สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โชว์ศักยภาพการจัดงานสุดยิ่งใหญ่ "สถาปนิก'65 (Architect'22)" ภายใต้แนวคิด CO-WITH CREATORS: พึ่งพา-อาศัย ประกาศความมั่นใจเดินหน้าเต็มที่ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ก้าวต่อในยุคโควิด ตั้งเป้าผู้เข้าชมงานตลอด 6 วัน แตะ 3 แสนคน คาดเม็ดเงินสะพัดหลังจบงานกว่า 2 หมื่นล้านบาท ด้านผู้แสดงสินค้าชั้นนำจากไทยและต่างประเทศ กว่า 450 บริษัท ตบเท้านำทัพนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างร่วมงานเต็มพื้นที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ชูไฮไลท์พื้นที่จัดแสดงรูปแบบพิเศษ "Thematic Pavilion" ครั้งแรกของการจัดงานสถาปนิกที่จะได้เห็นผลงานสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่าง "ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ x ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง" เพื่อกระตุ้นไอเดียสร้างสรรค์ และมอบประสบการณ์ใหม่ให้ปีนี้ไม่เหมือนเดิม
นายชนะ สัมพลัง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานในพิธีแถลงข่าวฯ เปิดเผยว่า การจัดงานสถาปนิกในทุก ๆ ปี ถือว่ามีส่วนสำคัญในการช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมออกแบบ-ก่อสร้าง สถาปัตยกรรมของประเทศไทย และเป็นสื่อกลางที่ดีที่สุดให้กับคนในแวดวงและผู้บริโภคได้มาเจอกัน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ในวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม และเป็นเวทีที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนางานด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมไทยที่มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอ จนเป็นสัญลักษณ์ของการจัดงานที่ทุกคนจดจำ สำหรับ ปีนี้ มีความพิเศษและยิ่งใหญ่กว่าเดิม เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้ก้าวเดินหน้าต่อในยุคโควิด โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ และการพึ่งพาอาศัยศักยภาพของกันและกัน ระหว่างสถาปนิก x นักสร้างสรรค์ (Creators) ในสาขาอาชีพต่าง ๆ จนเกิดการ Cross-culture และ Cross-function นำมาสู่แนวคิดหลักของงาน คือ "CO-WITH CREATORS: พึ่งพา-อาศัย" โดยแนวคิดนี้มาจากประธานจัดงาน 3 ท่าน จาก 3 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เล็งเห็นความสำคัญของการ "พึ่งพา-อาศัย" จากการได้ทำงานร่วมกันท่ามกลางแนวคิด ภาษา และวัฒนธรรมที่แตกต่าง ระหว่างสถาปนิกและนักสร้างสรรค์ในสาขาอาชีพอื่น ๆ จากภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในมุมมองสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ หรือ เรื่องราวใหม่ ๆ ที่อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน และมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน คือ การต่อยอดและพัฒนางานในอุตสาหกรรมออกแบบ-ก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม อย่างไม่สิ้นสุด
นายปองพล ยุทธรัตน์ ประธานจัดงาน ตัวแทนสถาปนิกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ภายในงานสถาปนิก ปีนี้จะพามาร่วมสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ผ่านนิทรรศการไฮไลท์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ อย่าง "PROFESSIONAL COLLABORATION" ออกแบบโดยความร่วมมือของ "ปกรณ์ อยู่ดี / วิภาดา อยู่ดี X ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย" ซึ่งเป็นพาวิลเลียนสำหรับจัดแสดงแนวความคิดและการทำงานร่วมกันในรูปแบบ Co-Creation ระหว่างสถาปนิกและนักสร้างสรรค์จากทั่วประเทศ จำนวน 12 คู่ ที่มาร่วมออกแบบ 12 นิทรรศการในพื้นที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ กับผลงานในรูปแบบหุ่นจำลอง (Model) ภาพถ่ายแนวความคิด และสื่อวิดีทัศน์
ขณะที่ นายอิศรา อารีรอบ ประธานจัดงาน ตัวแทนสถาปนิกภาคเหนือ กล่าวว่า นอกจากนั้น ยังมีพาวิลเลียมอื่น ๆ ที่พลาดไม่ได้ อาทิ CO-WITH COVID เป็นผลงานสร้างสรรค์ระหว่าง "สาริน นิลสนธิ X ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ" พื้นที่จัดแสดงที่ต้องการนำเสนอทางเลือกในการเดินหน้าไปสู่การดำเนินชีวิตแบบปกติใหม่อย่างมั่นคง ท่ามกลางการระบาดที่เกิดขึ้น ผ่านแนวคิดการออกแบบ โดยหยิบยกเอาอัตลักษณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีความเฉพาะตัวอย่างลวดลาย สีสันอันประณีต ความอ่อนช้อย และเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มาร่วมขัดเกลาให้ภาพรวมของพาวิลเลียนมีความลึกซึ้ง สื่อความหมาย และพาวิลเลียน "CO-BREATHING HOUSE" (LOCAL INNOVATION) ของ "คำรน สุทธิ X จีรศักดิ์ พานเพียรศิลป์" ที่ถูกออกแบบพื้นที่ภายในเป็นห้องต่าง ๆ โดยใช้ผนังกั้นที่กลมกลืนไปกับวัสดุพื้นถิ่นและเลือกเล่นกับผัสสะ หรือ ประสาทสัมผัสของมนุษย์ ผ่านภาพ เสียง สัมผัส เพื่อให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุพื้นถิ่นในแต่ละภาค รวมถึงอัตลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง
นายราชิต ระเด่นอาหมัด ประธานจัดงาน ตัวแทนสถาปนิกภาคใต้ กล่าวว่า สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้เตรียมกิจกรรมไฮไลท์อื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ASA INTERNATIONAL FORUM และ ASA SEMINAR เวทีสัมมนาในรูปแบบ Hybrid Forum ซึ่งเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่เป็นสถาปนิกและนักออกแบบชั้นนำจากเมืองไทยและระดับโลก ASA MEMBER นิทรรศการผลงานสถาปนิก สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ASA CLUB จุดนัดพบและพื้นที่พักผ่อนประจำของชาวสถาปนิก รวมถึง ASA NIGHT งานสังสรรค์ตามประเพณีของเหล่าสมาชิก
ด้าน นายศุภแมน มรรคา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะผู้จัดงานฯ กล่าวว่าสถาปนิก'65 เป็นงานจัดแสดงนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และครบครันที่สุดในอาเซียน ถือเป็น 1 ในงานจัดแสดงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้แสดงสินค้าและผู้ชมงานจากทั่วโลก โดยปีนี้มีบริษัทที่ตอบรับเข้าร่วมจัดแสดงเต็มพื้นที่กว่า 50,000 ตารางเมตร รวมกว่า 450 บริษัท แบ่งเป็นผู้จัดแสดงสินค้าจากต่างประเทศกว่า 5% อาทิ อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ อินเดีย มาเลเซีย ฯลฯ
ทั้งนี้ การจัดงานในปีนี้มีการจัดแสดงพื้นที่ในรูปแบบพิเศษ "Thematic Pavilion" เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นความร่วมมือกันระหว่าง "ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ x ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง" ที่นำผลิตภัณฑ์ของแต่ละแบรนด์มาสร้างสรรค์เป็นพื้นที่จัดแสดงที่เทียบเคียงกับงานดีไซน์ระดับโลก เพื่อมุ่งสร้างประสบการณ์พิเศษที่ไม่เหมือนทุก ๆ ปี ให้กับเหล่านักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ผู้จัดแสดงสินค้า และผู้เข้าชมงาน พร้อมยกระดับการจัดงานสู่สากล อาทิ ผลงานสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่าง VG x PHTAA ที่นำเสนอพื้นที่แบบบ้านทรงไทยยกใต้ถุน โดยใช้วัสดุรางน้ำฝนและหลังคาไวนิล TOA X ARiA Design Architects ที่เล่นกับรูปทรงประหลาดตาอันแสดงถึงศักยภาพของวัสดุที่ส่งเสริมการออกแบบอย่างยั่งยืน WDC X ACa ตีโจทย์การออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยในห้องต่าง ๆ ออกมาเป็น Conceptual Space ผ่านวัสดุกระเบื้องหลายรูปแบบ และ EDL x Sher Maker ผลงานออกแบบที่ชวนให้มองถึงแง่มุมในการใช้วัสดุแบบใหม่ ๆ ผ่านพื้นที่ปิดล้อมเชิงประสบการณ์
ทางด้านความพร้อมของผู้แสดงสินค้าต่างเตรียมขนทัพผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานงานด้านดีไซน์ และนวัตกรรมเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ และไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของผู้อยู่อาศัย อาทิ เทรนด์ Health & Wellness ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ประเภท Hygienic Product อย่าง TOA Organic Care สีที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติแทนปิโตรเลียม ไร้สารก่อภูมิแพ้ กลิ่นอ่อนพิเศษ ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก USDA สหรัฐอเมริกา รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย จาก TOA, ลามิเนตที่สามารถต้านเชื้อไวรัสได้ถึง 100% รายแรกของโลก จาก GREENLAM LAMINATES, นวัตกรรมผ้า Anti-microbial Collections ที่บรรจุคุณสมบัติพิเศษด้วยเทคโนโลยีจากสวิสเซอร์แลนด์ ยับยั้งเชื้อไวรัสได้ 96% และแบคทีเรียได้ถึง 99% จาก PASAYA
นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมจากต่างประเทศอีกมากมาย อาทิ แผงโซลาร์เซลล์ Tesla และ Powerwall ที่ช่วยให้ผลิตไฟฟ้าไว้ใช้งานเป็นของตนเองได้ จาก SOLAR D, ผลิตภัณฑ์หินตกแต่งจากบราซิล โดย RICA STONE & MARBLE, ชุดครัว อ่างล้างมือ และแผ่นตกแต่งปิดผิว โดยทีมนักออกแบบชาวญี่ปุ่น จาก sanwacompany และการประชันระหว่างเครื่องมือช่างแบรนด์อันดับหนึ่งจากฝั่งอเมริกาและญี่ปุ่น อย่าง BLACK+DECKER และ MAKITA, APTICO วัสดุปิดผิวนำเข้าจากประเทศออสเตรีย ด้วยเทคโนโลยีพื้นผิวสัมผัสเนื้อแมตต์ (Ultra-matt Finish) คุณภาพระดับ Food Grade สามารถป้องกันรอยนิ้วมือและรอยขีดข่วนต่าง ๆ ลบรอยขีดข่วนได้ด้วยความร้อน ป้องกันแบคทีเรีย กันสารเคมี ทำความสะอาดได้ง่าย จาก EDL
ในส่วนของแบรนด์ดังที่มาร่วมจัดแสดงภายในงาน อาทิ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ - ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด นำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด "SCG for Smart Living, Smart City" สัมผัสกับนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยทั้งในบ้าน อาคาร และเทคโนโลยีการก่อสร้างจาก SCG ที่จะช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสำหรับวันนี้และในอนาคต สำหรับพื้นที่จัดแสดงภายในงานสถาปนิก'65 จะมีไฮไลท์ คือ โซนนิทรรศการ "Dwell Well อยู่ได้ อยู่ดี" ที่จัดแสดงโซลูชันที่หลากหลายที่ไม่เพียงตอบโจทย์การอยู่อาศัยและการก่อสร้างในยุคปัจจุบัน แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์เมืองที่น่าอยู่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และ บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด นำเสนอ สี JORAKAY BIOSPHERE PREMIUM ที่อยู่ในกลุ่มของสี Natural Color ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ Lime Base ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดโลกร้อนโดยการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลาแห้งตัว ช่วยระบาย และถ่ายเทความร้อนได้ดี ทนต่อทุกสภาพอากาศ มลภาวะและรังสี UV ไม่มีกลิ่นของสารระเหย (NON VOCs) และปราศจากสารก่อมะเร็ง (No Formaldehyde) ปลอดภัยกับสุขภาพ เข้าอยู่ได้ภายใน 24 ชั่วโมง เหมาะสำหรับงานทาสีบ้านใหม่และงานรีโนเวท
นายศุภแมน กล่าวเสริมว่า "มีความมุ่งหวังว่าอุตสาหกรรมออกแบบ สถาปัตยกรรม อสังหาริมทรัพย์ และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จะเริ่มกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากตลาดซบเซาเป็นเวลานานจากสถานการณ์โควิด โดยเริ่มเห็นสัญญาณบวกจากผู้แสดงสินค้าจากต่างประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมางานสถาปนิกจะเป็นอีกหนึ่งเวทีที่สามารถกระตุ้น หรือ ชี้วัดดัชนีทางเศรษฐกิจได้ และในฐานะผู้จัดงานฯ มีความมั่นใจว่าการจัดงานสถาปนิก'65 จะสามารถดำเนินการได้อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตามมาตรฐานที่ ศบค. กำหนด โดยคาดการณ์ว่าตลอดการจัดงาน 6 วัน จะมีจำนวนผู้เข้าชมงานกว่า 300,000 คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มาเดินชมงานจะมีความหลากหลายมากกว่าการจัดงานที่ผ่านมา เนื่องจากได้ฐานผู้ติดตามกลุ่มนักสร้างสรรค์ (Creators) ที่มาร่วมครีเอทผลงานกับสถาปนิกในครั้งนี้ และมีเม็ดเงินสะพัดหลังจบงานกว่า 2 หมื่นล้านบาท"
เตรียมพบกับผลงานการออกแบบพื้นที่จัดแสดงสุดพิเศษ Thematic Pavilion พร้อมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ รวมถึงกิจกรรมไฮไลท์ อื่น ๆ อีกมากมาย จัดเต็มตลอด 6 วัน ได้ที่ "งานสถาปนิก'65 (Architect'22) ภายใต้แนวคิด CO-WITH CREATORS: พึ่งพา-อาศัย" ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2565 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าชมงานล่วงหน้าได้ที่: https://bit.ly/36s6t2A หรือ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.ArchitectExpo.com
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit