สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้เกิด "ต้นแบบผู้ประกอบการเกื้อกูลสังคม" ที่พร้อมร่วมเป็นพันธมิตรขับเคลื่อน "สังคมอินทรีย์" เดินหน้า จัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ให้ผู้ประกอบการกลุ่มนำร่อง กว่า 20 องค์กร พร้อมพัฒนา TOCA Platform และ Earth Points เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ สวนสามพราน จ.นครปฐม
คุณอรุษ นวราช นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย หรือ Thai Organic Consumer Association (TOCA) กล่าวถึงการผลักดันให้เกิดต้นแบบผู้ประกอบการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ว่า TOCA ได้จัดกิจกรรมเวิร์คช็อป เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สามารถซื้ออย่างเข้าใจ ได้มารู้จักเครื่องมือ TOCA Platform ที่ไม่ใช่แค่แพลทฟอร์มซื้อขายสินค้า แต่ยังสามารถบันทึกกิจกรรมจัดการขยะได้ด้วย รวมถึงการทำการตลาดด้วยระบบ Earth Points เพราะเราต้องการเชื่อมโยงผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร และศูนย์การประชุม กับเกษตรกรอินทรีย์ที่อยู่บน TOCA Platform ให้มาเป็นพันธมิตรซื้อวัตถุดิบอินทรีย์โดยตรงจากเกษตรกรและตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้าได้
"ในการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ สิ่งที่เน้น คือ ต้องเข้าใจว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นไปตามฤดูกาล และอาจมีความเสี่ยงทางธรรมชาติ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องซื้ออย่างเข้าใจ สิ่งที่ควรจะทำคือ ผู้ประกอบการและเกษตรกรร่วมวางแผนการผลิตและรอบการจัดส่งให้สอดรับกับความต้องการซื้อขาย เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ต่อเนื่อง หรือสามารถปรับเมนูให้มีความยืดหยุ่น" คุณอรุษ กล่าว
สำหรับผู้ประกอบการที่มาเข้าร่วมขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ นอกจากจะได้ประโยชน์ด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพ ด้านการตลาด ยังช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกร สร้างความยั่งยืนในชุมชนด้วย ซึ่งมีการบันทึกข้อมูลการซื้อสินค้าอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะได้ประโยชน์ด้านการตลาดจาก TOCA Platform ซึ่งมีการบันทึกข้อมูลการซื้อสินค้าอินทรีย์ สามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเลขหรือวัดค่าผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และในระยะต่อไปกำลังพัฒนาให้สามารถคำนวณคาร์บอนฟุตปริ้นท์ได้ด้วย เพื่อช่วยตอบโจทย์ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร
ปัจจุบัน มีเกษตรกรอินทรีย์ลงทะเบียนอยู่ใน TOCA Platform กว่า 1,000 ราย ส่วนผู้ประกอบการมีกว่า 60 ราย สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ อาทิ Thai and country sport club, Sivatel Bangkok, Dusit International, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติติ์, RakXa Village Sampran, The Athenee Hotel, a Luxury Collection Hotel Bangkok, RakXa Wellness & Medical Retreat, มูลนิธิใบไม้เขียว, สยามเบย์ชอร์ รีสอร์ทพัทยา, Grand Hyatt Erawan Bangkok, Reignwood Park, บริษัท อาร์ดับบลิว เวลเนส จำกัด, Canalis Suvarnabhumi Airport Hotel, Novotel Bangkok Bangna, Pukpun Life เหล่านี้เป็นต้น
คุณกิตติมา สุขโชค Assistance Director of F&B Development ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันให้ความสำคัญกับความยั่งยืนอย่างมาก ดังนั้น การดูแลสิ่งแวดล้อมจึงอยู่ในความสนใจด้วย โดยเฉพาะในส่วนของเศรษฐกิจมีเรื่องของ green procurement เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่การจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่เกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งในเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องดูต้นทางตั้งแต่แหล่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อจะลดปัญหาปลายทางโดยเฉพาะขยะย่อยสลายยาก โครงการนี้ตรงกับนโยบายของศูนย์ฯ หากสามารถจัดหาวัตถุดิบจากท้องถิ่นเหล่านี้มาสู่ผู้บริโภคได้จะดีแน่นอน สำหรับ TOCA Platform มีข้อดีคือใช้งานง่าย และเห็นว่าตั้งใจให้ครบวงจร ทั้งในส่วนระบบการจัดซื้อวัตถุดิบอินทรีย์ และแอพพลิเคชั่นการจัดการของเสีย
ด้าน คุณสุกัญญา อุดมทรัพย์ Purchasing Manager The Athenee Hotel, a Luxury Collection Hotel Bangkok กล่าวว่า ทางโรงแรมมีนโยบายสนับสนุนสินค้าท้องถิ่นโดยเฉพาะสินค้าอินทรีย์ ซึ่งที่นี่ใช้ข้าวออร์แกนิกทั้งหมดอยู่แล้ว สำหรับ TOCA Platform ที่นำเสนอมาต้องให้เชฟช่วยคิดว่ามีอะไรที่สามารถสั่งซื้อต่อเนื่องได้ทุกสัปดาห์ เพื่อใช้เป็นตัวตั้งหรือโจทย์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปวางแผนผลิต เช่น ผลไม้ที่สามารถวางแผนจัดการได้ อย่างสับปะรด แตงโม มะละกอ ทุกโรงแรมใช้แน่นอน อย่างไรก็ตามคิดว่า TOCA Platform เป็นแพลทฟอร์มที่มีความน่าสนใจ
คุณกฤษฎา เตชะมนตรีกุล Vice President Portfolio Management and Managing Director Dusit Foods กล่าวว่า กลุ่มดุสิตฯ จัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบอินทรีย์ในเครือข่ายของ TOCA อยู่แล้ว และคิดว่าน่าจะยกระดับให้เพิ่มขึ้นได้อีก เนื่องจากกลุ่มดุสิต มีโรงแรมกว่า 10 แห่งกระจายอยู่ทุกภาคในประเทศไทย ที่ผ่านมามีการซื้อข้าวออร์แกนิกโดยตรงจากเกษตรกรทุ่งกุลาร้องให้ และมองว่าน่าจะเพิ่มจำนวนการสั่งซื้อพืชผักออร์แกนิกมากขึ้นได้ เพราะการซื้อโดยตรงกับเกษตรกร โดยตัดพ่อค้าคนกลาง น่าจะช่วยให้การทำธุรกิจเกิดขึ้นได้ เพราะราคาจะไม่แพงเกินไป และมีกระจายอยู่ในหลากหลายพื้นที่ รวมทั้ง การมี TOCA Platform ที่ช่วยรวมกลุ่มเกษตรกรเอาไว้ น่าจะทำให้การบริหารจัดการทำได้ง่ายขึ้น
TOCA Platform เปิดโอกาสในการเชื่อมห่วงโซ่ของเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร ผู้บริโภค ให้สามารถซื้อขายสินค้าอินทรีย์ พร้อมรับคะแนนสะสม Earth Points แลกรับโปรโมชันต่างๆ ได้ สนใจมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งขับสังคมอินทรีย์กับสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ติดต่อ 098-3915896 หรือ Line OA: TOCA Platform ที่ลิงค์นี้ https://lin.ee/5AobBje และติดตามได้ที่ Facebook: TOCA Platform
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit