Q & A เรื่องควรรู้... เมื่อหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

25 Apr 2022

  • Q : อัตราการเต้นของหัวใจปกติเป็นอย่างไร?
  • A : ในขณะนั่งพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นเป็นประมาณ 80-100 ครั้งต่อนาที และในขณะวิ่งจะเต้นมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
  • Q : ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะคืออะไร?
  • A : ภาวะที่หัวใจมีอัตราการเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติไม่เหมาะสมกับสภาพของร่างกายในขณะนั้น ซึ่งอาจมีจังหวะการเต้นที่ผิดปกติร่วมด้วย หัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเป็นความผิดปกติในอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น เต้นเร็วเกินไป หรือเต้นช้าเกินไป ก็ได้
  • Q : ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นช้ามีอาการอย่างไร?
  • A : ถ้าเป็นน้อยก็จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง ถ้าเป็นมากขึ้นก็จะมีอาการเหนื่อยแม้ในขณะพัก ถ้าเต้นช้าขั้นรุนแรงจะมีอาการหน้ามืด หมดสติ หรือเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นได้ ควรรีบพบแพทย์โรคหัวใจเพื่อตรวจวินิจฉัยดีที่สุด
  • Q : ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นเร็วมีอาการอย่างไร?
  • A : ในรายที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จะมีอาการใจสั่น, หัวใจเต้นเร็วและแรง,เหนื่อย, หน้ามืด, วูบหมดสติ, เจ็บหน้าอก, อ่อนเพลีย, หัวใจล้มเหลว หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด ควรรีบพบแพทย์โรคหัวใจเพื่อตรวจวินิจฉัยดีที่สุด
  • Q : จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติ?
  • A : ขณะเกิดอาการให้ตรวจวัดชีพจรดูว่ามีอัตราเร็วเท่าไรและมีจังหวะการเต้นสม่ำเสมอหรือไม่ ก็พอจะบอกได้ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่มีอาการ ซึ่งนอกจากจะบอกได้ว่าความรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดปกตินั้นใช่ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจริงหรือไม่ ยังสามารถบอกชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติได้อีกด้วย
  • Q : เราจะมีวิธีการตรวจหาสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างไร?
  • A : การตรวจเช็กสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติในหัวใจโดยใช้สายสวนหัวใจ (EP Study) และค้นหาตำแหน่งของการเกิดวงจรไฟฟ้าภายในหัวใจได้ที่เรียกว่า Carto System เพื่อช่วยให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Q : ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรักษาอย่างไร?
  • A : การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรคโดยมีทางเลือกในการรักษาดังนี้* การใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ* การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker)* การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator : ICD)* การฝังเครื่องกระตุ้น/กระตุกไฟฟ้าหัวใจชนิดปรับการทำงานกล้ามเนื้อหัวใจให้บีบตัวประสานงานกัน (cardiac resynchronization therapy; CRT)* การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (ablation therapy)
Q & A เรื่องควรรู้... เมื่อหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

อ่านรายละเอียดและข้อมูลการรักษาเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/readcenter_clinic/10

HTML::image(