ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคการศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญของการพัฒนาประเทศ รวมถึงภาครัฐที่มีบทบาทต่อการสนับสนุนให้การดำเนินกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว และมี
ผลิตภาพ สอดรับกับกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 13 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อพลิกโฉมประเทศไทย หรือ เปลี่ยนแปลงประเทศขนานใหญ่ ภายใต้แนวคิด Resilience มุ่งลดความเปราะบาง และสร้างความพร้อมต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตต่าง ๆ สามารถเติบโตและอยู่รอดได้ท่ามกลางความท้าทาย"ตามด้วยการประกาศผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2564 โดย ประธานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ซึ่งในปีนี้มีองค์กรที่ได้รับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 14 องค์กร ดังนี้ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด (บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด เคยได้รับรางวัล TQC ในปี 2549, 2555 - 2557)รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม (Thailand Quality Class Plus: Innovation - TQC Plus: Innovation) จำนวน 2 องค์กร ได้แก่1) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล2) บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัดรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus: Customer - TQC Plus: Customer) จำนวน 1 องค์กร ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านบุคลากร (Thailand Quality Class Plus: People - TQC Plus: People) จำนวน 2 องค์กร ได้แก่1) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2) โรงพยาบาลพญาไท 2รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class: TQC) จำนวน 8 องค์กร ได้แก่1) เขื่อนสิริกิติ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย2) คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล3) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น4) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม5) บริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด6) มหาวิทยาลัยมหิดล7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์8) โรงไฟฟ้าวังน้อยพร้อมกล่าวถึงผลลัพธ์และกลยุทธ์ในการสนับสนุนให้รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับยกระดับศักยภาพในการบริหารจัดการ และเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรไทยทุกขนาดและทุกภาคส่วน ให้พร้อมรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลงในอนาคตนอกจากนี้ ผศ.ดร.อธิศานต์ วายุภาพ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ยังได้กล่าวรายงานบทบาท และการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2564 - 2565 ว่า "ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ได้ดำเนินบทบาทเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนและยกระดับศักยภาพขององค์กรไทยอย่างเต็มกำลังความสามารถ มุ่งตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ โดยเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินตนเองขององค์กร ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท และทุกขนาด เพื่อสร้างความพร้อมต่อการเติบโตขององค์กร ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงสุดท้าทาย ทั้งภายในและภายนอก ยิ่งกว่านั้นในปีนี้ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ยังได้ถูกนำไปปรับใช้อย่างครอบคลุม โดยมีองค์กรจากหลายภาคธุรกิจ ประกอบด้วย ภาคการผลิต การบริการ การสาธารณสุข การศึกษา รวมถึงภาครัฐ และภาครัฐวิสาหกิจ สมัครขอรับรางวัลสูงกว่าเป้าหมาย นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการส่งเสริมให้มีการใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติอย่างแพร่หลายทุกภาคส่วน"ทั้งนี้ ผศ.ดร.อธิศานต์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแผนการดำเนินงานของสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2565 ที่สำคัญ อย่างการจัดตั้ง สถาบัน TQA Academy ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้องค์กรไทยนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ไปปรับใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการอย่างเข้าใจ ผ่านการส่งมอบองค์ความรู้ เทคนิค เครื่องมือ เพื่อพัฒนาองค์กรและบุคลากรไทยในด้านต่าง ๆ อย่างครอบคลุม ภายใต้ความพยายามที่ไม่หยุดนิ่งของทุกฝ่าย คือ ส่วนสำคัญที่ทำให้ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award) ยังคงสถานะเป็นรางวัลอันทรงเกียรติ พร้อมทำหน้าที่ขับเคลื่อนองค์กรไทยและประเทศชาติให้ก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง บนเส้นทางแห่งความเป็นเลิศ
HTML::image(