การ์ทเนอร์เผยผลสำรวจล่าสุด พบพนักงานสายไอทีมีแนวโน้มลาออกจากงานที่ทำอยู่มากกว่าพนักงานสายอื่น ๆ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานสายอื่น ๆ กลุ่มไอทีมีความตั้งใจอยู่ต่อกับองค์กรเดิมน้อยกว่าถึง 10.2% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดของทุกสายงานทั้งหมดขององค์กร
การ์ทเนอร์ได้สำรวจลูกจ้างจำนวน 18,000 คนทั่วโลก ช่วงไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นพนักงานในสายงานไอทีจำนวน 1,755 คน โดยได้รวบรวมคำตอบเป็นรายเดือนจาก 40 ประเทศ ใน 15 ภาษา
เกรแฮม วอลเลอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยและนักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า "การรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้ทำงานต่อกับองค์กรเป็นเรื่องน่ากังวลของผู้บริหารระดับสูง และเป็นปัญหามาอย่างยาวนานของผู้บริหารด้านไอที (CIOs) เนื่องจากทีมงานของพวกเขาจำนวนมากสุ่มเสี่ยงที่จะลาออก เรารู้ว่าบริษัทไอทีที่นำนโยบายการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศมาใช้ต้องพบกับปัญหาการลาออกของทีมงานเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องกลับมาทบทวนถึงการใช้แนวทางดังกล่าว ผู้บริหารไอทีอาจต้องปรับรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากกว่าแผนกอื่น ๆ ในองค์กร เนื่องจากแนวโน้มที่พนักงานไอทีจะลาออกนั้นมีสูงกว่า และเชี่ยวชาญการทำงานผ่านระยะไกลมากกว่าพนักงานส่วนใหญ่"
เพียง 29.1% ของพนักงานไอทีทั่วโลกเท่านั้นที่มีความตั้งใจทำงานต่อกับนายจ้างปัจจุบัน ยิ่งในเอเชียมีตัวเลขที่ต่ำมากเพียง (19.6%) ขณะที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อยู่ที่ (23.6%) และละตินอเมริกาที่ (26.9%) หรือแม้แต่ในยุโรป ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพการทำงานดีที่สุด กลับพบว่ามีพนักงานไอทีเพียง 4 ใน 10 คน (38.8%) ที่ตั้งใจอยู่กับองค์กรเดิม
ความท้าทายในการรักษาทีมงานไอทีระดับหัวกะทิแตกต่างกันไปตามกลุ่มอายุและภูมิภาค ตัวอย่างเช่น พนักงานไอทีที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ตามรายงานระบุว่ามีโอกาสที่จะทำงานต่อกับที่เดิมมีน้อยกว่ากลุ่มที่อายุมากกว่า 50 ปีถึง 2 เท่าครึ่ง ในขณะที่เพียง 19.9% ของพนักงานกลุ่มอายุ 18-29 ปี เท่านั้น ที่ตั้งใจทำงานต่อในองค์กรเดิมสูง เมื่อเทียบกับ 48.1% ของพนักงานที่มีอายุ 50-70 ปี
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่นและยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric) สามารถลดปัญหาการลาออกและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ เมื่อปี พ.ศ. 2564 การ์ทเนอร์ได้สำรวจพนักงาน 3,000 คน ครอบคลุมอุตสาหกรรม สายงาน และภูมิภาคต่าง ๆ พบว่า 65% ของพนักงานไอทีบอกว่าการทำงานที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวส่งผลต่อการตัดสินใจอยู่ทำงานต่อกับองค์กร
นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า ผู้บริหารไอทีควรใช้แนวทาง Data-Driven วิเคราะห์พนักงานที่สุ่มเสี่ยงต่อการลาออกและระบุว่าใครมีคุณค่าต่อองค์กรมากที่สุด พร้อมปรับนโยบายการทำงานให้มีความผสมผสานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเพิ่มประสิทธิภาพในหมู่พนักงานให้สูงขึ้น
รูปแบบการทำงานที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human - Centric) สามารถช่วยพัฒนาต่อยอดความสามารถของทีมงานระดับหัวกะทิรวมถึงสร้างผลตอบแทนให้ธุรกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารไอทีทบทวนถึงประเด็นต่าง ๆ ของรูปแบบการทำงานที่ล้าสมัย และจำกัดความก้าวหน้าขององค์กรโดยไม่มีความจำเป็น ดังต่อไปนี้:
"ผู้บริหารไอทีที่นำแนวทางการทำงานแบบยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric) มาปรับใช้จะสามารถหลุดพ้นจากกรอบเดิม ๆ ทั้งในเรื่องของการจ้างงาน การรักษาบุคลากร และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่หวนกลับไปสู่กระบวนทัศน์ต่าง ๆ ของการทำงานยุคอุตสาหกรรม" วอลเลอร์กล่าวสรุป
ข้อมูลการสำรวจตลาดแรงงานทั่วโลก (Global Labor Market Survey) ของการ์ทเนอร์ รวบรวมและสรุปคำตอบมาจากพนักงานมากกว่า 18,000 คนใน 40 ประเทศ ซึ่งเป็นพนักงานสายไอที จำนวน 1,755 คน ณ ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2564 โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะตลาดแรงงานรายไตรมาส เรียนรู้ด้านการจัดลำดับความสำคัญสูงสุดสำหรับผู้บริหารไอทีในปี 2565 ได้ที่ 2022 Leadership Vision for Chief Information Officers.
เกี่ยวกับ Gartner for Information Technology Executives
Gartner for Information Technology Executives นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้จริงแก่ผู้บริหารและผู้นำด้านไอที สำหรับช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ขับเคลื่อนองค์กรก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ชมข้อมูลเพิ่มเติมคลิก www.gartner.com/en/information-technology
ติดตามข่าวสารและข้อมูลล่าสุดจาก Gartner for IT Executives ได้ที่ Twitter และ LinkedIn. หรือเยี่ยมชมที่ IT Newsroom
เกี่ยวกับการ์ทเนอร์
บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit