ลดการเกิดความผิดพลาด และลดระยะเวลาการรอคอยผล จากเดิมที่เคยใช้เวลา 1 เดือน ลดลงเหลือเพียง 3 วัน ทำให้แพทย์ได้รับผลการทดสอบที่รวดเร็ว เพื่อนำไปวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit