สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565

01 Feb 2022

สถานที่สำคัญกว่า 100 แห่งใน 32 ประเทศทั่วโลกร่วมเปิดไฟส่องสว่างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ประจำวันวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลก (World NTD Day) ที่จัดขึ้นเป็นปีที่สามเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ประกอบด้วยเบลล์ทาวเวอร์ในเมืองเพิร์ธ, โตเกียวทาวเวอร์, กำแพงเมืองจีน, สถานีรถไฟนิวเดลี, สะพานชีดซาเอดในอาบูดาบี, เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ, ศูนย์การประชุมนานาชาติเคนยาตตา, โคลอสเซียมในกรุงโรม, น้ำพุแฌโด, น้ำตกไนแอการา, ซีเอ็นทาวเวอร์, ห้องสมุดประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ และกริชตูเรเดงโตร์

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565

นอกจากนี้ ยังมีไฮไลท์จากสถานที่สำคัญในประเทศเฉพาะถิ่นต่าง ๆ เช่น บังกลาเทศ, บราซิล, บุรุนดี, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, เอธิโอเปีย, กานา, อินเดีย, เคนยา, ไลบีเรีย, เม็กซิโก, ไนเจอร์, ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์, รวันดา, ซูดานใต้ และซูดาน ตามที่ประกาศไว้ที่เมืองอาบูดาบีเมื่อปี 2552 โดย "ไฟที่ส่องสว่าง 100 ดวง" นี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย (NTDs) และสนับสนุนเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในการกำจัดโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย อย่างน้อยหนึ่งรายการจาก 100 ประเทศเฉพาะถิ่นภายในปี 2573

วันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกเป็นการเคลื่อนไหวระดับโลกที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นชุมชนด้านสุขภาพทั่วโลกและร่วมมือกับสาธารณชนในความพยายามอย่างเร่งด่วนเพื่อการยุติโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย โดยในปีนี้ องค์กรเพื่อความร่วมมือในการต่อต้านโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย (Uniting to Combat NTDs) ได้อาศัยโอกาสนี้เพื่อเปิดตัวแคมเปญความมุ่งมั่น 100% (100% Committed Movement) ซึ่งทุ่มเททั้งทางการเมืองและการเงินเพื่อสนับสนุนปฏิญญาคิกาลีว่าด้วยโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย (Kigali Declaration on NTDs)

โธโก พูลลีย์ กรรมการบริหารของ Uniting to Combat NTDs กล่าวว่า "จากความสำเร็จของปฏิญญาลอนดอนว่าด้วยโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และการตระหนักถึงภูมิทัศน์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป เราจึงตั้งใจที่จะใช้วันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกในปีนี้เพื่อเป็นตัวเร่งการขับเคลื่อน เราได้เปิดตัวแคมเปญความมุ่งมั่น 100% ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวระดับโลกเพื่อจัดหาทรัพยากรสำหรับการรักษาโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และที่สำคัญอย่างยิ่งคือเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเป็นผู้นำทางการเมืองและความเป็นเจ้าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยจากประเทศที่ได้รับผลกระทบ ผ่านการรับรองและการสนับสนุนจากผู้ที่ลงนามเบื้องหลังปฏิญญาคิกาลีว่าด้วยโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยฉบับใหม่"

ด้วยความพยายามทางการทูตของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพื่อให้วันดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการร่วมกับประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกหลายประเทศ ทำให้วันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม 2564 มกุฎราชกุมารแห่งอาบูดาบียังคงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความร่วมมือและการสนับสนุน วันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกผ่านโครงการ Reaching the Last Mile (RLM) ซึ่งเป็นโครงการด้านสุขภาพระดับโลกที่เน้นการเร่งความก้าวหน้าในการกำจัดโร ซึ่งขับเคลื่อนโดยความมุ่งมั่นส่วนพระองค์

นัซซาร์ อัล มูบารัค ผู้อำนวยการอาวุโสประจำราชสำนักมกุฎราชกุมารแห่งอาบูดาบีกล่าวว่า "วันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกถือเป็นตัวเร่งที่สำคัญในการแปลงความตระหนักไปสู่การปฏิบัติ โดยประชาชนทั่วไปไม่เพียงแต่จำเป็นต้องตระหนักรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเหล่านี้ แต่เหล่าผู้บริจาค ประเทศเฉพาะถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ต้องร่วมมือกันเพื่อยุติโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยในประเทศที่ได้รับผลกระทบ มีความก้าวหน้าอย่างมากในการยุติโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หนึ่งในห้าของผู้คนในชุมชนที่เปราะบางที่สุดทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากโรคที่ป้องกันและรักษาได้ เรามีความยินดีที่ได้เห็นวันนี้เป็นเวทีสำหรับการสร้างความตระหนักรู้ผ่านแคมเปญความมุ่งมั่น 100% และความพยายามต่าง ๆ เช่นการเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ เราหวังว่าการเคลื่อนไหวนี้จะยังคงได้การตอบรับและช่วยจุดประกายความร่วมมือและพันธสัญญาใหม่ที่จำเป็นต่อการเอาชนะโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย"

โรคเขตร้อนที่ถูกละเลยเป็นกลุ่มของโรคติดต่อที่สามารถป้องกันและรักษาได้ แต่ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 1.7 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งเป็นเด็กจำนวนกว่า 1 พันล้านคน และมี 20 โรคที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมาก ทำให้ร่างกายทรุดโทรม พิการ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ โรคเขตร้อนที่ถูกละเลยสร้างวงจรของความยากจนและทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีค่าใช้จ่ายหลายพันล้านดอลลาร์ทุกปี

https://worldntdday.org/

รูปภาพ
1. https://mma.prnewswire.com/media/1736850/Expo_2020_Dubai_Al_Wasl_Plaza___Credit_Chris_Pike.jpg
2. https://mma.prnewswire.com/media/1736843/Rome_Colosseum___Credit_Alessio_Rubicondi.jpg
3. https://mma.prnewswire.com/media/1736837/Canada_Niagara_Falls___Credit_Lucas_Claxton___GiantShoeCreative.jpg
4. https://mma.prnewswire.com/media/1736848/Philippines_SM_MALL_OF_ASIA_GLOBE_Credit___Erwin_Barleta.jpg
5. https://mma.prnewswire.com/media/1736849/Great_Wall_of_China__Simatai___Credit_WTown.jpg
6. https://mma.prnewswire.com/media/1736840/UAE_Emirates_Palace___Credit_Jonathan_Gibbons.jpg
7. https://mma.prnewswire.com/media/1736841/The_Helmsley_Building_in_New_York.jpg
8. https://mma.prnewswire.com/media/1736844/Rwanda_Kigali_Convention_Centre___Credit_Andre___Rugema.jpg
9. https://mma.prnewswire.com/media/1736839/UNESCO_World_Heritage_Kinderdijk_Mills___Credit_Sylvia.jpg
10. https://mma.prnewswire.com/media/1736845/Kenya_Kenyatta_International_Convention_Centre___Credit_Lameck_Ododo.jpg
11. https://mma.prnewswire.com/media/1736838/Canada_CN_Tower___Credit_Jonathan_Gazze.jpg
12. https://mma.prnewswire.com/media/1736855/Christ_the_Redeemer_in_Brazil__Credit_Roberto_Antunes.jpg
13. https://mma.prnewswire.com/media/1736846/Leaning_Tower_of_Pisa___Credit_Vanessa_Salvati.jpg
14. https://mma.prnewswire.com/media/1736847/New_Delhi_Railway_Station_in_India.jpg
15. https://mma.prnewswire.com/media/1736842/Tokyo_Tower___Credit_Yoshiaki_Miura.jpg

คำบรรยายภาพ
1. เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ อัล วาซล์ พลาซ่า - เครดิต_Chris Pike
2. โคลอสเซียมในกรุงโรม - เครดิต_Alessio Rubicondi
3. น้ำตกไนแอการาที่แคนาดา - เครดิต_Lucas Claxton - GiantShoeCreative
4. ลูกโลกที่เอสเอ็ม มอลล์ ออฟ เอเชียในฟิลิปปินส์ - เครดิต_Erwin Barleta
5. กำแพงเมืองจีน - เครดิต_WTown
6. ราชวังแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ - เครดิต_Jonathan Gibbons
7. อาคารเฮล์มสลีย์ในนิวยอร์ก
8. ศูนย์การประชุมนานาชาติรวันดา คิกาลี - เครดิต_Andre Rugema
9. กังหันคินเดอร์ไดก์มรดกโลกยูเนสโก - เครดิต_Sylvia
10. ศูนย์การประชุมนานาชาติเคนยาตตา - เครดิต_Lameck Ododo
11. ซีเอ็น ทาวเวอร์ในแคนาดา - เครดิต_Jonathan Gazze
12. กริชตูเรเดงโตร์ในบราซิล - เครดิต_Roberto Antunes
13. หอเอนเมืองปิซา - เครดิต_Vanessa Salvati
14. สถานีรถไฟนิวเดลีในนิวเดลี
15. โตเกียวทาวเวอร์ - เครดิต_Yoshiaki Miura

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินหน้าแคมเปญยุติโรค NTD จัดกิจกรรมเปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ทั่วโลกในวันโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยโลกประจำปี 2565