วช. ร่วมกับ จุฬาฯ ลงพื้นที่ เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้แก่ชุมชนตำบลศรีบุญเรือง จังหวัดขอนแก่น

02 Jun 2022

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ตำบลศรีบุญเรือง จังหวัดขอนแก่น ในการแก้ไขปัญหาเชิงรุกปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง โดยมี รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำ วช. เป็นประธานเป็นผลงานโครงการวิจัยที่ได้สนับสนุนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการ เรื่อง "แนวทางการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำระดับชุมชนในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม" โดย นายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งมี นายพงษ์ศักดิ์ ชลชี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบุญเรือง ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย นายวิรัตน์ วัฒสุข ประธานกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ คณะกรรมการองค์กรผู้ใช้น้ำ ต.ศรีบุญเรือง อบต.ศรีบุญเรือง คณะกรรมการองค์กรผู้ใช้น้ำ ต.เมืองเพีย แกนนำชุมชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ และสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

วช. ร่วมกับ จุฬาฯ ลงพื้นที่ เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้แก่ชุมชนตำบลศรีบุญเรือง จังหวัดขอนแก่น

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เล็งเห็นความสำคัญของแนวทางการพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ 33 ตำบล 15 จังหวัดใน 5 ภูมิภาคเพื่อช่วยยกระดับองค์กรผู้ใช้น้ำในการวางแผนน้ำของพื้นที่ที่จะสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในอนาคตการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน วช. ได้สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี การพัฒนาระบบข้อมูลน้ำชุมชนผ่านระบบ DATA STUDIO เพื่อสนับสนุนการทำข้อมูล TWR ในการบริหารจัดการน้ำชุมชนผ่านองค์กรผู้ใช้น้ำและเกิดแผนน้ำชุมชนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (ปี พ.ศ. 2558-2569) ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ร่วมกับแกนนำชุมชน และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเก็บข้อมูลชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยการใช้แอพพลิเคชันในการจัดเก็บข้อมูลแหล่งต้นทุนน้ำของชุมชนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดการบริหารทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบซึ่งการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น การสร้างคันกั้นน้ำระบบดินซีเมนต์ หรือเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเพื่อใช้ในการควบคุมการเคลื่อนตัวของมวลน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมและกักเก็บน้ำระดับพื้นที่ลดความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีส่วนช่วยในการบริหารจัดการน้ำซึ่งนับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของนวัตกรรมภายใต้การบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนได้อย่างและยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริต  คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำ วช. กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำที่เน้นให้ทุกภาคส่วนของสังคมรู้ถึงคุณค่าของน้ำ ใช้น้ำอย่างมีเหตุผลเพื่อให้ทรัพยากรน้ำมีใช้อย่างทั่วถึงก่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดซึ่งในการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากระบบคันดินซีเมนต์ป้องกันน้ำท่วมและกักเก็บน้ำเพื่อสร้างรูปธรรมระดับพื้นที่จังหวัดขอนแก่นนั้น คันกั้นน้ำนั้นยังสามารถใช้ในการป้องกันพื้นที่นอกเขื่อนจากภัยน้ำท่วมการสร้างชั้นป้องกันการซึมผ่านของน้ำที่สันเขื่อนโดยการเติมทรายหรือดินการสำรวจรายละเอียดพื้นที่และทำการศึกษาสภาพฐานรากของท้องลำห้วยหรือร่องน้ำการออกแบบโดยทั่วไปจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงพื้นที่ในการจัดสร้างให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานโดยเฉพาะการออกแบบตามหลักวิชาการ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีส่วนช่วยจากงานวิจัยในการใช้ระบบฐานข้อมูลในการขึ้นทะเบียนองค์กรผู้ใช้น้ำ สร้างกรรมการลุ่มน้ำระดับชุมชน ชุมชนต้องมึความพร้อมในการเขียนโครงการเพื่อขึ้นทะเบียนองค์กรผู้ใช้น้ำก่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุมชนได้อย่างเหมาะสมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้จะนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำแนวทางปฏิบัติในชุมชนในพื้นจังหวัดขอนแก่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป

นายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาภัยแล้งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และกระจายตัวไปในทุกภูมิภาคของประเทศ ที่ผ่านมาแนวทางการแก้ไขปัญหาเน้นการจัดการแบบรวมศูนย์โดยหน่วยงานของรัฐทำให้การแก้ไขปัญหาและการวางแผนบริหารจัดการน้ำไม่ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่ พื้นที่นอกเขตชลประทานการใช้น้ำของคนในชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันบริหารจัดการที่เป็นระบบนำไปสู่แนวทางการพัฒนากลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมใน 33 ตำบล 15 จังหวัด ใน 5 ภูมิภาค ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยและศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคในรูปแบบกองทุนเพื่อจัดการน้ำชุมชน การสร้างระบบคันดินซีเมนต์ป้องกันน้ำท่วมและการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำโดยการทำถนนคันกั้นน้ำ นำไปสู่ประโยชน์มากมายต่อชุมชนส่งผลต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ของทุกสิ่งมีชีวิตบริเวณนั้น ๆ ตามแนวทางโครงการพระราชดำริสร้างความอุดมสมบูรณ์ในระดับพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

นายวิรัตน์ วัฒสุข ประธานกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ กล่าวถึง ปัญหาในพื้นของการใช้น้ำในตำบลศรีบุญเรืองนำไปสู่การแก้ไขปัญหาแนวคิดแผนชุมชนในการบริหารจัดการน้ำ ทีมนักวิจัยได้เข้ามามีส่วนช่วยในการทำข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลน้ำที่เป็นรูปธรรม จากการร่วมมือของทุกภาคส่วน แก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ได้อย่างแท้จริง

ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แกนนำชุมชนในพื้นที่ได้นำเสนอข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อพัฒนากลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำพร้อมทั้งลงพื้นที่เยี่ยมชมพื้นที่รูปธรรมจุดที่ 1 ระบบคันดินซีเมนต์ป้องกันน้ำท่วมและกักเก็บน้ำ และเยี่ยมชมพื้นที่รูปธรรมจุดที่ 2 การเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำโดยการทำถนนคันกั้นน้ำ การบริหารจัดการน้ำที่ตอบโจทย์กับพื้นที่เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ของทีมวิจัยและชุมชนนำไปสู่แนวทางการบริหารจัดการน้ำในอนาคตได้อย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะช่วยกันดูแลรักษาและฟื้นฟูแหล่งน้ำให้คงอยู่เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต

วช. ร่วมกับ จุฬาฯ ลงพื้นที่ เร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้แก่ชุมชนตำบลศรีบุญเรือง จังหวัดขอนแก่น