"โปรตีน" คือสารอาหารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน มีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื้อ สร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกัน และยังเป็นตัวสร้างเอนไซม์ ช่วยรักษาความสมดุลของฮอร์โมน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทั้งผิวหนัง กระดูก กล้ามเนื้อ เล็บ และผม รวมถึงเซลล์สืบพันธุ์ด้วย
โดย ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ผู้ก่อนตั้งเพจ babyandmom.co.th ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก ที่ปรึกษาเตรียมตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลว่า "เซลล์ไข่ของฝ่ายหญิง" เป็นเซลล์สืบพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย จำเป็นที่จะต้องได้รับโปรตีนที่เพียงพอ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับเซลล์ไข่ให้เจริญเติบโตตามเกณฑ์ และควบคุมวงจรการตกไข่ให้เป็นปกติในทุกๆเดือน นอกจากนี้แล้ว"มดลูก" ยังเป็นกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องได้รับโปรตีนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้ผนังมดลูกนั้นฟอร์มตัวหนาขึ้น พร้อมรับการฝั่งตัวของตัวอ่อน รวมทั้งโปรตีนยังช่วยในการ "ผลิตสเปิร์มของฝ่ายชาย" และลดความเสี่ยงการเป็นหมัน รวมถึงช่วย "ควบคุมฮอร์โมนเพศ" ให้เป็นปกติทั้งชายและหญิงอีกด้วย แต่ในขณะเดียวร่างกายสลายโปรตีนและถูกนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆทุกวัน ดังนั้นร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอทุกวัน
โดยสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าร่างกายขาดโปรตีน ได้แก่ 1. มีอาการบวมน้ำ 2. ผิวหนัง เล็บ แห้ง เปราะบาง ผมขาดและหลุดล่วงง่าย 3.ขาดมวลกล้ามเนื้อ 4. กระดูกพรุน กระดูกเปราะบาง 5. ติดเชื้อได้ง่าย ป่วยบ่อย หายช้า 6. หิวบ่อย กินไม่อิ่ม 7. นอนไม่หลับ 8. ผนังมดลูกบาง ตัวอ่อนไม่ฝังตัว 9. เซลล์ไข่ไม่เจริญเติบโต ไข่ใบเล็ก ท้องยาก
ดังนั้น ผู้หญิงวางแผนท้องต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนการ และได้รับปริมาณโปรตีนที่เพียงพอ ตามที่มีรายงานจากงานวิจัย ดังนี้
ในร่างกายมีโปรตีน( Protein) เป็นส่วนประกอบหลักถึง 75 % ของน้ำหนักตัว โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ การบำรุงไข่ให้ได้ไข่โตสวยสมบูรณ์และผนังมดลูกที่แข็งแรงนั้น ผู้หญิงวางแผนท้องต้องทานโปรตีนให้เพียงพอต่อวัน คือเพียงพอต่อน้ำหนักตัว ซึ่งคนบำรุงต้องทานโปรตีนอย่างน้อย 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontier in Public Health เมื่อปี ค.ศ. 2018 ศึกษาพบว่า อาหารที่ถูกหลักโภชนาการส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น (Influence of Diet on Fertility) โดย "โปรตีน" เป็นสารอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ ที่ช่วยบำรุงเซลล์ไข่ ช่วยให้ไข่ตกปกติ และสำหรับคนที่ทำเด็กหลอดแก้ว การทานโปรตีนเพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มอัตราความสำเสร็จในการตั้งครรภ์อีกด้วย ที่สำคัญต้องเลือกทานโปรตีนจากแหล่งที่ให้โปรตีนชั้นดี ให้โปรตีนสูง และปลอดภัย
มีงานวิจัยศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ทานโปรตีนจากพืช ไขมันดี และวิตามินแร่ธาตุครบถ้วนมีความเสี่ยงเรื่องภาวะไม่ตกไข่ลดลงถึง 66%
ยังมีการศึกษาจาก Harvard School of Public Health พบว่า การทานโปรตีนจากสัตว์ที่อาจมีฮอร์โมนเร่งเนื้อแดงตกค้างและมีไขมันสูงทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมีบุตรยากถึง 39%
ยังมีอีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of obstetrics and gynocology เมื่อปี 2008 ศึกษาพบว่าผู้หญิงที่เปลี่ยนการรับประทานโปรตีนจากสัตว์มาเป็นโปรตีนจากพืชอาจช่วยลดความเสี่ยงจากการมีบุตรยากเนื่องปัญหาเรื่องไข่ไม่ตกได้ถึง 50%
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2012 ศึกษาพบว่า ผู้ที่จะเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ที่เปลี่ยนการรับประทานอาหารเป็นแบบลดคาร์โบไฮเดรต และเน้นโปรตีนเพิ่มมากขึ้นก่อนที่จะเข้ากระบวนการทำ IVF โดยเพิ่มโปรตีน 16.4% ลดคาร์บ 22.3% มีอัตราการเพิ่มจำนวนของบลาสโตซิสต์ (blastocyst) จาก18.9% เป็น 45.3% ซึ่งการทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลสะสมในร่างกาย จากการศึกษาพบว่าการทานอาหารแบบลดคาร์บลงนี้ส่งผลอย่างมากต่ออัตราการตั้งครรภ์ โดยจะมีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก 16.6% เป็น 83% เลยทีเดียว
เซลล์ไข่อ่อนไหวต่ออนุมูลอิสระมากๆ เซลล์ไข่เสื่อมง่าย เสียหายง่าย ฝ่อง่ายจากการทำลายของอนุมูลอิสระที่เกิดจากกระบวนการออกซิเดชั่นที่เกิดขึ้นในร่างกายทุกวัน ดังนั้นเซลล์ไข่ที่ไม่มีคุณภาพจึงเป็นปัญหาหลักที่สำคัญที่สุดจากฝ่ายหญิงที่ทำให้มีบุตรยาก โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เซลล์ไข่เสื่อมคุณภาพมาจาก อายุที่มากขึ้น มลภาวะ สารเคมี ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้โครโมโซมเซลล์ไข่ผิดปกติ ร่างกายจึงต้องได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเข้าไปจัดการกับอนุมูลอิสระ
"ครูก้อย นัชชา" แนะนำว่า ผู้หญิงบำรุงไข่ที่เตรียมเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ทำเด็กหลอดแก้ว หรือ เตรียมท้องธรรมชาติ ต้อง "เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์" โดยน้ำมะกรูดเป็นสมุนไพรไทยที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระช่วยบำรุงเซลล์ในร่างกาย รวมไปถึงเซลล์สืบพันธุ์ ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงทำงานได้ดีขึ้น ผลิตไข่ที่มีคุณภาพ ซึ่งในน้ำมะกรูดมีงานวิจัยศึกษาพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า "เควอซิทีน" ที่ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ ลดอัตราไข่ฝ่อได้
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Oncotarget เมื่อปี ค.ศ. 2017 ศึกษาพบว่า สารเควอซิทินช่วยลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ โดยปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระ "Quercetin" ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมง
งานวิจัยยังพบอีกว่า หากไม่มี "สารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทิน ไข่จะฝ่อเสียเกือบ 80%" แต่ในกรณีที่มี "เควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง" ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซีสต์ได้อีกเท่าตัว
นอกจากนี้น้ำมะกรูดคั้นสดยังช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ปรับสมดุลฮอร์โมน ทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอและดึงรอบวงจรการตกไข่ให้กลับมาเป็นปกติ
รู้อย่างนี้แล้วต้องปรับการทานอาหาร เน้นโปรตีนจากพืข เน้นสารต้านอนุมูลอิสระ ควบคู่กับการพักผ่อนที่เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ บำรุงไข่ของให้มีคุณภาพ แม้จะมีไข่น้อย แต่หากบำรุงให้เป็นไข่ทองคำก็สามารถท้องได้ ครูก้อย นัชชา กล่าว
ติดตามความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ผ่านทาง เว็บไซต์ เพจและช่องยูทูปภายใต้ชื่อเดียวกันที่ babyandmom.co.th หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คนวางแผนท้องต้องทานโปรตีน ได้ที่ https://youtu.be/qJAVCzxY0S8
HTML::image(
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit