ศูนย์สำรวจความคิดเห็น
บ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,143 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 5 - 9 มีนาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่างผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่จะมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เสียงสะท้อนของคนกรุงเทพมหานครในด้านปัญหาต่างๆ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย 2. สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร 3. แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ 4. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย 5. วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร 6. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และกฎหมายอื่นๆ ในส่วนของของสภากรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบในการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และมีอำนาจตรวจสอบติดตามการบริหารของฝ่ายบริหาร ด้วยการตั้งกระทู้ถาม เสนอญัตติ เปิดอภิปรายทั่วไป และโดยเฉพาะการทำหน้าที่ผ่านคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากได้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติที่มีความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด ร้อยละ 26.2 อันดับสองคือมีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 16.5 อันดับสามคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 16.2 อันดับสี่คือมีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 13 และอันดับห้าคือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ร้อยละ 10.2อยากได้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มีคุณสมบัติที่มีความซื่อสัตย์โปร่งใสมากที่สุด ร้อยละ 29.6 อันดับสองคือมีความขยันทุ่มเทในการทำงาน ร้อยละ 20.1 อันดับสามคือมีการปฏิบัติงานให้เห็นเป็นรูปธรรม ร้อยละ 14.3 อันดับสี่คือมีการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ ร้อยละ 13.9 และอันดับห้าคือมีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 8.4ในส่วนของนโยบายที่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญอันดับหนึ่งคือ ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 27.4 อันดับสองคือด้านศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาเมือง ร้อยละ 15.9 อันดับสามคือด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 14.7 อันดับสี่คือด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 14 และอันดับห้าคือด้านการจราจรและขนส่งมวลชน ร้อยละ 12.3กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ปัญหาการคอรัปชั่น ร้อยละ 33.3 อันดับสองคือ ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ร้อยละ 12.8 อันดับสามคือ ปัญหาสถานบริการฝ่าฝืนกฎหมาย ร้อยละ 10.6 อันดับสี่คือ ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 10.1 และอันดับห้าคือ ปัญหาการจัดการน้ำเสีย ร้อยละ 9.7กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จากกลุ่มหรือพรรคการเมืองร้อยละ 35.2 รองลงมาคือตัวผู้สมัคร ร้อยละ 32.5 และนโยบายการพัฒนา กทม ร้อยละ 32.3