เปิดแล้วอย่างเป็นทางการ ศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขา ม.วลัยลักษณ์

29 Jun 2022

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนและประสานความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างจีน-ไทย

เปิดแล้วอย่างเป็นทางการ ศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขา ม.วลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนและประสานความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างจีน-ไทย รวมถึงส่งเสริมนโยบาย"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง One Belt, One Road" ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีพิธีเปิดป้ายและลงนามความร่วมมือ ณ ห้องประชุมศรีธรรมราช อาคารปฏิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และผ่านระบบประชุมออนไลน์ ณ หอประชุม อาคาร Bohou มหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน วิทยาเขตกุ้ยชาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ และรองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมให้การต้อนรับ โดยได้รับเกียรติจากคุณพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ ,คุณประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสนี้ด้วย พร้อมกับคณะผู้แทนจากประเทศจีน ประกอบด้วย คุณเฉิน ซิ่งเหยียน เลขาธิการพรรค มหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน ,คุณเผิง จวุ้น อิง อุปทูตที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา สถานทูตจีนประจำประเทศไทย ,คุณเฉิน ชื่อไห่ รองประธานสมาพันธ์จีนโพ้นทะเลแห่งประเทศจีน และประธานสมาพันธ์จีนโพ้นทะเลมณฑลฝูเจี้ยน,คุณหลิว เจี้ยน สมาชิกเลขาธิการพรรคและหัวหน้ากองรองอธิบดีกรมศึกษาธิการมณฑลฝูเจี้ยนและคุณฮวง ฉ่าวหรง ผู้อำนวยการ สำนักงานต่างประเทศมณฑลฝูเจี้ยน ร่วมพิธีเปิดและกล่าวสุนทรพจน์

รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี กล่าวในโอกาสนี้ว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน จัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร ศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา การทำงานเพื่อรับใช้ภูมิภาคและมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างผู้มีความรู้ ความสามารถในระดับสากล ในขณะเดียวกัน เรามุ่งหวังที่จะสร้างรูปแบบการแลกเปลี่ยนและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับสูงกับมหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน ในด้านอาชีวศึกษา การศึกษาภาษาจีน ความร่วมมือด้านการวิจัย และการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง One Belt, One Road" และยุทธศาสตร์ "Thailand 4.0"

จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Mr.Wu Guorong อธิการบดีมหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน และคุณสุทธิกร เจียรไพฑูรย์ บริษัทโอเพ่น เอ็ดยูเคชั่น กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อร่วมกันจัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างจีน-ไทย ค้นหารูปแบบใหม่ของความร่วมมือทางการศึกษาระบบเปิดระหว่างจีนและไทยในยุคหลังโควิด-19 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมจีน-ไทย และส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษาทั้งรูปแบบปริญญาบัตรและใบประกาศนียบัตร โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ลงนาม

จากนั้นคณะแขกผู้มีเกียรติได้ร่วมกันเปิดป้าย ศูนย์กลางการเรียนรู้อาเซียน-กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยจีนโพ้นทะเล ศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และกิจกรรมโครงการอบรมวัฒนธรรมชาจีนให้แก่นักศึกษาหลักสูตรภาษาจีน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี Mr.Li Zhengguang รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน กล่าวเปิดโครงการอบรมในครั้งนี้อีกด้วย

ทั้งนี้ฝูเจี้ยนเป็นมณฑลที่อยู่แนวหน้าในการเปิดประเทศของจีนและเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยนเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาต่อเนื่องและการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศจีน และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาค มีชื่อเสียงที่ดีในสังคมและมีศักยภาพสูงในการบริหารจัดการการศึกษานานาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการสร้างสรรค์ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" การก่อตั้งวิทยาลัยจีนโพ้นทะเลของมหาวิทยาลัยเปิดฝูเจี้ยน และเลือกจัดตั้งศูนย์การศึกษาในต่างประเทศแห่งแรกในกรุงเทพฯ ประเทศไทย และศูนย์สาขามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อดำเนินความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับมหาวิทยาลัยไทยและบริษัท โอเพ่น เอ็ดยูเคชั่น กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ในหลายสาขาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาขั้นสูง นำโมเดลเชิงนวัตกรรม "อินเทอร์เน็ต + ภาษาจีน" มาใช้เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและจีน ซึ่งสอดคล้องแนวความคิด Thailand 4.0 และเป็นการสร้างสะพานเชื่อมสำหรับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรมไทย-จีน

HTML::image(