ความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจละเยาวชนคนรุ่นใหม่คือเทคโนโลยีที่จะส่งผลต่ออนาคตของเยาวชนและการขับเคลื่อนสังคมเศรษฐกิจ องค์ความรู้คือภูมิคุ้มกันสำคัญที่จะทำให้ประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองให้อยู่รอดได้ในยุคดิจิทัลที่การตลาดออนไลน์เข้ามามีบทบาท จึงจำเป็นต้องเรียนรู้จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยน และสร้างความสำเร็จบนเส้นทางของธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
จากการสำรวจเบื้องต้นของมูลนิธิเด็กโสสะฯ ซึ่งมีเยาวชนอยู่ในความดูแลประมาณ 80 คน พบว่าเยาวชนจำนวนหนึ่งสนใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ และความต้องการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของยุทธศาสตร์ "Empower young people" ของมูลนิธิฯ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน ซึ่งจะเป็นกำลังหลักในการก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานและการประกอบอาชีพ
การส่งเสริมศักยภาพเยาวชนให้มีทักษะดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะโลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาทส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อขายให้ย้ายมาอยู่บนโลกออนไลน์ อีกทั้งสตาร์ทอัพ (StartUp) ธุรกิจเล็กๆ ที่อาจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด รวมไปถึงธุรกิจอี คอมเมิร์ซ (E-Commerce) , เดลิเวอรี่ (Delivery) ที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็ประกอบธุรกิจได้ และด้วยปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม (Platfo) มากมายที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจง่ายขึ้น ดังนั้นเยาวชนควรที่จะมีทักษะองค์ความรู้เหล่านี้เป็นต้นทุน
นอกเหนือจากการสร้างผลิตภัณฑ์และการหาวิธีทางการตลาด อีกเครื่องมือหลักที่จะต้องเรียนรู้หากจะทำธุรกิจคือ Business Model Canvas (BMC) โดยอาจารย์ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม ที่ปรึกษาอาวุโส Food Innopolis สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้หลักการวิเคราะห์การตลาดอย่างรอบด้านทั้ง 9 หัวข้อ
BMC จะทำให้เห็นทั้งจุดเด่น จุดด้อย อะไรเหลืออะไรขาด เห็นภาพรวมของธุรกิจได้ชัดเจน และทำให้เกิดความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญ BMC จะพาไปหาคำตอบที่ว่าทำไมผู้ซื้อถึงต้องเลือกเรา
เมื่อการขายของออนไลน์กลายเป็นเรื่องง่าย จึงทำให้มีผู้ค้าออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย คู่แข่งขันก็ดุเดือด การทำธุรกิจสินค้าออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ จึงจำเป็นต้องสร้างคอนเทนต์ (Content) สื่อสารไปที่กลุ่มเป้าหมายอย่างตรงประเด็น และต้องรู้จักใช้เครื่องมือในการทำการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่พื้นฐานการใช้เครื่องมือการตลาดออนไลน์ , การวางโครงสร้างสื่อ , การใช้สื่อและการจัดทำแผนสื่อ , การสร้างเพจ และการยิงแอด อาจารย์เดชา วัฒนสุพงษ์ (โค้ชหมี) กรรมการผู้จัดการบริษัท คิดมีฤทธิ์ จำกัด กล่าวว่า ในการทำการตลาดออนไลน์ต้องมีเทคนิคในการขาย และหนึ่งในเทคนิคคือ การนำเสนอในจังหวะ และช่วงเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นการวางกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกในการทำการตลาดออนไลน์ เพราะจะทำให้สามารถวางกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ได้อย่างแม่นยำ เช่น การทำคอนเทนต์ได้โดนใจตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างไม่พลาดเป้า
เมื่อมีผู้ขายบนโลกออนไลน์มากขึ้น Storytelling หรือการสร้าง Story จะทำให้เราต่างและโดดเด่นสามารถเพิ่มโอกาสในการขายได้โดยการสร้างเรื่องราว ในมุมมองที่แตกต่างจากตลาดทั่วไป อาจารย์นราธิป อ่ำเที่ยงตรง กรรมการบริหาร บริษัท ฮาบิ 32 จำกัด กล่าวว่าทริคในการสร้าง Story คือ ให้คิดเป็นภาพออกมาว่า อยากให้ธุรกิจ-ผลิตภัณฑ์ของเรามีคาแรคเตอร์แบบไหน และเพื่อมอบคุณค่านี้ให้ใคร คนนั้นมีบุคลิกอย่างไร ? ต้องมีการปรับเปลี่ยนหยิบยกเรื่องราวมาทำเป็นคอนเทนต์ให้ดึงดูด จากนั้นก็ลุยใช้เครื่องมือออนไลน์ทำการตลาดต่อไป เมื่อเรารู้จักคุ้นเคยกับบุคลิกของกลุ่มลูกค้าเราเป็นอย่างดี ก็จะนำมาซึ่งการรับรู้ถึงการตอบสนองความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่ว่าจะบวกหรือลบ ก็จะสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์-ธุรกิจให้เติบโตควบคู่กันไป
Hard Skills คือความรู้ และทักษะที่ใช้ในการทำงานประกอบอาชีพซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละสายอาชีพ แต่ Soft Skills คือทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน การทำงานเป็นทีม รวมไปถึงภาวะอารมณ์การตัดสินใจเมื่อเจอกับสถาการณ์ปัญหาต่างๆ จากการได้พูดคุยกับผู้ประกอบการ นายจ้างจำนวนมากต้องการพนักงานที่มี Soft Skills เช่น ความสามารถในการสื่อสาร ทักษะในการเป็นผู้นำ รู้ว่าตอนไหนควรเป็นผู้นำ สถานการณ์เช่นไรควรนำแบบไหน และต้องรู้จักเป็นผู้ตามที่ดีเช่นกัน ควรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สร้างสรรค์ ซึ่งหมายรวมถึงการคิดหาวิธีแก้ปัญหา ที่สำคัญสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้
มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นอกจากจะสร้างครอบครัวทดแทนถาวรระยะยาวให้กับน้องๆ ที่สูญเสียบิดา มารดา ไร้ญาติมิตร มูลนิธิฯ ยังมุ่งเน้นพัฒนาเพิ่มศักยภาพเยาวชนให้มีทักษะที่จะสามารถพึ่งพาตัวเองได้สู่สังคมอย่างมีคุณภาพ เพราะเยาวชนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมเศรษฐกิจในอนาคต แต่การที่จะเป็นผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพควรได้รับการส่งเสริมทักษะที่สอดคล้องกับสถานการณ์สังคมในปัจจุบัน มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติ "โครงการส่งเสริมศักยภาพเยาวชนสู่การเป็นผู้ประกอบการ" (Entrepreneurship Workshop) เมื่อมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ให้กับเยาวชนอายุระหว่าง 20-23 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่า จากหมู่บ้านเด็กโสสะทั้ง 5 แห่ง โดยได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มาให้ความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับเยาวชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเพิ่มศักยภาพตามช่วงวัย ที่ต้องเตรียมพร้อมสู่โลกของการทำงาน เป็นรากฐานในการช่วยสร้างความเจริญทั้งในด้านสังคมและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป
ชมคลิป https://fb.watch/cu8XpsUs3g/
ร่วมสนับสนุน เด็กๆ ทุกคนให้เติบโตด้วยความรัก อย่างพึ่งพาตนเองได้อีกครั้ง https://www.sosthailand.org/donate
HTML::image(
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit