ปัญหามีบุตรยากสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยภาวะมีบุตรยากกลายเป็นปัญหาของคู่แต่งงานหลายคู่ในปัจจุบัน พบได้ประมาณ 10-20% ในประเทศไทยและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ภาวะนี้คือ การที่คู่สมรสฝ่ายหญิงอายุน้อยกว่า 35 ปี ไม่สามารถมีลูกได้ทั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2- 3 ครั้ง โดยไม่ได้คุมกำเนิดอย่างน้อยเป็นเวลา 12 เดือน โดยคู่สมรสที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คุมกำเนิด จะมีโอกาสตั้งครรภ์ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 12 เดือน หรือคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ไม่สามารถมีลูกได้ ภายในเวลา6 เดือนทั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ได้คุมกำเนิด
ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ กรรมการ บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจ BabyAndMom.co.th เพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์และโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยากเผยว่า ปัญหามีบุตรยากพบในฝ่ายหญิงประมาณ 40 % ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากฝ่ายหญิงมีอายุมาก ภาวะไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตัน เนื้องอกมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และพบในฝ่ายชายประมาณ 25 % เช่น อสุจิน้อย ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เป็นต้น หรือพบปัญหาจากทั้ง 2 ฝ่าย 20% และไม่ทราบสาเหตุประมาณ 15 %
โดย "ครูก้อย นัชชา" กล่าวเสริมว่า จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับผู้มีบุตรยาก และให้คำปรึกษาผู้มีบุตรยากในการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์และการปรับโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ พบว่ามีหลายครอบครัวประสบปัญหามีบุตรยากมาจากฝ่ายชาย โดยปัญหาที่พบบ่อยคือ คุณภาพของสเปิร์ม มีจำนวนสเปิร์มน้อย การเคลื่อนไหวแหวกว่ายผิดปกติ สเปิร์มมีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยทั้งปัจจัยภายในร่างกายที่เกิดจากพันธุกรรมและโรคประจำตัว และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
โดยคุณภาพของสเปิร์มที่เกิดจากพันธุกรรมและโรคต่างๆ ได้แก่
โดยจะมีปัญหามีบุตรยากเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรมที่เรียกว่า Klinefelter's syndrome ซึ่ง โครโมโซมเพศจะมีลักษณะ XXY พัฒนาการของลูกอัณฑะผิดปกติ การสร้างตัว อสุจิลดน้อยลง และระดับของฮอร์โมนเพศชายลดลง
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคหนองในแท้และโรคติดเชื้อคลามัยเดีย การติดเชื้อทำให้ทางเดินน้ำอสุจิเกิดภาวะตีบแคบ และมีผลต่อการสร้างตัวอสุจิอีกด้วย
ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายสร้างสารที่เป็นอันตรายต่ออสุจิ หรือ การได้รับสารเคมีบางชนิดที่อาจเข้าสู่ร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ตะกั่ว ทองแดง ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
นอกจากนี้ "ครูก้อย นัชชา" ได้รวบรวม 8 พฤติกรรมปัญหาสเปิร์มด้อยคุณภาพที่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันในฝ่ายชาย ได้แก่
1.การทานอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
จากการศึกษางานวิวิจัย พบว่าผู้ชายที่อ้วน ส่งผลต่อการลดลงของคุณภาพสเปิร์มทั้งในด้านจำนวน และ การวิ่ง ฮอร์โมนเพศชายต่ำ โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Public Health, Population, Reproductive and Sexual Health เมื่อปี 2018 เปิดเผยว่า การรับประทานอาหารส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของทั้งหญิงและชาย โดยควรหลีกเลี่ยงการทานไขมันอิ่มตัว(Saturated fat) หรือ ไขมันทรานส์ งดหวาน (น้ำตาล) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีบุตรยาก (Infertility) เพราะทำให้เซลล์เสื่อมและแก่ ให้เน้นทานพวกธัญพืชไม่ขัดสี ผักผลไม้ และ โปรตีนจากปลา ซึ่งส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงและส่งผลให้สปิร์มมีคุณภาพมากขึ้นในผู้ชาย
2.สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ทำให้การผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและการสร้างตัวอสุจิน้อยลง มีการศึกษามากมายที่พบว่า การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของเชื้ออสุจิ โดยทำให้ความเข้มข้นของเชื้ออสุจิลดลง การเคลื่อนที่ของเชื้ออสุจิแย่ลง ทำให้เชื้ออสุจิที่มีรูปร่างปกติมีจำนวนลดลง และทำให้ DNA ภายในเซลล์อสุจิเกิดความเสียหายได้
3.การดื่มสุรามากจนเกินไป
การดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย นานๆ ครั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในองค์รวม แต่หากดื่มบ่อยๆ และมากไปจะเริ่มส่งผลมากขึ้น และส่งผลต่อความสามารถในการผลิตสเปิร์มด้วย มีการงานวิจัย ศึกษาพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวัน ส่งผลต่อการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น 60% เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะได้จากการดื่มเหล้า ไวน์หรือเบียร์นั้น จะส่งผลต่อการผลิตสเปิร์ม ทำให้ผลิตสเปิร์มได้น้อย และสเปิร์มที่ผลิตออกมาไม่มีคุณภาพ มีรูปร่างผิดปกติ ซึ่งไม่สามารถเข้าไปเจาะไข่ได้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยาก
4.ติดกาแฟ
มีผลวิจัยจากโรงพยาบาลกลางมลรัฐแมสซาชูเซตส์ที่ได้จากการเก็บข้อมูลระหว่างปี 2550-2556 พบว่า สามีที่ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนประมาณ 265 มิลลิกรัมต่อวัน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมีบุตรยาก มีความเสี่ยงที่จะทำให้ภรรยาตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น เนื่องจากการกินกาแฟในปริมาณที่มากทำให้หลั่งอสุจิได้น้อยลง โดยปริมาณการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มคาเฟอีนที่เหมาะควรอยู่ที่ 88 มิลลิกรัมต่อวัน
5.นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ
จากงานวิจัยเรื่อง Sleep, Circadian Rhythms, and Fertility ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชายสมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอติซอล เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับด้วย
นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยเรื่อง Sleep Can Affect Male Fertility ของ Boston University School of Public Health เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าการนอนที่เพียงพอนั้นควรนอนหลับ 7-8 ชม.ต่อวัน ผู้ชายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม.หรือ นอนมากกว่า 9 ชม.ต่อวัน ส่งผลต่อโอกาสในการทำให้คู่ของตนเองตั้งครรภ์ลดลง 42% ในแต่ละรอบเดือน
6.ความเครียด
ความเครียดจะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนในร่างกายหลายตัว รวมถึงฮอร์โมนเพศที่ใช้ผลิตอสุจิทำงานผิดปกติ และส่งผลทำให้อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว ดังนั้น เราควรพยายามทำจิตใจให้สบาย และหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด ไม่จมอยู่กับงานหรือปัญหามากจนเกินไป
7.การออกกำลังกายมากเกินไป
การออกกำลังช่วยให้การไหลเวียนของเลือดสูบฉีดได้ดี ระบบต่างๆ ทำงานได้เต็มที่ แต่การออกกำลังกายมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดความตึงเครียดสะสมภายในกล้ามเนื้อ แล้วพอสะสมไปมากๆ ก็จะทำให้เกิดความเครียด จนหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนเสียสุขภาพจิต ร่างกายอ่อนล้าตลอดทั้งวัน ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำมีผลทำให้การผลิตอสุจิลดลง มีผลทำให้ความต้องการทางเพศลดลง จึงควรที่จะต้องควบคุมการออกกำลังกายให้อยู่ในระดับที่พอดี
8. ความร้อน
อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นบริเวณถุงอัณฑะส่งผลกระทบต่อการผลิตอสุจิ ทั้งเกิดจากการสวมกางเกงหรือชั้นในที่บีบรัดถุงอัณฑะมากเกินไป หรือ การทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่ต้องเสียดสีบริเวณถุงอัณฑะเป็นเวลานาน เช่น ปั่นจักรยาน ขี่มอเตอร์ไซด์ รวมถึงการอบซาวน่า ล้วนส่งผลกระทบต่อการผลิตอสุจิ
ดังนั้น คุณสามีที่มีพฤติกรรมดังกล่าวควรจูงมือภรรยาเข้าปรึกษาแพทย์ทั้งคู่ เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุ โดยในฝ่ายหญิงแพทย์จะตรวจวิเคราะห์ผลเลือด ฮอร์โมน และอัลตราซาวน์มดลูกและรังไข่ ส่วนฝ่ายมีการตรวจวิเคราะห์ผลเลือด และตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ โดยงดเว้นการหลั่งอสุจิอย่างน้อย 3 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน โดยทางการแพทย์จะตรวจประเมินตามเกณฑ์ 4 ข้อ ได้แก่
อย่างไรก็ตามหากคุณสามี เริ่มไม่ฟิตปั๋ง คุณภาพของสเปิร์มไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ทั้งปริมาตร จำนวน การเคลื่อนไหว และรูปร่างมีปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น สามารถปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นได้ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ งดแอลกอฮอลล์ งดบุหรี่ ลดกาแฟ พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายจากความเครียดและออกกำลังกายให้สม่ำเสมอไม่หักโหมจนเกินไป
นอกจากนี้ผู้ชายที่มีปัญหาคุณภาพสเปิร์มและมีบุตรยากที่ต้องการบำรุงเพื่อเพิ่มคุณภาพของสเปิร์ม สำหรับเตรียมมีบุตรหรือเตรียมเข้าสู่กระบวนการแพทย์เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว สามารถเลือกทานอาหารเสริมเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของสเปิร์มได้ โดยสังเกตบนฉลากของอาหารเสริมว่ามีส่วนผสมของสารสกัดหรือวิตามินเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่ เอล- อาร์จินีน (L-Arginine) , Hardigen (Natural Nano Zinc L- Methionine) , Sodium ascorbate,โคเอนไซม์คิว10 (CO Q10 ),ไนอะซิน (Niacinamide) หรือ วิตามินบี3 (Vitamin B3) ,วิตามินอี (Vitamin E) , ซีลีเนียม อะมิโน แอซิด คีเลต (Selenium Amino Acid Chelate), วิตามินบี 6 (Vitamin B6), วิตามินบี 12 (Vitamin B12), วิตามินบี1 (Vitamin B1),ไรโบฟลาวิน (RIBOFLAVIN) หรือ Vitamin B2 และ กรดโฟลิก (FOLIC ACID) ซึ่งสารสกัดเหล่านี้มีฤทธิ์ในการเพิ่มความฟิตปั๋ง และเพิ่มคุณภาพของสเปิร์ม แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยควรเลือกทานอาหารเสริมที่ได้คุณภาพมารตรฐานการผลิตและได้รับการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งสามารถศึกษาความรู้สำหรับผู้มีบุตรยากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง รวมถึงโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยากได้ทที่เว็บไซต์ หรือเฟซบุ๊กเพจภายใต้ชื่อเดียวกัน BabyAndMom.co.th ครูก้อย นัชชา กล่าว.
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit