พันธมิตรของฟิวเจอร์ มิเนอรัลส์ ฟอรัม ได้แก่ สถาบันพันธมิตรการพัฒนาและบริษัทแคลรีโอ ร่วมกันออกเอกสารฉบับใหม่ตอกย้ำความสำคัญของการจัดหาแร่ธาตุด้วยความรับผิดชอบ โดยเรียกร้องให้ใช้แนวทางของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายและหลายภาคส่วน พร้อมกับเน้นย้ำถึงบทบาทของซาอุดีอาระเบีย รวมถึงภูมิภาคแอฟริกา เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง ที่สามารถทำได้และต้องทำในฐานะหัวหอกในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ก่อนที่การประชุมฟิวเจอร์ มิเนอรัลส์ ฟอรัม (Future Minerals Forum หรือ FMF) ครั้งที่ 2 จะเปิดฉากขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม 2566 ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย สถาบันพันธมิตรการพัฒนา หรือ ดีพีไอ (Development Partner Institute หรือ DPI) และบริษัทแคลรีโอ (Clareo) ได้เรียกร้องให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่ยกระดับและพัฒนาความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเต็มกำลัง โดยเอกสารที่ออกร่วมกันได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ที่ได้มาตรฐานเดียวกัน เพื่อจัดการกับปัญหาสำคัญต่าง ๆ ไม่ใช่แค่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมกับผลักดันการสร้างเศรษฐกิจที่ปราศจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
ทั่วโลกมีมาตรฐานการรายงาน ESG มากกว่า 600 มาตรฐาน ด้วยเหตุนี้ ดีพีไอและแคลรีโอจึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการมาตรฐานความยั่งยืนสากล (International Sustainability Standards Board หรือ ISSB) ตามที่ได้ประกาศในการประชุม COP26 เมื่อปีที่แล้ว
ทั้งสององค์กรเรียกร้องให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่ใช้แนวทางที่เป็นสากลแต่ก็มีความยืดหยุ่น รวมถึงใช้มาตรฐานสากลแต่ก็ยังคำนึงถึงปัจจัยที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละท้องถิ่น โดยรูปแบบดังกล่าวจะสร้างความชัดเจนมากขึ้นในการแก้ไข "ปัญหาการรายงาน ESG ในปัจจุบัน"
ดีพีไอและแคลรีโอชี้ให้เห็นบทบาทที่ซาอุดีอาระเบียสามารถทำได้ในการสนับสนุนการพัฒนาชุดหลักการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อส่งเสริมการจัดหาแร่ธาตุอย่างเพียงพอ ย่อมเยา ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ
ด้วยการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในประเด็นเหล่านี้ ซาอุดีอาระเบียจึงอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญในการส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐบาล ชุมชน และบริษัทเหมืองแร่ พร้อมกับระบุสามส่วนหลักที่ซาอุดีอาระเบียจะสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่
คุณปีเตอร์ ไบรอันต์ (Peter Bryant) ประธานทั้งของดีพีไอและแคลรีโอ (ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม ESG) ได้สรุปในเอกสารว่า
"การจัดการกับความท้าทายนี้จำเป็นต้องอาศัยการเปลี่ยนความคิด การลงทุนในนวัตกรรม และที่สำคัญที่สุดคือแนวทางของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายที่คำนึงถึงเป้าหมายและแรงจูงใจของผู้เล่นแต่ละรายในห่วงโซ่คุณค่า"
หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม กรุณาดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3iSwWN2
ติดต่อ: โอมาร์ เชอรีน (Omar Shereen) อีเมล: [email protected] โทร: +966 50 663 0489
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1966565/Future_Minerals_Forum_Logo.jpg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit