ภาวะมีบุตรยากจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุลไม่ได้เกิดแต่ในฝ่ายหญิงเพียงฝ่ายเดียว แต่ยังเกิดขึ้นได้ในฝ่ายชาย ซึ่งหากผู้ชายมีฮอร์โมนที่ไม่สมดุลจะส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากเช่นกัน โดยผู้ชายที่ประสบปัญหามีบุตรยาก และพยายามมีลูกมาหลายปี แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จสักที ส่วนใหญ่มีปัญหามาจากคุณภาพของสเปิร์ม ซึ่งอัณฑะจะสร้างสเปิร์มออกมา โดยการทำงานของระบบการสร้างสเปิร์มนั้นถูกควบคุมโดยฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน หากผู้ชายมีฮอร์โมนเพศไม่สมดุลก็จะส่งผลต่อระบบการผลิตน้ำเชื้อ และปัญหาสุขภาพ
"ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์" กรรมการ บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจ BabyAndMom.co.th เพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์และโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยาก ให้ข้อมูลว่า "ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรน" (Testosterone) คือ ฮอร์โมนเพศหลักในตัวผู้ชายที่ผลิตโดยลูกอัณฑะหลังได้รับการกระตุ้นจากต่อมใต้สมอง มีหน้าที่ในการพัฒนาลักษณะทางกายภาพให้ตัวคุณดูแมนสมชายชาตรี คอยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมไปถึงระบบการสร้างสเปิร์ม
โดยฮอร์โมนเพศชายมีความสำคัญต่อแทบทุกระบบในร่างกายของผู้ชาย โดยมีหน้าที่คงความแข็งแรงและรักษามวลกล้ามเนื้อ รักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือด การสลายไขมัน และการสร้างอสุจิ ทำให้เกิดขนตามร่างกายและใบหน้า และควบคุมลักษณะความเป็ชาย เสียงทุ้ม ไหล่กว้าง ช่วยให้เกิดความต้องการทางเพศ เพิ่มขนาดของอวัยวะเพศและอัณฑะเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ
ฮอร์โมนต่ำ ไม่สมดุล จะเกิดอะไรขึ้น ?
"ครูก้อย นัชชา" ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้ชายที่มีอายุมากขึ้น ฮอร์โมนเพศชายจะค่อยๆ ลดลงตามธรรมชาติ โดยผู้ชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป เทสโทสเตอโรนจะเริ่มลดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อระบบความต้องการ สมรรถนะและการแข็งตัว การผลิตและสร้างน้ำเชื้อ ทำให้ส่งผลต่อการมีบุตรยาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งไลฟ์สไตล์ อาหารการกิน พักผ่อนน้อย ความเครียด และการออกกำลังกายหนักหรือน้อยมากเกินไป ล้วนส่งผลให้ร่างกายผลิตเทสโทสเตอโรนได้น้อยลงเช่นกัน หากฮอร์โมนเพศชายต่ำเกินมาตรฐาน จะเรียกว่าภาวะ Hypogonadism ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและอารมณ์ ดังนี้
วิธีเพิ่มฮอร์โมนชายตามธรรมชาติ
แม้จะไม่สามารถหยุดอายุที่เพิ่มมากขึ้นและการลดลงของฮอร์โมนเพศชายได้ แต่การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง ก็มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างเทสโทสเตอโรนให้อยู่ในระดับที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนทำเป็นประจำอยู่แล้ว ได้แก่
การออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายได้ โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ทั้งยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงและลดความเครียดได้อีกด้วย
ตามการวิจัยระบุว่าการกินโปรตีนอย่างเพียงพอ จะเป็นประโยชน์สำหรับฮอร์โมน รวมถึงสุขภาพด้วย ซึ่งโปรตีนมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สำหรับว่าที่คุณพ่อที่มีบุตรยาก สาเหตุอาจมาจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไม่สมดุล ดังนั้นต้องทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายได้ โดยอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ หอยนางรม พืชตระกูลถั่ว เมล็ดฟักทอง ส่วนแมกนีเซียมนั้นพบได้มากในผักปวยเล้ง อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วลิสง
งานวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่าฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกิดจากความเครียดอาจไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเพศชายได้ จึงควรพยายามจัดการกับความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ทำสมาธิ ฝึกการหายใจ ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เป็นต้น
จากการศึกษาพบว่าการนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลง ทั้งยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันอีกด้วย
ทั้งบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ สองอย่างนี้มีผลทำให้ลูกอัณฑะฝ่อ อสุจิไม่แข็งแรง เสื่อมสมรรถภาพ และร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ตามปกติ
วิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยเพิ่มการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและบำรุงสเปิร์ม ได้แก่ เอล- อาร์จินีน (L-Arginine) , Hardigen (Natural Nano Zinc L- Methionine) , Sodium ascorbate, โคเอนไซม์คิว10 (CO Q10 ),ไนอะซิน (Niacinamide) หรือ วิตามินบี3 (Vitamin B3) ,วิตามินอี (Vitamin E) , ซีลีเนียม อะมิโน แอซิด คีเลต (Selenium Amino Acid Chelate), วิตามินบี 6 (Vitamin B6), วิตามินบี 12 (Vitamin B12), วิตามินบี1 (Vitamin B1),ไรโบฟลาวิน (RIBOFLAVIN) หรือ Vitamin B2 และ กรดโฟลิก (FOLIC ACID) เป็นต้น
อย่างไรก็ตามควรเลือกทานอาหารเสริมที่ได้คุณภาพมารตรฐานการผลิตและได้รับการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งสามารถศึกษาความรู้สำหรับผู้มีบุตรยากของฝ่ายชาย และรวมถึงโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยากได้ที่เว็บไซต์ หรือเฟซบุ๊กเพจภายใต้ชื่อเดียวกัน BabyAndMom.co.th ดังนั้นหากกำลังเตรียมตัวเป็นคุณพ่อต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรง ปรับฮอร์โมนให้สมดุลด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น เบบี๋มาไม่นานเกินรอ ครูก้อย นัชชา กล่าว.
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit